วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลาไหลนา

ปลาไหลนา เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูล Flutidae ชอบอาศัยอยู่ในคู คลอง หนอง บึงต่างๆในธรรมชาติชอบอาศัยตามพื้นดินโคลนที่มีซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อยสะสมอยู่ หรือบริเวณที่ปกคลุมด้วยวัชพืช เช่นพวกหญ้าน้ำหรือบัวชนิดต่างๆซึ่งเราสามารถพบปลาไหลนาได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย และปลาไหลนาที่พบในประเทศไทยมี 2 ชนิดด้วยกันคือ สีดำกับสีเหลือง ทั้งสองชนิดมีรูปร่างลักษณะลำตัวกลมยาวคล้ายงู สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งไม่มีน้ำได้นาน ในฤดูร้อนปลาไหลจะขุดรูอาศัยลึกประมาณ 1.0-1.5 เมตรและออกหาอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ในช่วงต้นฤดูฝนถัดไป การที่ปลาไหลนามีลักษณะลำตัวกลมยาวและลื่นมากทำให้มีการอพยพย้ายถิ่นอยู่เสมอในช่วงเวลากลางคืน โดยจะเคลื่อนตัวไปตามร่องน้ำที่ชื้นแฉะหรือลำน้ำที่ไหลเพื่อไปสู่แหล่งอาหารหรือที่อยู่ใหม่ ปลาไหลนาที่จำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบันเกือบทั้งหมดจับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งปัจจุบันมีปริมาณลดน้อยลงทุกที บางช่วงฤดูขาดแคลนทำให้ปลาไหลนามีราคาค่อนข้างสูง ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดปัตตานีได้เล็งเห็นความสำคัญของปลาตัวนี้จึงได้ทำการทดลองเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลนาจนประสบความสำเร็จชีววิทยาของปลาไหลนา รูปร่างลักษณะทั่วไปของปลาไหลนามีลำตัวยาวมากเมื่อเปรียบเทียบกับปลาน้ำจืดชนิดอื่นความยาวของส่วนหัวจะเป็นเศษหนึ่งส่วน 13-14 เท่าของความยาวเหยียดลำตัว ความลึกของลำตัวจะเป็นเศษหนึ่งส่วน 17.5-23.5 ของความยาวเหยียดลำตัว สีของลำตัวจะเข้มกว่าสีของด้านท้อง มีสีดำประปรายอยู่ตลอดลำตัวบนช่องเปิดของร่างกาย รูก้นจะอยู่ห่างจากส่วนหัวมากคือ ระยะจากหัวถึงรูก้นเป็นเศษหนึ่งส่วน 1.4-1.45 ของความยาวลำตัว ที่รูก้นมีช่องสืบพันธุ์เปิดออกร่วมด้วย ไม่มีอวัยวะเพศภายนอกที่บริเวณรูก้น ปลาไหลนาจะเป็นพวกที่มีครีบเสื่อม ถึงแม้ว่าปลาไหลนาจะไม่มีครีบช่วยในการว่ายน้ำ แต่ก็สามารถเคลื่อนไหวได้รวดเร็วเมื่อตกใจ ส่วนอวัยวะสืบพันธุ์ของปลาไหลนาประกอบด้วยอวัยวะเพศภายในซึ่งมีเพียงหนึ่งอันแนบติดกับด้านบนของลำไส้โดยเริ่มต้นจากส่วนปลายของตับแนบไปข้างถึงถุงน้ำดีผ่านด้านข้างของม้ามไปเปิดออกที่ช่องเปิดรูก้น จึงเห็นว่าอวัยวะเพศภายในของปลาไหลนามีความยาวมากและปรากฎเพียงด้านขวาของลำตัวอันเดียวเท่านั้น ส่วนบริเวณใกล้อวัยวะเพศภายในมีอวัยวะอีกส่วนหนึ่งอยู่ทางซ้ายลำตัว และทอดขนานมากับส่วนอวัยวะเพศภายใน แต่อยู่ชิดกับผนังด้านบนช่องท้องมากกว่าคืออวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์ ( Sexual accessory orgen ) มีลักษณะเป็นถุงผนังบางมีความยาวพอกับอวัยวะเพศภายในมีน้ำใส บรรจุอยู่ส่วนปลายของถุงนี้จะไปเปิดออกร่วมกับช่องเปิดของอวัยวะเพศภายใน ซึ่งเปิดออกสู่ Ganital pore แล้วจึงเปิดออกภายนอกร่างกายร่วมกับรูก้น ลูกปลาไหลนาจะเจริญเติบโตมีความสมบูรณ์เพศเมื่ออายุครบ 1 ปีและมีขนาดความยาวประมาณ 17 เซนติเมตรซึ่งเมื่อนำปลาขนาดนี้มาตรวจอวัยวะภายในพบว่าปลาขนาดนี้จะเป็นปลาเพศเมียส่วนอวัยวะภายในเหมือนกันทุกตัวและลักษณะของผนังช่วงลำตัวด้านบนซึ่งอยู่ใกล้กับกระดูกสันหลังจะก่อตัวเป็น Genital Crest ซึ่งภายในจะมี genital epithelium มาหุ้มและยึดติดผนังลำตัวด้วยเยื่อ mesenchyme ต่อมาgenital crest จะให้เซลล์ซึ่งเรียกว่า archeogonocyst จะแบ่งตัวให้ deutogonia หรือ bipotential gonocy และพร้อมๆกันนี้ขนาดของอวัยวะเพศภายในก็จะเจริญเพิ่มขึ้นด้วยปลาขนาดความยาวตัว 3-5 ซม. Gonocyst จะมีขนาดถึง 75-95 ไมครอน แสดงว่าปลาไหลนาจะไม่แสดงความแตกต่างของอวัยวะเพศภายในจนกว่าจะมีขนาด 3-5 ซม.การผสมพันธุ์และการเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ในการผสมพันธุ์ปลาไหลนาจะใช้วิธีการเลียนแบบธรรมชาติเพราะการใช้วิธีฉีดฮอร์โมนผสมเทียมไม่สามารถทำให้ปลาวางไข่ได้ และในการเพาะพันธุ์เลียนแบบธรรมชาติ ก่อนที่จะนำพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลนามาปล่อยเพื่อผสมพันธุ์จะต้องมีการเตรียมบ่อเพาะพันธุ์โดยใช้เทคนิดเตรียม บ่อเพาะให้คล้ายคลึงกับธรรมชาติมากที่สุดซึ่งสามารถเพาะได้ทั้งในถังไฟเบอร์ บ่อดิน บ่อซีเมนต์และท่อซีเมนต์กลม และต้องเตรียมความพร้อมดังนี้ ถังไฟเบอร์ โดยใส่ดินเหนียวลงในถังไฟเบอร์ขนาด 2 ตันบ่อสูง 1 เมตรโดยให้ดินอยู่ในลักษณะแนวลาดเอียงสูง 40 ซม.หลังจากนั้นเติมน้ำลงไปประมาณ 30 ซม. ให้ดินเหนียวโผล่ออกมาเหนือน้ำเป็นแนวลาดเอียงประมาณ 10 ซม. แล้วทำการปลูกพันธุ์ไม้น้ำให้เหมือนกันธรรมชาติ เช่น กอบัว จอกแหน และผักตบชวาบ่อดิน ต้องอัดพื้นแน่น ขนาด 200-400 ตารางเมตร ด้านบนปลูกพืชน้ำสำหรับเป็นที่วางไข่ของแม่ปลาไหลนาปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในสัดส่วนเพศผู้:เมียเท่ากับ1:3ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตรปลาไหลนาจะวางไข่ได้ภายใน 2-4 เดือนโดยจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนเมื่อปลาไหลฟักออกมาเป็นตัวจะมีความยาวประมาณ 2-3 ซม.โดยจะหลบซ่อนอยู่ตามรากหญ้าแล้วจึงรวบรวมนำไปเลี้ยงต่อไป บ่อซีเมนต์ ขนาด 5.0ด10.0ด1.0 เมตรใส่ดินในบ่อสูง 30 ซม.ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในสัดส่วน เพศผู้:เพศเมีย เท่ากับ 1:3 ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เติมน้ำให้มีระดับสูงกว่าผิวดินประมาณ 10 ซม.ใส่พืชน้ำต่างๆเพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนและวางไข่ โดยปลาไหลนาจะก่อหวอดคล้ายปลากัด สามารถรวบรวมปลาไหลนาได้หลังจากปลาไหลก่อหวอดประมาณ 5 วันแล้วจึงนำลูกปลาไหลไปอนุบาลต่อในตู้กระจกหรือในท่อซีเมนต์กลม ท่อซีเมนต์กลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0 เมตร ปล่อยพ่อพันธุ์ 1 ตัวและแม่พันธุ์ 3ตัวต่อ 1 ท่อใส่ดินสูงประมาณ 30 ซม.โดยแม่พันธุ์ 1 ตัวจะสามารถวางไข่ตั้งแต่ 300-910 ฟองขึ้นอยู่กับขนาดของแม่พันธุ์การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลในช่วงแรกจะแยกเพศได้ยากมากเพราะเป็นปลาที่มีสองเพศในตัวเดียวกัน การแยกเพศของปลาไหลนาถ้าดูจากลักษณะภายนอกจะไม่สามารถแยกเพศได้เด่นชัด โดยเฉพาะในช่วงฤดูที่ปลาไม่มีการวางไข่ แต่ถ้าในช่วงฤดูวางไข่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนกรกฎาคม จะสังเกตเพศปลาไหลได้เด่นชัดขึ้นกล่าวคือ เพศเมียช่องเพศจะมีสีแดงเรื่อๆบวม ลำตัวมีสีเหลืองเปล่งปลั่งส่วนตัวผู้จะมีสีขาวซีดไม่บวม ลำตัวสีเหลืองคล้ำ ถ้าผ่าท้องปลาไหลในช่วงผสมพันธุ์วางไข่จะพบว่าถ้าปลาไหลมีความยาว 29-50 ซม.และมีน้ำหนัก 70-200 กรัมจะเป็นปลาเพศเมีย ส่วนปลาไหลเพศผู้จะมีความยาวตั้งแต่ 60 ซม.ขึ้นไป และถ้าหากน้ำหนักมากกว่า 300 กรัมขึ้นไปปลาไหลจะยิ่งมีน้ำเชื้อดี เมื่อคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลได้แล้วก็นำมาปล่อยในบ่อเพาะพันธุ์ที่เตรียมไว้โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์บ่อละ 10 คู่การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ เมื่อปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลลงบ่อเพาะแล้วก็ทำการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลโดยให้อาหารและดูแลทำความสะอาดเปลี่ยนถ่ายน้ำ อาหารที่นำมาให้พ่อแม่พันธุ์ปลาไหลจะให้อาหารพวกปลาเป็ดสับเป็นชิ้นพอเหมาะกับปากของปลาโยนให้พ่อแม่พันธุ์ปลาวันละ 1 ครั้งในปริมาณร้อยละ2 ต่อน้ำหนักตัวโดยให้ในช่วงเย็นเเนื่องจากปลาไหลนามีอุปนิสัยชอบออกหากินในที่มืดและสภาพแวดล้อมเเงียบสงบ ใน 1 อาทิตย์มีการถ่ายน้ำในบ่อเพาะแม่พันธุ์ 1 ครั้ง จากการสังเกตพบว่าน้ำฝนจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้แม่พันธุ์ปลาไหลวางไข่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งปลาไหลนามักจะวางไข่ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ใกล้จะเข้าหน้าฝน แต่ช่วงที่ปลาไหลไข่ชุกที่สุดคือเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนและจะพบไข่ปลาไหลทุกครั้งหลังจากฝนตกและเมื่อแม่ปลาไหลมีไข่แก่พร้อมที่จะวางไข่แล้วแม่ปลาไหลจะก่อหวอดและะวางไข่โดยไข่ปลาจะติดใต้หวอดและกองอยู่ตามพื้น ไข่ปลาไหลที่ออกใหม่ๆจะมีขนาดใหญ่ประมาณ 3 มิลลิเมตร ไข่มีสีเหลืองทอง เปลือกไข่จะมีลักษณะแข็งและกลม แม่พันธุ์ปลาไหล 1 ตัวสามารถให้ไข่ได้ไม่เกิน 2,000 ฟอง ไข่ปลาไหลจะใช้ระยะเวลาในการฟักประมาณ 70-78 ชม.ลูกปลาที่ฟักออกมาใหม่ๆมีความยาวประมาณ 2 ซม.ไข่ปลาไหลบางฟองอาจจะฟักออกเป็นตัวห่างกันนานถึง 6 ชม.เนื่องจากแม่ปลาไหลอาจจะวางไข่ไม่พร้อมกัน ในช่วงที่แม่ปลาไหลวางไข่จะมีนิสัยดุร้ายมากการอนุบาลลูกปลาไหลนา ใช้วิธีอนุบาลในท่อซีเมนต์กลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.0 เมตรหรือในถังพลาสติกหรือในตู้กระจกก็ได้ แต่ต้องให้มีน้ำหมุนเวียนและถ่ายเทได้ตลอดเวลา และมีพืชน้ำมัดให้ลอยเป็นกำพร้อมทั้งใส่ดินในบ่อนุบาลด้วยโดยปล่อยลูกปลาไหลนาในอัตรา 150-200 ตัวต่อตารางเมตร สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงอนุบาลลูกปลาไหลนาในช่วงแรกใช้ไรแดงหรือปลาสดบดละเอียด หรือฝึกให้กินอาหารเม็ดปลาดุกเล็กพิเศษก็ได้ โดยให้อาหารวันละ 2 มื้อเช้าและเย็นในอัตรา ร้อยละ10 ต่อน้ำหนักตัวต่อวัน และเมื่ออายุครบ 1 เดือนก็จะได้ความยาวของลูกปลาไหลประมาณ 1.0-2.0 นิ้ว ช่วงนี้ลูกปลาไหลจะเริ่มลงสู่พื้นดิน การเลี้ยงปลาไหลนาสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อซีเมนต์ขนาด 2.0ด3.0 เมตร และขนาด 5.0 ด10.0 เมตรหรือในท่อซีเมนต์กลมเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป โดยวางซ้อนกัน 2 ท่อพื้นบ่อเทคอนกรีตหนาประมาณ 1 นิ้วพร้อมติดตั้งท่อระบายน้ำออก ผนังบ่อด้านในควรฉาบให้ลื่น รองพื้นด้วยซังข้าวสลับกับโคลนและหยวกกล้วยสับละเอียดหนาชั้นละ 10 ซม.ทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์จึงนำลูกปลาไหลนาไปปล่อยลงเลี้ยง โดยปล่อยลูกปลาไหลนาที่มีขนาด 5 นิ้วในอัตรา 100 ตัว/บ่อหรือปล่อยลูกปลาจำนวน 3 กิโลกรัมต่อบ่อ เสริมด้วยการให้อาหารเม็ด ปลาสดสับละเอียดหรือตัวอ่อนแมลงน้ำ และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ 2 สัปดาห์ ระยะเวลาที่ใช้ในการเลี้ยงประมาณ6-8 เดือนจะได้ปลาไหลนาที่มีขนาด 3-5 ตัวต่อกิโลกรัม และใน 1 บ่อจะได้ผลผลิตประมาณ 20-30 กิโลกรัม ข้อควรระวังในการเลี้ยงปลาไหลนา- เนื่องจากปลาไหลนาเป็นปลาที่ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่ที่เงียบสงบ การมีสิ่งเร้าจะทำให้ปลาตกใจและหยุดกินอาหารได้- ในการปล่อยลูกปลาไหลนาลงเลี้ยง ถ้าเป็นลูกพันธุ์ปลาที่ได้จากการรวบรวมจากธรรมชาติ ก่อนนำมาเลี้ยงควรแช่ยาฆ่าเชื้อหรือกำจัดพยาธิเสียก่อน รวมทั้งต้องคัดขนาดปลาที่ปล่อยเลี้ยงให้มีขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุดในแต่ละบ่อ- ลูกปลาไหลนาที่มีขนาดความยาวประมาณ 10 ซม.จะเริ่มตายดังนั้นในระหว่างการเลี้ยงควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ- ปลาไหลนาที่มีขนาดความยาวประมาณ 10 ซม.จะพบว่ากล้ามเนื้อบริเวณโคนหางตาย ควรจับออกและมีการใส่ยากันเชื้อราบ้าง- อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาไหลควรผสมวิตามินรวม และนอกจากการผสมวิตามินในอาหารแล้วอย่างน้อยเดือนละครั้งควรมีการผสมยาถ่ายพยาธิด้วย- ทุกๆ 2 สัปดาห์ควรมีการคัดขนาดลูกปลาไหลนา โดยในบ่อเลี้ยงแต่ละบ่อควรมีขนาดของปลาไหลนาที่ใกล้เคียงกันเพื่อลดปัญหาการกินกันเองและบ่อเลี้ยงไม่ควรอยู่กลางแจ้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น