วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลากะโห้

การเลี้ยงปลากะโห้
ปลากะโห้ ( Catlocarpio siamensis ) มีชื่อสามัญว่า Giant carp เป็นปลาน้ำจืดตระกูลคาร์พที่ใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง มีเกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีเทาปนดำ หรือชมพูปนขาว ครีบมีสีแดง เป็นปลาที่อาศัยในแม่น้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ำในภาคกลางของประเทศไทย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำก่ำ แม่น้ำน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าหลวง แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง แต่แหล่งน้ำที่สามารถรวบรวมปลาชนิดนี้ได้มากนั้นได้แก่ ในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ขึ้นไป จนถึงเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท โดยเฉพาะในแหล่งน้ำลึกที่เรียกว่า" วัง " ได้แก่บริเวณตำบลบ้านแป้ง อ.พรหมบุรี ,ต.บ้านไร่ อ.เมือง, ต.วัดเสือข้าม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี, อ.สรรพยา จ.ชัยนาท นอกจากนี้ยังพบปลากะโห้ อาศัยอยู่ในหนอง บึงต่างๆที่มีน้ำท่วมถึง เช่น บึงบอระเพ็ด เป็นต้น การรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ พ่อแม่พันธุ์ปลากะโห้ สามารถรวบรวมได้จากธรรมชาติ ด้วยเครื่องมือข่ายปลากะโห้ เป็นข่ายที่มีช่องข่ายใหญ่มาก มีขนาดตา 35-45 ซม. ลึก 4-6 ม. ยาว 100-200 ม. โดยจะทำการรวบรวมในช่วงฤดูที่ปลากะโห้ผสมพันธุ์วางไข่ โดยวางขวางกับแม่น้ำ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม บริเวณที่จับพ่อแม่พันธุ์ได้มาก ได้แก่ บริเวณตั้งแต่ใต้เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ลงไปประมาณ 3-5 กม. ซึ่งเป็นแหล่งที่ปลากะโห้ว่ายน้ำขึ้นมาเพื่อผสมพันธุ์วางไข่การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ลักษณะเพศและลักษณะอื่นๆ ที่เด่นชัดในฤดูวางไข่ของพ่อแม่พันธุ์ปลากะโห้ คือ ปลาเพศผู้มีลำตัวขนาดเล็กและเรียวกว่าปลาเพศเมีย ส่วนท้องแบนเรียบ สีดำคล้ำกว่าตัวเมียและบริเวณรอบๆช่องเพศมีตุ่มขรุขระยื่นออกมา เมื่อบีบท้องเบาๆจะมีน้ำเชื้อไหลออกมาทางช่องเปิด ซึ่งมีรูปร่างกลมและเล็ก ส่วนปลาเพศเมียนั้น ขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ ลำตัวสั้น ป้อม ปลาเพศเมียที่ไข่แก่ ส่วนท้องจะเป่งและนิ่ม ช่องเปิดมีลักษณะเป็นรูปไข่ บวมนูน เปิดกว้าง และมีสีชมพูหรือแดงการเพาะพันธุ์ปลากะโห้โดยการผสมเทียมอุปกรณ์1. บ่อซีเมนต์ขนาด 50 ต.ร.ม. เพื่อพักพ่อแม่ปลาหลังจากฉีดฮอร์โมนครั้งที่ 1 และ 22. อุปกรณ์ในการผสมเทียม3. ถุงฟักไข่ เป็นรูปทรงกรวย ทำด้วยผ้ามุ้งไนลอนชนิดตาถี่ ปากถุงมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ซม. ลึกประมาณ 50 ซม.ที่ก้นถุงมีกรวยติดอยู่ เพื่อใช้สายยางต่อน้ำเข้าถุงฟักไข่ซึ่งแขวนเรียงในบ่อซีเมนต์4. กระชังมุ้งในล่อน ใช้ผ้าไนลอนตาถี่เย็บเป็นกระชังสี่เหลี่ยมขนาด 1.5-2.0 ม. ลึก 90 ซม. วางในบ่อซีเมนต์ เพื่อเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อน หลังจากที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆซึ่งย้ายมาจากถุงฟักไข่ฮอร์โมนและปริมาณฮอร์โมนที่ใช้ ในการเพาะปลากะโห้ด้วยวิธีฉีดฮอร์โมน ใช้ฮอร์โมน 2 ประเภทคือ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองปลากะโห้ และฮอร์โมนสังเคราะห์คอริโอนิค ( Chorionic Gonadotropin ) หรือเรียกสั้นๆว่า ซี.จี. สำหรับต่อมใต้สมองปลากะโห้จะเล็กมากปลาที่มีไข่และน้ำเชื้อที่สมบูรณ์ โดยทั่วไปต่อมมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. ซึ่งโตกว่าปลาชนิดอื่น ส่วน ซี.จี. เป็นส่วนผสมที่สกัดจากปัสสาวะหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ และต่อมใต้สมองส่วนหน้าของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีจำหน่ายในท้องตลาดสำหรับปริมาณฮอร์โมนที่ใช้ในการฉีด 2 ครั้ง อยู่ในระดับดังนี้ครั้งที่ 1 0.5-0.75 โดส ผสม ซี.จี. 50-100 หน่วยสากลครั้งที่ 2 1.5-2.0 โดส ผสมซี.จี. 150-250 หน่วยสากลการฉีดฮอร์โมน การเตรียมต่อมใต้สมองก่อนทำการฉีด นำต่อมใต้สมองมาบดในโกร่งบดต่อมผสมน้ำ กลั่นบริสุทธ์ 1 ซีซี. และผสมด้วยซี.จี. ใช้เข็มฉีดยาดูดสารละลายเข้าสู่หลอดตามปริมาณที่ต้องการเพื่อนำไปฉีดให้แม่ปลา สำหรับปลาเพศผู้ส่วนมากมีน้ำเชื้อดีแล้วก็ไม่ต้องฉีด ตำแหน่งที่ฉีด คือ บริเวณกล้ามเนื้อโคนครีบหู ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่มีเกล็ด เนื่องจากปลากะโห้มีเกล็ดขนาดใหญ่และหนายากต่อการที่จะฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อเหนือเส้นข้างตัวใต้ฐานครีบหลังเหมือนกับปลาทั่วไป ดังนั้นบริเวณโคนครีบหูจึงเหมาะที่สุดสำหรับการฉีด โดยการปักเข็มลงไปให้เกือบสุดเข็ม แล้วจึงปล่อยน้ำยา แล้วนำปลาไปพักไว้ในบ่อซีเมนต์ ซึ่งมีน้ำฉีดพ่นหรือให้อากาศอยู่ตลอดเวลา และช่วงเวลาในการฉีด ควรจะทำการฉีดในตอนเย็น เพื่อให้ปลาวางไข่ในตอนเช้าตรู่ โดยฉีด 2 ครั้ง ระยะห่างของครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ประมาณ 6-8 ชม. หลังจากฉีดครั้งที่ 2 แล้วประมาณ 6 ชม. จึงทำการตรวจสอบเพื่อทำการรีดไข่การรีดไข่ผสมน้ำเชื้อ หลังจากฉีดฮอร์โมนให้ปลาเพศเมียครั้งที่ 2 แล้วประมาณ 6 ชม. ทำการตรวจสอบแม่ปลา โดยจับบีบที่ท้องเบาๆตรงบริเวณส่วนต้นๆ ถ้าไข่สุกเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้แล้ว ไข่จะไหลพุ่งออกมาทางช่องเปิดอวัยวะเพศ นำแม่ปลามาเช็ดลำตัวให้แห้ง แล้วรีดไข่ลงในกะละมังที่เช็ดแห้งและสะอาด แล้วรีดน้ำเชื้อจากตัวผู้ผสมลงไป การผสมไข่กับน้ำเชื้อใช้วิธีแบบแห้ง แล้วเติมน้ำ โดยใช้ขนไก่คนไปมาเบาๆ ให้ไข่และน้ำเชื้อคลุกเคล้าผสมกันดี แล้วจึงเติมน้ำสะอาดพอท่วมไข่ ใช้ขนไก่คนอีกครู่แล้วเทน้ำทิ้ง ทำแบบนี้อีก 2-3 ครั้ง จนไข่สะอาด จึงนำไปฟักในถุงฟักไข่ที่เตรียมไว้ประมาณ 10,000-15,000 ฟองต่อถุงฟักไข่ 1 ถุง ไข่ปลากะโห้ จะมีลักษณะสีน้ำตาลเข้ม ขนาดของไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 มม.การฟักไข่ ไข่ปลากะโห้เป็นไข่ครึ่งจมครึ่งลอย เช่นเดียวกับไข่ปลาตะเพียน และไข่ปลาจีน ขณะยังไม่ถูกน้ำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 มม. หลังจากถูกน้ำแล้วไข่จะดูดน้ำเปลือกไข่จะขยายพองโต ภายในมีลักษณะคล้ายวุ้นอยู่โดยรอบไข่แดง ไข่จะโตขึ้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็น 3-4 เท่า ดังนั้นในการฟักไข่เพื่อให้ไข่ได้มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา จึงต้องใช้กรวยฟักไข่ที่มีน้ำผ่านเข้าในถุงฟักไข่ทางกรวยใต้ถุงโดยใช้สายยางต่อเข้าไป ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 11-13 ซม. ที่อุณหภูมิ 29-35 องศาเซลเซียส หลังจากที่ไข่ฟักตัวในถุงฟักไข่หมดแล้ว ต้องรีบย้ายลูกปลาไปอนุบาลในกระชังผ้ามุ้งไนล่อนหรือในตู้กระจกต่อไปการอนุบาลลูกปลากะโห้ ลูกปลากะโห้ที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆมีความยาวประมาณ 5-6 มม. มีถุงไข่แดงติดอยู่ ซึ่งจะยุบหมดภายใน 3 วัน หลังจากไข่แดงยุบแล้ว ลำตัวใส ยาว อวัยวะเพศยังไม่ครบทุกส่วน จนกว่า 13-15 วัน จึงจะมีอวัยวะครบทุกส่วน หลังจากนั้น 1 เดือน สีแดงตามครีบจะเห็นได้ชัด สำหรับอาหารลูกปลากะโห้ ในระยะที่ลูกปลาอายุได้ 3 วัน คือ หลังจากที่ถุงไข่แดงยุบควรให้อาหาร ไข่แดงต้มบดละเอียด ระยะนี้ลูกปลายังไม่กินไรน้ำ จนลูกปลาอายุได้ 7 วัน จึงเริ่มให้ไรน้ำ ซึ่งลูกปลาสามารถกินไรน้ำได้แล้ว และหลังจากลูกปลาอายุได้ 20 วัน จึงให้ตะไคร่น้ำด้วยในบางมื้อ เมื่อลูกปลาอายุได้ 1 เดือน ก็ย้ายลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้ สำหรับอาหารนั้นนิยมปรับปริมาณตามน้ำหนักปลา เช่น 5 วันแรก ให้อาหารน้ำหนักเท่ากับน้ำหนักปลา เมื่อปล่อย 5 วันที่ 2 และ 5 วันที่ 3 ให้อาหาร 2 เท่าและ 3 เท่าของน้ำหนักปลาที่ปล่อยตามลำดับ เป็นต้นประโยชน์ เป็นปลาที่เนื้อมีรสดี กล่าวกันว่าก้อนเนื้อที่เพดานปากเป็นส่วนที่มีรสดีที่สุด จนเป็นที่เลื่องลือกันว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาทรางโปรดเสวยเป็นที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น