วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปลากะรัง

ปลากะรังหรือบางคนเรียกว่าปลาตุ๊กแก,อ้ายเก๋า,ราปู หรือชาวจีนเรียกว่า เก๋าฮื้อ ในมาเลเซียเรียก kerapu ในภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกทั่วไปว่า grouper ถูกจัดอยู่ในครอบครัว serranidae เป็นปลาทะเลจำพวกหนึ่งซึ่งมีอยู่มากมายหลายชนิดตั้งแต่ ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่อาศัยอยู่ตามแถบชายฝั่งหน้าดิน ที่ก้นทะเลและบริเวณที่มีเกาะแก่งหินกองใต้น้ำและหินปะการัง โดยทั่วไปบางครั้งเข้ามาอาศัยปากแม่น้ำเพื่อหาอาหาร อาศัยในแถบโซนร้อนและอบอุ่น มีนิสัยไม่ชอบอยู่ร่วมกับฝูง กินปลาเล็กๆตลอดจนสัตว์น้ำอื่นๆเป็นอาหารเลี้ยงง่าย อดทน แข็งแรง และเจริญเติบโตเร็ว สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและในกระชังเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื้อมีรสดี มีผู้นิยมบริโภคมากโดยเฉพาะในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในตลาดการค้าของสิงคโปร์ นิยมปลาที่มีขนาดน้ำหนัก 600-900 กรัม ราคาของปลาเป็นอยู่ระหว่าง 300-500 บาท ปลากะรังหรือปลาเก๋าที่นิยมเลี้ยงกันส่วนมากคือ ปลากะรังจุดสีน้ำตาล หรือปลาเก๋าดอกแดงหรือปลากะรังปากแม่น้ำการเพาะพันธุ์ปลากะรังการเพาะพันธุ์ปลากะรังได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จครั้งแรกที่สถานีประมงน้ำกร่อย จ.สตูล ในวันที่ 7 ธันวาคม 2534 ในครั้งนั้นได้ใช้แม่พันธุ์ที่เลี้ยงในกระชัง แล้วนำมาเลี้ยงต่อในบ่อซีเมนต์ขนาด 50 ตัน ประมาณ 3 เดือน ส่วนพ่อพันธุ์ได้นำปลาขนาด 3-5 กิโลกรัม มาเลี้ยงโดยใช้เนื้อปลาผสมกับ Methyl testostorone ในอัตรา 1 mg./น้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 2 เดือน เสร็จแล้วก็ดำเนินการคัดพ่อแม่พันธุ์ ปลากะรังมาฉีดฮอร์โมนผสมเทียมแล้วรีดไข่ออกมาผสมกับน้ำเชื้อได้เป็นผลสำเร็จในช่วงปี 2526-2527 และได้ทำการผสมพันธุ์แบบธรรมชาติในบ่อซีเมนต์กลางแจ้งขนาด 80 ตัน ซึ่งปรากฏว่า ได้รับผลสำเร็จเป็นครั้งแรกในวันที่ 23 ตุลาคม 2527 และปลาสามารถวางไข่ติดต่อกันเป็นเวลา 8 วัน และครั้งหลังก็วางไข่ติดต่อกันอีก 6 วัน สามารถรวบรวมไข่ได้ครั้งละประมาณ 500,000 - 1,000,000 ฟอง โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์จำนวน 30 ตัว (เพศผู้-เพศเมีย) อย่างละ 15 ตัว แล้วนำไข่ที่ได้ไปฟักในบ่อฟักการศึกษาเพาะพันธุ์ลูกปลากะรังที่ได้ดำเนินการไปแล้วในประเทศไทยแบ่งได้ 3 วิธีคือ การเพาะพันธุ์ปลากะรังโดยวิธีการผสมเทียม ประสบผลสำเร็จครั้งแรกที่สถานีประมงน้ำกร่อยจังหวัดสตูล พ่อแม่พันธุ์ปลาที่นำมาทดลองเป็นปลาที่รวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติ นำมาเลี้ยงในกระชังจนถึงวัยเจริญพันธุ์ เนื่องจากปลากะรังเป็นปลาที่มีการเปลี่ยนเพศ ดังนั้นการเตรียมปลาเพศผู้จึงใช้วิธีให้ฮอร์โมนเพศชายคือ เมททิลเทสโตสเตอโรน 1 มิลลิกรัม/ปลา 1 กิโลกรัมผสมในเนื้อปลาที่ใช้เลี้ยงพ่อพันธุ์ปลาโดยใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ปลาจะมีน้ำเชื้อเมื่อจะผสมเทียมใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ HCG และต่อมใต้สมองของปลาจีนฉีดปลาที่มีสภาพพร้อมจะผสมเทียมคือเพศเมียมีไข่พัฒนาถึงระดับฉีดฮอร์โมนได้(ไม่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 400 ไมครอน) โดยฉีดปลาเพศเมีย 2 เข็มคือ เข็มที่ 1 ฉีดต่อมใต้สมองปลาจีน 2 มิลลิกรัมกับฮอร์โมนสังเคราะห์ HCG 400-500 IU/กิโลกรัม หลังจากนั้นอีก 24 ชั่วโมง ถ้าการพัฒนาไข่ปลายังไม่ถึงขั้นพร้อมผสม (Fertilization) จะฉีดเข็มที่ 2 ด้วยต่อมใต้สมองปลาจีน 4 มิลลิกรัมร่วมกับ HCG 800-1000 IU/กิโลกรัม ส่วนปลาเพศผู้จะฉีดครั้งเดียวพร้อมกับการฉีดปลาเพศเมียเข็มที่ 2 โดยฉีดต่อมใต้สมอง 2 มิลลิกรัมร่วมกับ HCG 500 IU/กิโลกรัม หลังจากนั้น 12 ชั่วโมง จะทำการรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อ การเพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นให้ปลาผสมพันธุ์วางไข่ในบ่อ เพราะในบางพื้นที่ปลาจะไม่วางไข่แบบธรรมชาติ จากการทดลองพบว่า ระยะเวลาที่เหมาะสมในการฉีดฮอร์โมนอยู่ในช่วงระยะข้างขึ้นและข้างแรม 11-14 ค่ำ ฮอร์โมนที่ใช้ฉีดกระตุ้นได้แก่ ต่อมใต้สมองปลาจีน 2-3 มิลลิกรัม ร่วมกับฮอร์โมนสังเคราะห์ HCG หรือ Pregny 300-500 IU/กิโลกรัม หรือฉีดด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์แต่เพียงอย่างเดียว เช่นใช้ Puleerogen ฉีดปลาเพศผู้ 25-30 IU/กิโลกรัม เพศเมีย 60-80 IU/กิโลกรัม หรือเพศผู้ฉีด 50 IU/กิโลกรัม เพศเมียฉีด 100 IU/กิโลกรัม การเพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีวางไข่แบบธรรมชาติ ในธรรมชาติแล้วปลากะรังวางไข่ในฤดูมรสุมประมาณเดือนตุลาคม-กุมภาพันธุ์ ก่อนถึงฤดูวางไข่ประมาณ 2 เดือน พ่อแม่พันธุ์จะถูกนำมาเลี้ยงรวมกันในบ่อซีเมนต์โดยการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการผสมพันธุ์ปล่อยลงบ่อและจัดการควบคุมสิ่งแวดล้อมในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลา เช่น กระตุ้นให้ปลาผสมพันธุ์วางไข่โดยการเปลี่ยนน้ำ เพิ่มน้ำ และใช้ระบบน้ำไหลในช่วงระยะเวลาวางไข่ตั้งแต่ขึ้นหรือแรม 10 ค่ำเป็นต้นไป การเพิ่มและลดระดับน้ำยังทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นปัจจัยในการกระตุ้นให้ปลาผสมพันธุ์วางไข่ดีขึ้น การให้อาหารจะให้เพียง 1-2 % ของน้ำหนักรวมทั้งการเสริมอาหารเช่น วิตามินอี เกลือแร่ เพื่อให้พ่อแม่พันธุ์ปลามีความสมบูรณ์ในการพัฒนาไข่และน้ำเชื้อการอนุบาลลูกปลากะรังการดูดตะกอนการย้ายลูกปลาควรทำเฉพาะในวันแรกที่ลูกปลาฟักเป็นตัว ลูกปลาที่มีอายุ 1-10 วันแรก จะกระจายอยู่ทุกระดับความลึกของน้ำในถังหรือบ่ออนุบาล การให้ฟองอากาศต้องเพียงพอที่จะให้มวลน้ำเคลื่อนเบาๆ อย่างทั่วถึงเพื่อมิให้ลูกปลาได้รับการกระทบกระแทกหรือสัมผัสอากาศเฉพาะในช่วงอายุ 1-4 วัน เพราะถ้าลูกปลาหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของลูกปลาอยู่เหนือน้ำเพียง 12 วินาที ลูกปลาจะตายภายใน 1 วัน(ลูกปลาโดยทั่วไปหลังจากฟักเป็นตัวลูกปลาจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 5 วัน โดยการใช้ไข่แดงและหยดน้ำมันที่ติดมากับตัวโดยไม่ต้องกินอาหาร)การเพาะพันธุ์ปลาเก๋าหรือปลากะรังไม่ค่อยมีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่ช่วงอนุบาลเป็นสำคัญ การอนุบาลลูกปลาให้เจริญเติบโตเป็นปลา 1-3 นิ้ว เพื่อให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงในกระชังหรือบ่อยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ลูกปลาจะตายมากใน 3 สัปดาห์แรกถึง 1 เดือน เพราะลูกปลาขาดสารอาหารโดยเฉพาะกรดไขมันซึ่งลูกปลาต้องการมาก ปกติแล้วการอนุบาลลูกปลาจะใช้ไรน้ำเค็มหรืออาร์ทีเมียซึ่งทั้งสองชนิดนี้กรดไขมันมีน้อยมาก ลูกปลาจะขาดสารอาหาร อ่อนแอ และตายในที่สุดสำหรับวิธีการหรือขั้นตอนการเสริมกรดไขมันจะใช้ไข่แดงเป็นตัว (emulsifier) เพราะโดยปกติกรดไขมันคือ น้ำมันซึ่งไข่ละลายน้ำสูตรผสม จะใช้ไข่แดง 2 ฟอง/น้ำมันซึ่งสกัดจากตัวปลาทะเล 50 ซีซี นำไปปั่นรวมกันประมาณ 2-3 นาที ให้เข้ากัน จากนั้นเติมน้ำอีกประมาณ 100-200 ซีซี ปั่นอีกครั้งเพื่อให้ไข่แดงเป็นตัวจับแยกน้ำมันผสมเคล้ากันและนำไปให้อาร์ทีเมียกินกรดไขมันถ้าให้ลูกปลากินจะให้อาร์ทีเมียกินกรดไขมัน 12 ชั่วโมงก่อน แล้วจึงนำไปให้ลูกปลากินแต่ถ้าอาร์ทีเมียตัวใหญ่จะให้อาร์ทีเมียกินกรดไขมันแค่ 6 ชั่วโมงช่วงอนุบาลลูกปลาจะต้องให้อาหารกระจายให้ลูกปลากินเป็นระยะประมาณ 3-5 ครั้งต่อวัน โดยปกติแล้วลูกปลาอายุ 3 วัน ถุงอาหารจะยุบ ดังนั้นการอนุบาลลูกปลา 3-5 วันแรกควรเริ่มด้วยโรติเฟอร์ขนาดเล็กก่อน หลังจาก 5 วันผ่านไปแล้วลูกปลาสามารถกินโรติเฟอร์ได้ทุกขนาด เลี้ยงด้วยโรติเฟอร์ประมาณ 30 วัน แต่การเลี้ยงจะคาบเกี่ยวกับอาร์ทีเมียด้วย เนื่องจากปลาโตได้ขนาดไม่เท่ากันทุกตัว ดังนั้นเมื่อลูกปลาอายุประมาณ 15 วันก็เริ่มให้อาร์ทีเมียด้วยโดยสังเกตุว่าลูกปลากินได้หรือไม่ ถ้ากินได้ก็เพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆเมื่ออายุได้ 30-35 วันจึงเริ่มให้ไรน้ำขนาดใหญ่ (คืออาร์ทีเมียขนาดใหญ่ที่เลี้ยงในนาเกลือ)** ข้อควรระวัง ในช่วงอายุ 35-40 วัน ลูกปลาจะกินกันเองมาก เพราะเป็นสัตว์กินเนื้อ ควรให้อาร์ทีเมียอย่างไม่ขาดระยะเพิ่มลดอัตราการกินกันเองของลูกปลา- เมื่อลูกปลามีอายุย่างเข้าปลารุ่น เราจึงเปลี่ยนอาหารอีกครั้งโดยฝึกให้กินเนื้อปลาหรืออาหารผสมอย่างไรก็ตามจากผลการวิจัยต่างๆ ในขณะนี้ทำให้ทราบสาเหตุการตายของลูกปลา และสามารถแก้ไขเพื่อเพิ่มอัตรารอดของลูกปลาได้ในระดับหนึ่ง ทั้งในด้านการเพาะพันธุ์และอนุบาล ซึ่งความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยในปัจจุบันพอที่จะเผยแพร่ให้ผู้สนใจนำไปใช้ประโยชน์ในการอนุบาลลูกปลาได้ตามความเหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น