วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลาหางไหม้

ปลาหางไหม้เป็นปลาน้ำจืดพบตามแม่น้ำ ลำคลองเฉพาะที่ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในต่างประเทศ ชาวบ้านจับปลาหางไหม้ได้ด้วย ยอยก หรือ ลี่ แต่การพบปะปนกับปลาอื่นๆ เคยพบชุกชุมในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ตามแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำน่าน ปัจจุบันในประเทศไทยหายาก เข้าใจกันว่าคงจะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ยังพบในต่างประเทศ เช่น บอร์เนียว สุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มลายู และแม่น้ำโขงในแคว้นเขมราช สาธารณรัฐกัมพูชา ปลาหางไหม้เป็นปลาเผ่าพันธุ์เดียวกับปลาตะเพียนขาว ปลาหางไหม้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Balantiocheilos melanopterus ( บา-แลน-ทิ-โอ-ไซ-โลส เม-ลา-นอพ-เทอ-รัส ) ชาวต่างประเทศรู้จักดีในชื่อ Silver shark ( ซิล-เวอร์ ชาร์ค ) คนไทยอาจรู้จักปลาตัวนี้ในชื่อ ปลาหางเหยี่ยว ปลาหนามหลังหางดำรูปร่างลักษณะ ปลาหางไหม้มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ลำตัวเพรียวยาว ส่วนหัวแหลมเล็ก สันท้องเป็นเหลี่ยมกว้าง ส่วนครีบต่างๆสีสีเหลืองอ่อนและมีสีดำขลิบที่ริมโคนครีบ ทุกครีบยกเว้นครีบหู เกล็ดบนเส้นข้างตัวมี 34-35 เกล็ด ครีบหลังและครีบท้องตั้งต้นตรงแนวเดียวกัน ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 3 ก้านและก้านครีบอ่อน 8 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 ก้าน และก้านครีบอ่อน 9 ก้าน ครีบหูมีแต่ก้านครีบอ่อน 18 ก้าน ปากปลาหางไหม้ยืดหดได้ ไม่มีฟัน ริมฝีปากบนยื่นยาวกว่าริมฝีปากล่าง ในต่างประเทศอาจยาวถึง 35 เซนติเมตร ในประเทศไทยยาวประมาณ 20เซนติเมตร ปลาหางไหม้สังกัดอยู่ในครอบครัว Cyprinidaeการเลี้ยงปลาหางไหม้ ปลาหางไหม้เลี้ยงปนกับปลากะมังในตู้กระจก หาอาหารกินตามพื้นก้นตู้โดยใช้ปากซึ่งยืดหดได้คอยดูดอาหารตามซอกหิน ปลาหางไหม้มีนิสัยตกใจง่ายเลี้ยงให้เชื่องต้องใช้เวลานาน ถ้าตกใจสามารถกระโดดให้สูงถึง 2 เมตร ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ตัวโตหาอาหารกินโดยการใช้ปากไล่ชนปลาตัวเล็ก ตามธรรมชาติสามารถเลี้ยงได้ในบ่อดินเช่นเดียวกับปลาตะเพียน ให้อาหารเม็ดเช่นเดียวกับปลาตะเพียนขาวการขยายพันธุ์ปลาหางไหม้ ปลาหางไหม้ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติเช่นเดียวกับปลาตะเพียนขาว คือตอนต้นฤดูฝนราวเดือนพฤษภาคม ปลาเพศเมียท้องเริ่มอูมตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ปลาเพศเมียเวลาตั้งท้องมีไข่จะมีนิสัยดุร้าย ว่ายน้ำเข้าชนปลาที่เข้าใกล้ ต่อเมื่อไข่แก่เต็มที่ปลาเพศผู้จึงสามารถว่ายเคล้าเคลียจับเป็นคู่ๆได้ ปลาที่ว่ายเคล้าเคลียกันจะกระตุ้นเร่งเร้าการวางไข่โดยการใช้ปากชนบริเวณท้องและบริเวณช่องออกไข่ซึ่งกันและกัน ในเดือนพฤษภาคมปลาเพศเมียท้องอูมเป่งเห็นได้ชัด รูก้นสีแดงเรื่อๆ ช่องออกไข่มีสีเข้มเป็นติ่งกลมใหญ่ ขนาดแม่พันธุ์หนักประมาณ 155 กรัมจะให้ไข่ 6,000-7,000 ฟอง ปลาเพศผู้ที่เคล้าเคลียจะมีขนาดหนักประมาณ 126 กรัม การเพาะพันธุ์โดยวิธีการกระตุ้นต่อมใต้สมองของปลาไน ฉีดให้แก่แม่ปลาครั้งแรก ปริมาณ 0.5 โดส ผสมฮอร์โมนซีจี 50 ไอ.ยู.ทิ้งระยะ 6 ชั่วโมงครึ่งโดยปล่อยรวมไว้กับพ่อปลาแล้วฉีดแม่ปลาครั้งที่สองด้วยต่อมใต้สมองปลาไนอีก 1.5 โดสผสมฮอร์โมนซีจี 50 ไอ.ยู.แล้วปล่อยให้อยู่ด้วยกัน 12 ชั่วโมง จึงนำมาทำให้สลบด้วย ควินอลดิน รีดไข่และน้ำเชื้อคนด้วยขนไก่นาน 30 นาที ล้างไข่ด้วยน้ำ 2 ครั้ง นำไข่ไปโรยในกระชังผ้า ไข่ที่รีดออกมามีสีน้ำตาลปนแดง หลังจากไข่ผสมน้ำเชื้อแล้วประมาณ 5-6 นาทีไข่จะเริ่มพองน้ำจนมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาลใสมองเห็นถุงอาหารมีช่องระหว่างเปลือกไข่กับถุงอาหาร ไข่ปลาหางไหม้จะจมลงสู่ก้นกระชัง ฟักตัวในอุณหภูมิน้ำเฉลี่ย 2 7.5 องศาเซลเซียสในเวลา 13 ชั่วโมงหลังจากการผสม ถุงอาหารยุบในเวลา 3 วัน ลูกปลาเริ่มกินอาหารในวันที่ 4 อาหารเป็นพวกแพลงค์ตอนสัตว์และพืช ไรแดง และให้อาหารเม็ด ลูกปลาอายุ 50 วัน จะมีลักษณะเหมือนพ่อแม่ปลา แต่ขลิบต่างบนครีบยังไม่เด่นชัด ปลาหางไหม้ในปัจจุบันนี้มีเลี้ยงเพื่อเป็นปลาสวยงาม ขายภายในและส่งออกจำหน่ายต่างประเทศเท่านั้น ไม่นิยมนำมาปรุงเป็นอาหารเนื่องจากหาไม่ได้

การเลี้ยงปลาจีน

ปลาจีนเป็นปลาที่มีต้นกำเนิดมาจากลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ประเทศจีน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิดคือ ปลาไน ปลาเฉา ปลาลิ่น ปลาซ่ง และปลาเฉาดำ แต่มีเพียง 3 ชนิดที่นิยมเลี้ยงรวมกันคือ ปลาเฉา ปลาลิ่น และปลาซ่ง ส่วนปลาไนนั้นเลี้ยงกันจนเป็นปกติวิสัยฟและบางท่านไม่นับเป็นปลาจีน ปลาจีนทั้งสามชนิดดังกล่าว ในปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ได้ในประเทศไทยปี พ.ศ.2509 หลังจากที่ได้ประสพผลสำเร็จแล้วในอินเดีย ( ค.ศ. 1962) ในไต้หวัน ( ค.ศ. 1963) และในสาธารณรัฐสหภาพโซเวียตรัสเซีย ( ค.ศ. 1966 ) ปลาจีนเติบโตได้รวดเร็ว เนื้อมีรสดี แต่ตลาดจำหน่ายค่อนข้างจำกัดปลาเฉา หรือ เฉาฮื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ctenopharyngodon idellus ( ซี-โน-ฟา-ริ้ง-โก-ดอน-เดล-ลัส) ปลาลิ่น ปลาเล่ง ลิ่นฮื้อหรือเล่งฮื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypophthalmichthys molitrix ( ไฮ-โพพ-ทาล-มิค-ทีส์-โม-ลิ-ทริกส์ ) ส่วนปลาซ่งหรือซ่งฮื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aristichthys nobilis ( อะ-ริส-ทีส์-โน-บิ-ลีส ) รูปร่างลักษณะ ปลาจีนทั้งสามชนิดเป็นปลาจำพวกเดียวกับปลาไน รูปร่างและลักษณะคล้ายกัน มีลักษณะต่างกันมองเห็นได้ง่ายๆคือ ปลาเฉา เป็นปลาที่มีเกล็ดใหญ่เช่นเดียวกับปลาไน ลำตัวกลมยาวคล้ายกระบอกไม้ไผ่ สีตามลำตัวค่อนข้างเขียว ที่สำคัญคือชอบหากินอยู่ตามผิวน้ำ หรือว่ายน้ำยู่ตามผิวหน้าน้ำ ส่วนปลาลิ่นและปลาซ่งนั้นมีเกล็ดละเอียด ปลาลิ่นตัวแบนข้าง สีเงิน ท้องเป็นสันที่บริเวณตั้งแต่กระพุ้งแก้มเรื่อยไปจนถึงครีบก้น หากินอยู่ตามบริเวณกลางน้ำในระดับ 1-1.5 เมตร ส่วนปลาซ่งนั้น หัวค่อนข้างใหญ่ หลังสีดำ ตัวสีคล้ำ ท้องเป็นสันตั้งแต่ครีบท้องถึงครีบก้น หากินตามพื้นดินก้นบ่อ ปลาจีนทั้งสามชนิดอยู่ในครอบครัวเดียวกัน คือ Cyprinidae (ไซ-บริ-นิ-ตี้ )การเพาะพันธุ์ปลาจีน ปลาจีนทั้งสามชนิดไม่วางไข่กับเองตามธรรมชาติ แต่สามารถใช้วิธีผสมเทียมฉีดฮอร์โมนเร่งให้ปลาวางไข่ได้ พ่อแม่พันธุ์ต้องเลือกเอาที่มีน้ำเชื้อสมบูรณ์และมีไข่แก่เต็มที่ อายุประมาณ 2-4 ปี น้ำหนักประมาณ 1.5-5 กิโลกรัม แม่พันธุ์ฉีดต่อมใต้สมองของปลาไนหรือปลาชนิดเดียวกันในอัตรา 0.5 -2 โดส 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 5-8 ชั่งโมง ครั้งแรกอาจฉีดในอัตราน้อยกว่าครั้งที่สอง พ่อพันธุ์ฉีดต่อมใต้สมองของปลาไน หรือปลาชนิดเดียวกันอัตรา 0.5-1.5 โดส เพียงครั้งเดียว 8 ชั่วโมงก่อนการผสมไข่กับน้ำเชื้อในเวลาเช้ามืด 04:30-6:00 น. ปลาเฉานั้น ไข่ที่รีดออกมาใหม่ๆมีสีเหลืองปนน้ำตาลเล็กน้อย มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.0 มิลลิเมตร เมื่อผสมน้ำเชื้อแล้ว ไข่จะดูดน้ำเส้นผ่าศูนย์กลางเป็น 4.0-5.0 มิลลิเมตร จะฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 13-14 ชั่วโมง อุณหภูมิน้ำ 27-33 องศาเซลเซียส แม่ปลาตัวหนึ่งๆจะให้ลูกปลา 5,000-10,000 ตัว ปลาลิ่นนั้น ไข่ปลาจะมีสีเทา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0-1.4 มิลลิเมตร เมื่อผสมน้ำและพองน้ำแล้วจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-5.0 มิลลิเมตร ฟักออกเป็นตัวภายใน 14-16 ชั่วโมง อุณหภูมิน้ำ 27-33 องศาเซลเซียส แม่ปลาตัวหนึ่งๆจะให้ลูกปลา 5,000-10,000 ตัว ปลาซ่งนั้น ไข่ปลาจะมีสีเหลืองทองปนน้ำตาลเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.0 มิลลิเมตร เมื่อผสมน้ำเชื้อและพองน้ำแล้วจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.0-5.0 มิลลิเมตร ฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 15-19 ชั่วโมง แม่ปลาตัวหนึ่งๆจะให้ลูกปลา 10,000-20,000 ตัว ไข่ปลาทั้งสามชนิดฟักออกเป็นตัวโดยใช้ระบบน้ำหมุนเวียนขึ้นสู่ผิวน้ำ การเตรียมต่อมใต้สมอง นำต่อมใต้สมองมาบดในในแก้วสำหรับบด หรือ โกร่งแก้ว ให้ละเอียด ผสมด้วยน้ำกลั่น บริสุทธ์และน้ำเกลือ ( น้ำเกลือมีความเข้มข้น 0.7 เปอร์เซ็นต์ หรือน้ำเกลือที่ใช้ฉีดยาโดยทั่วไป ) นำน้ำยาที่ผสมไปปั่นให้ตกตะกอนแล้วใช้หลอดแก้วพร้อมเข็มฉีดยาดูดแต่น้ำใสๆนำไปฉีด ถ้าต่อมสะอาดก็ไม่จำเป็นต้องนำไปปั่นให้ตกตะกอน น้ำกลั่นหรือน้ำเกลือที่ใช้ผสมนั้นไม่ควรเกิน 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ( ลบ.ซม. หรือ ซีซี )การให้อาหารลูกปลา ประมาณ 2-3 วันหลังจากลูกปลาฟักออกจากไข่ ถุงอาหารหน้าท้องจะยุบ เริ่มให้อาหารแก่ลูกปลาได้ ในระยะ 3-7 วันแรก ให้ไข่แดงต้มสุกบดละเอียด ในระยะ 8-15 วัน ให้ไข่แดงต้มสุกปนกับข้าวสาลีร่อนด้วยแล่งร่อนแป้งเป็นอาหาร ต่อจากนั้นให้อาหารแป้งสาลีปนกับรำละเอียดร่อนด้วยแล่งร่อนแป้งเป็นอาหารบ่อเลี้ยงลูกปลา ในขณะที่ถุงไข่ยังไม่ยุบ ให้ฟักลูกปลาในถุงฟักไข่ เมื่อลูกปลาอายุได้ 2-7 วัน จึงนำลงอนุบาลในบ่อ 1.5 ด 2.5 ด 1 เมตร ต่อจากนั้นนำลงเลี้ยงในบ่อขนาด 400 ตารางเมตรการเตรียมบ่อเลี้ยง บ่อเลี้ยงลูกปลาจีนควรเป็นบ่อดิน มีความลึกประมาณ 1 เมตร ขนาดของบ่อไม่ควรเกิน 400 ตารางเมตร เลี้ยงลูกปลาจีนให้ได้ขนาด 12-15 เซนติเมตร จึงย้ายไปเลี้ยงในบ่อดินใหญ่ความลึกไม่เกิน 2.5 เมตร ขนาดประมาณ 400 ตารางเมตรขึ้นไป อัตราการเลี้ยงลูกปลาใช้ 5-10 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนบ่อดินใหญ่ใช้อัตรา 40 ตัวต่อตารางเมตร ปลาจีนนั้นนิยมเลี้ยงรวมกันทั้งสามชนิด โดยใช้อัตราส่วน ปลาเฉา 7 ตัว ปลาลิ่น 2 ตัว และปลาซ่ง 1 ตัว ลูกปลาสามารถคัดได้ง่ายๆโดยการรวบรวมปลาไว้ในถังไม้ลึกประมาณ 1 เมตร ลูกปลาที่ว่ายลอยอยู่ผิวหน้าน้ำคือลูกปลาเฉา ลูกปลาที่ว่ายเป็นกลุ่มอยู่ในระดับกลางๆถัง คือ ลูกปลาลิ่น และลูกปลาที่ว่ายอยู่ก้นถังคือลูกปลาซ่ง การเตรียมบ่อเลี้ยง ควรใช้ปุ๋ยคอกเพาะจุลินทรีย์ ในน้ำในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อ 10 ตารางเมตร และควรกองหญ้าหมักไว้ตามมุมบ่อด้วย เมื่ออาหารบริบูรณ์ ปลาจะได้ขนาดไม่ต่ำกว่า 20 เซฯติเมตร และหนักไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม ในระยะเวลา 6 เดือน ตลาดนิยมปลาขนาดไม่เกินตัวละ 1 กิโลกรัมการให้อาหารเสริม เกี่ยวหญ้าขนเลี้ยงปลาเฉาทุกวัน โดยจัดให้กินตามบ่อเป็นแหล่งๆไป อาหารเสริมถ้าจะให้ก็มี กากถั่ว ผักบุ้ง ผักชนิดต่างๆ ลูกปลาอาจให้รำละเอียดเป็นอาหาร ส่วนปลาลิ่นนั้นอาศัย จุลินทรีย์ที่เกิดจากมูลปลาเฉาเป็นอาหารเช่นเดียวกับปลาซ่ง ถ้าปลาอดอาหาร ปลาซ่งจะหาหอยตามพื้นดินก้นบ่อกินเป็นอาหารการจำหน่ายปลาจีน ปลาจีนมีตลาดจำกัด ยังไม่มีวางขายโดยทั่วไป การขายปลาต้องติดต่อกับผู้ซื้อซึ่งจะมีเป็นบางท้องที่ เช่น ตลาดเก่าเยาวราช และตามร้านขายอาหารจีน ปลาจีนจำหน่ายในขณะที่ปลายังมีชีวิตอยู่ ก่อนนำมาจำหน่ายต้องจับปลาให้อยู่ในน้ำสะอาดอย่างน้อย 2 วัน ขนาดที่จำหน่ายนั้น ตั้งแต่ 0.5-1.0 กิโลกรัม หรือขนาดใส่จานเปลพอดี เมื่อปลาติดตลาด ผู้ซื้อจะคัดปลาเองที่บ่อเลี้ยง ส่วนมากการซื้อขายจะผูกพันกันเป็นลูกโซ่ เช่น ถ้าผู้เลี้ยงซื้อลูกปลาของผู้ขาย ผู้ขายคัดจำหน่ายปลาโตให้ ดังนี้เป็นต้น ราคาจำหน่ายอยู่ระหว่าง 15-20 บาทต่อกิโลกรัม ผู้ขายปลีกตามตลาดสดมักจะแบ่งปลาขายตัวหนึ่ง 2 ท่อนเท่านั้น คือท่อนหัวและท่อนหางการแปรรูปปลาจีน ปลาจีน ทำเป็นอาหารได้เช่นเดียวกับปลาน้ำจืดอื่นๆทั่วๆไป นอกจากการขอดเกล็ด ควักไส้ ทำความสะอาดบริเวณท้องแล้ว สิ่งที่สำคัญคือ เยื่อบุช่องท้องที่เป็นสีดำต้องดึงออกทิ้งให้หมด มิฉะนั้นอาจทำให้ปลามีรสขมไม่น่ารับประทานได้ ปลาจีนมีก้างมากคล้ายปลาตะเพียน

ปลากะรัง

ปลากะรังหรือบางคนเรียกว่าปลาตุ๊กแก,อ้ายเก๋า,ราปู หรือชาวจีนเรียกว่า เก๋าฮื้อ ในมาเลเซียเรียก kerapu ในภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกทั่วไปว่า grouper ถูกจัดอยู่ในครอบครัว serranidae เป็นปลาทะเลจำพวกหนึ่งซึ่งมีอยู่มากมายหลายชนิดตั้งแต่ ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่อาศัยอยู่ตามแถบชายฝั่งหน้าดิน ที่ก้นทะเลและบริเวณที่มีเกาะแก่งหินกองใต้น้ำและหินปะการัง โดยทั่วไปบางครั้งเข้ามาอาศัยปากแม่น้ำเพื่อหาอาหาร อาศัยในแถบโซนร้อนและอบอุ่น มีนิสัยไม่ชอบอยู่ร่วมกับฝูง กินปลาเล็กๆตลอดจนสัตว์น้ำอื่นๆเป็นอาหารเลี้ยงง่าย อดทน แข็งแรง และเจริญเติบโตเร็ว สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและในกระชังเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื้อมีรสดี มีผู้นิยมบริโภคมากโดยเฉพาะในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในตลาดการค้าของสิงคโปร์ นิยมปลาที่มีขนาดน้ำหนัก 600-900 กรัม ราคาของปลาเป็นอยู่ระหว่าง 300-500 บาท ปลากะรังหรือปลาเก๋าที่นิยมเลี้ยงกันส่วนมากคือ ปลากะรังจุดสีน้ำตาล หรือปลาเก๋าดอกแดงหรือปลากะรังปากแม่น้ำการเพาะพันธุ์ปลากะรังการเพาะพันธุ์ปลากะรังได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จครั้งแรกที่สถานีประมงน้ำกร่อย จ.สตูล ในวันที่ 7 ธันวาคม 2534 ในครั้งนั้นได้ใช้แม่พันธุ์ที่เลี้ยงในกระชัง แล้วนำมาเลี้ยงต่อในบ่อซีเมนต์ขนาด 50 ตัน ประมาณ 3 เดือน ส่วนพ่อพันธุ์ได้นำปลาขนาด 3-5 กิโลกรัม มาเลี้ยงโดยใช้เนื้อปลาผสมกับ Methyl testostorone ในอัตรา 1 mg./น้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 2 เดือน เสร็จแล้วก็ดำเนินการคัดพ่อแม่พันธุ์ ปลากะรังมาฉีดฮอร์โมนผสมเทียมแล้วรีดไข่ออกมาผสมกับน้ำเชื้อได้เป็นผลสำเร็จในช่วงปี 2526-2527 และได้ทำการผสมพันธุ์แบบธรรมชาติในบ่อซีเมนต์กลางแจ้งขนาด 80 ตัน ซึ่งปรากฏว่า ได้รับผลสำเร็จเป็นครั้งแรกในวันที่ 23 ตุลาคม 2527 และปลาสามารถวางไข่ติดต่อกันเป็นเวลา 8 วัน และครั้งหลังก็วางไข่ติดต่อกันอีก 6 วัน สามารถรวบรวมไข่ได้ครั้งละประมาณ 500,000 - 1,000,000 ฟอง โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์จำนวน 30 ตัว (เพศผู้-เพศเมีย) อย่างละ 15 ตัว แล้วนำไข่ที่ได้ไปฟักในบ่อฟักการศึกษาเพาะพันธุ์ลูกปลากะรังที่ได้ดำเนินการไปแล้วในประเทศไทยแบ่งได้ 3 วิธีคือ การเพาะพันธุ์ปลากะรังโดยวิธีการผสมเทียม ประสบผลสำเร็จครั้งแรกที่สถานีประมงน้ำกร่อยจังหวัดสตูล พ่อแม่พันธุ์ปลาที่นำมาทดลองเป็นปลาที่รวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติ นำมาเลี้ยงในกระชังจนถึงวัยเจริญพันธุ์ เนื่องจากปลากะรังเป็นปลาที่มีการเปลี่ยนเพศ ดังนั้นการเตรียมปลาเพศผู้จึงใช้วิธีให้ฮอร์โมนเพศชายคือ เมททิลเทสโตสเตอโรน 1 มิลลิกรัม/ปลา 1 กิโลกรัมผสมในเนื้อปลาที่ใช้เลี้ยงพ่อพันธุ์ปลาโดยใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ปลาจะมีน้ำเชื้อเมื่อจะผสมเทียมใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ HCG และต่อมใต้สมองของปลาจีนฉีดปลาที่มีสภาพพร้อมจะผสมเทียมคือเพศเมียมีไข่พัฒนาถึงระดับฉีดฮอร์โมนได้(ไม่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 400 ไมครอน) โดยฉีดปลาเพศเมีย 2 เข็มคือ เข็มที่ 1 ฉีดต่อมใต้สมองปลาจีน 2 มิลลิกรัมกับฮอร์โมนสังเคราะห์ HCG 400-500 IU/กิโลกรัม หลังจากนั้นอีก 24 ชั่วโมง ถ้าการพัฒนาไข่ปลายังไม่ถึงขั้นพร้อมผสม (Fertilization) จะฉีดเข็มที่ 2 ด้วยต่อมใต้สมองปลาจีน 4 มิลลิกรัมร่วมกับ HCG 800-1000 IU/กิโลกรัม ส่วนปลาเพศผู้จะฉีดครั้งเดียวพร้อมกับการฉีดปลาเพศเมียเข็มที่ 2 โดยฉีดต่อมใต้สมอง 2 มิลลิกรัมร่วมกับ HCG 500 IU/กิโลกรัม หลังจากนั้น 12 ชั่วโมง จะทำการรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อ การเพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นให้ปลาผสมพันธุ์วางไข่ในบ่อ เพราะในบางพื้นที่ปลาจะไม่วางไข่แบบธรรมชาติ จากการทดลองพบว่า ระยะเวลาที่เหมาะสมในการฉีดฮอร์โมนอยู่ในช่วงระยะข้างขึ้นและข้างแรม 11-14 ค่ำ ฮอร์โมนที่ใช้ฉีดกระตุ้นได้แก่ ต่อมใต้สมองปลาจีน 2-3 มิลลิกรัม ร่วมกับฮอร์โมนสังเคราะห์ HCG หรือ Pregny 300-500 IU/กิโลกรัม หรือฉีดด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์แต่เพียงอย่างเดียว เช่นใช้ Puleerogen ฉีดปลาเพศผู้ 25-30 IU/กิโลกรัม เพศเมีย 60-80 IU/กิโลกรัม หรือเพศผู้ฉีด 50 IU/กิโลกรัม เพศเมียฉีด 100 IU/กิโลกรัม การเพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีวางไข่แบบธรรมชาติ ในธรรมชาติแล้วปลากะรังวางไข่ในฤดูมรสุมประมาณเดือนตุลาคม-กุมภาพันธุ์ ก่อนถึงฤดูวางไข่ประมาณ 2 เดือน พ่อแม่พันธุ์จะถูกนำมาเลี้ยงรวมกันในบ่อซีเมนต์โดยการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการผสมพันธุ์ปล่อยลงบ่อและจัดการควบคุมสิ่งแวดล้อมในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลา เช่น กระตุ้นให้ปลาผสมพันธุ์วางไข่โดยการเปลี่ยนน้ำ เพิ่มน้ำ และใช้ระบบน้ำไหลในช่วงระยะเวลาวางไข่ตั้งแต่ขึ้นหรือแรม 10 ค่ำเป็นต้นไป การเพิ่มและลดระดับน้ำยังทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นปัจจัยในการกระตุ้นให้ปลาผสมพันธุ์วางไข่ดีขึ้น การให้อาหารจะให้เพียง 1-2 % ของน้ำหนักรวมทั้งการเสริมอาหารเช่น วิตามินอี เกลือแร่ เพื่อให้พ่อแม่พันธุ์ปลามีความสมบูรณ์ในการพัฒนาไข่และน้ำเชื้อการอนุบาลลูกปลากะรังการดูดตะกอนการย้ายลูกปลาควรทำเฉพาะในวันแรกที่ลูกปลาฟักเป็นตัว ลูกปลาที่มีอายุ 1-10 วันแรก จะกระจายอยู่ทุกระดับความลึกของน้ำในถังหรือบ่ออนุบาล การให้ฟองอากาศต้องเพียงพอที่จะให้มวลน้ำเคลื่อนเบาๆ อย่างทั่วถึงเพื่อมิให้ลูกปลาได้รับการกระทบกระแทกหรือสัมผัสอากาศเฉพาะในช่วงอายุ 1-4 วัน เพราะถ้าลูกปลาหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของลูกปลาอยู่เหนือน้ำเพียง 12 วินาที ลูกปลาจะตายภายใน 1 วัน(ลูกปลาโดยทั่วไปหลังจากฟักเป็นตัวลูกปลาจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 5 วัน โดยการใช้ไข่แดงและหยดน้ำมันที่ติดมากับตัวโดยไม่ต้องกินอาหาร)การเพาะพันธุ์ปลาเก๋าหรือปลากะรังไม่ค่อยมีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่ช่วงอนุบาลเป็นสำคัญ การอนุบาลลูกปลาให้เจริญเติบโตเป็นปลา 1-3 นิ้ว เพื่อให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงในกระชังหรือบ่อยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ลูกปลาจะตายมากใน 3 สัปดาห์แรกถึง 1 เดือน เพราะลูกปลาขาดสารอาหารโดยเฉพาะกรดไขมันซึ่งลูกปลาต้องการมาก ปกติแล้วการอนุบาลลูกปลาจะใช้ไรน้ำเค็มหรืออาร์ทีเมียซึ่งทั้งสองชนิดนี้กรดไขมันมีน้อยมาก ลูกปลาจะขาดสารอาหาร อ่อนแอ และตายในที่สุดสำหรับวิธีการหรือขั้นตอนการเสริมกรดไขมันจะใช้ไข่แดงเป็นตัว (emulsifier) เพราะโดยปกติกรดไขมันคือ น้ำมันซึ่งไข่ละลายน้ำสูตรผสม จะใช้ไข่แดง 2 ฟอง/น้ำมันซึ่งสกัดจากตัวปลาทะเล 50 ซีซี นำไปปั่นรวมกันประมาณ 2-3 นาที ให้เข้ากัน จากนั้นเติมน้ำอีกประมาณ 100-200 ซีซี ปั่นอีกครั้งเพื่อให้ไข่แดงเป็นตัวจับแยกน้ำมันผสมเคล้ากันและนำไปให้อาร์ทีเมียกินกรดไขมันถ้าให้ลูกปลากินจะให้อาร์ทีเมียกินกรดไขมัน 12 ชั่วโมงก่อน แล้วจึงนำไปให้ลูกปลากินแต่ถ้าอาร์ทีเมียตัวใหญ่จะให้อาร์ทีเมียกินกรดไขมันแค่ 6 ชั่วโมงช่วงอนุบาลลูกปลาจะต้องให้อาหารกระจายให้ลูกปลากินเป็นระยะประมาณ 3-5 ครั้งต่อวัน โดยปกติแล้วลูกปลาอายุ 3 วัน ถุงอาหารจะยุบ ดังนั้นการอนุบาลลูกปลา 3-5 วันแรกควรเริ่มด้วยโรติเฟอร์ขนาดเล็กก่อน หลังจาก 5 วันผ่านไปแล้วลูกปลาสามารถกินโรติเฟอร์ได้ทุกขนาด เลี้ยงด้วยโรติเฟอร์ประมาณ 30 วัน แต่การเลี้ยงจะคาบเกี่ยวกับอาร์ทีเมียด้วย เนื่องจากปลาโตได้ขนาดไม่เท่ากันทุกตัว ดังนั้นเมื่อลูกปลาอายุประมาณ 15 วันก็เริ่มให้อาร์ทีเมียด้วยโดยสังเกตุว่าลูกปลากินได้หรือไม่ ถ้ากินได้ก็เพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆเมื่ออายุได้ 30-35 วันจึงเริ่มให้ไรน้ำขนาดใหญ่ (คืออาร์ทีเมียขนาดใหญ่ที่เลี้ยงในนาเกลือ)** ข้อควรระวัง ในช่วงอายุ 35-40 วัน ลูกปลาจะกินกันเองมาก เพราะเป็นสัตว์กินเนื้อ ควรให้อาร์ทีเมียอย่างไม่ขาดระยะเพิ่มลดอัตราการกินกันเองของลูกปลา- เมื่อลูกปลามีอายุย่างเข้าปลารุ่น เราจึงเปลี่ยนอาหารอีกครั้งโดยฝึกให้กินเนื้อปลาหรืออาหารผสมอย่างไรก็ตามจากผลการวิจัยต่างๆ ในขณะนี้ทำให้ทราบสาเหตุการตายของลูกปลา และสามารถแก้ไขเพื่อเพิ่มอัตรารอดของลูกปลาได้ในระดับหนึ่ง ทั้งในด้านการเพาะพันธุ์และอนุบาล ซึ่งความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยในปัจจุบันพอที่จะเผยแพร่ให้ผู้สนใจนำไปใช้ประโยชน์ในการอนุบาลลูกปลาได้ตามความเหมาะสม

การเลี้ยงปลาไหลนา

ปลาไหลนา เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูล Flutidae ชอบอาศัยอยู่ในคู คลอง หนอง บึงต่างๆในธรรมชาติชอบอาศัยตามพื้นดินโคลนที่มีซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อยสะสมอยู่ หรือบริเวณที่ปกคลุมด้วยวัชพืช เช่นพวกหญ้าน้ำหรือบัวชนิดต่างๆซึ่งเราสามารถพบปลาไหลนาได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย และปลาไหลนาที่พบในประเทศไทยมี 2 ชนิดด้วยกันคือ สีดำกับสีเหลือง ทั้งสองชนิดมีรูปร่างลักษณะลำตัวกลมยาวคล้ายงู สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งไม่มีน้ำได้นาน ในฤดูร้อนปลาไหลจะขุดรูอาศัยลึกประมาณ 1.0-1.5 เมตรและออกหาอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ในช่วงต้นฤดูฝนถัดไป การที่ปลาไหลนามีลักษณะลำตัวกลมยาวและลื่นมากทำให้มีการอพยพย้ายถิ่นอยู่เสมอในช่วงเวลากลางคืน โดยจะเคลื่อนตัวไปตามร่องน้ำที่ชื้นแฉะหรือลำน้ำที่ไหลเพื่อไปสู่แหล่งอาหารหรือที่อยู่ใหม่ ปลาไหลนาที่จำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบันเกือบทั้งหมดจับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งปัจจุบันมีปริมาณลดน้อยลงทุกที บางช่วงฤดูขาดแคลนทำให้ปลาไหลนามีราคาค่อนข้างสูง ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดปัตตานีได้เล็งเห็นความสำคัญของปลาตัวนี้จึงได้ทำการทดลองเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลนาจนประสบความสำเร็จชีววิทยาของปลาไหลนา รูปร่างลักษณะทั่วไปของปลาไหลนามีลำตัวยาวมากเมื่อเปรียบเทียบกับปลาน้ำจืดชนิดอื่นความยาวของส่วนหัวจะเป็นเศษหนึ่งส่วน 13-14 เท่าของความยาวเหยียดลำตัว ความลึกของลำตัวจะเป็นเศษหนึ่งส่วน 17.5-23.5 ของความยาวเหยียดลำตัว สีของลำตัวจะเข้มกว่าสีของด้านท้อง มีสีดำประปรายอยู่ตลอดลำตัวบนช่องเปิดของร่างกาย รูก้นจะอยู่ห่างจากส่วนหัวมากคือ ระยะจากหัวถึงรูก้นเป็นเศษหนึ่งส่วน 1.4-1.45 ของความยาวลำตัว ที่รูก้นมีช่องสืบพันธุ์เปิดออกร่วมด้วย ไม่มีอวัยวะเพศภายนอกที่บริเวณรูก้น ปลาไหลนาจะเป็นพวกที่มีครีบเสื่อม ถึงแม้ว่าปลาไหลนาจะไม่มีครีบช่วยในการว่ายน้ำ แต่ก็สามารถเคลื่อนไหวได้รวดเร็วเมื่อตกใจ ส่วนอวัยวะสืบพันธุ์ของปลาไหลนาประกอบด้วยอวัยวะเพศภายในซึ่งมีเพียงหนึ่งอันแนบติดกับด้านบนของลำไส้โดยเริ่มต้นจากส่วนปลายของตับแนบไปข้างถึงถุงน้ำดีผ่านด้านข้างของม้ามไปเปิดออกที่ช่องเปิดรูก้น จึงเห็นว่าอวัยวะเพศภายในของปลาไหลนามีความยาวมากและปรากฎเพียงด้านขวาของลำตัวอันเดียวเท่านั้น ส่วนบริเวณใกล้อวัยวะเพศภายในมีอวัยวะอีกส่วนหนึ่งอยู่ทางซ้ายลำตัว และทอดขนานมากับส่วนอวัยวะเพศภายใน แต่อยู่ชิดกับผนังด้านบนช่องท้องมากกว่าคืออวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์ ( Sexual accessory orgen ) มีลักษณะเป็นถุงผนังบางมีความยาวพอกับอวัยวะเพศภายในมีน้ำใส บรรจุอยู่ส่วนปลายของถุงนี้จะไปเปิดออกร่วมกับช่องเปิดของอวัยวะเพศภายใน ซึ่งเปิดออกสู่ Ganital pore แล้วจึงเปิดออกภายนอกร่างกายร่วมกับรูก้น ลูกปลาไหลนาจะเจริญเติบโตมีความสมบูรณ์เพศเมื่ออายุครบ 1 ปีและมีขนาดความยาวประมาณ 17 เซนติเมตรซึ่งเมื่อนำปลาขนาดนี้มาตรวจอวัยวะภายในพบว่าปลาขนาดนี้จะเป็นปลาเพศเมียส่วนอวัยวะภายในเหมือนกันทุกตัวและลักษณะของผนังช่วงลำตัวด้านบนซึ่งอยู่ใกล้กับกระดูกสันหลังจะก่อตัวเป็น Genital Crest ซึ่งภายในจะมี genital epithelium มาหุ้มและยึดติดผนังลำตัวด้วยเยื่อ mesenchyme ต่อมาgenital crest จะให้เซลล์ซึ่งเรียกว่า archeogonocyst จะแบ่งตัวให้ deutogonia หรือ bipotential gonocy และพร้อมๆกันนี้ขนาดของอวัยวะเพศภายในก็จะเจริญเพิ่มขึ้นด้วยปลาขนาดความยาวตัว 3-5 ซม. Gonocyst จะมีขนาดถึง 75-95 ไมครอน แสดงว่าปลาไหลนาจะไม่แสดงความแตกต่างของอวัยวะเพศภายในจนกว่าจะมีขนาด 3-5 ซม.การผสมพันธุ์และการเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ในการผสมพันธุ์ปลาไหลนาจะใช้วิธีการเลียนแบบธรรมชาติเพราะการใช้วิธีฉีดฮอร์โมนผสมเทียมไม่สามารถทำให้ปลาวางไข่ได้ และในการเพาะพันธุ์เลียนแบบธรรมชาติ ก่อนที่จะนำพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลนามาปล่อยเพื่อผสมพันธุ์จะต้องมีการเตรียมบ่อเพาะพันธุ์โดยใช้เทคนิดเตรียม บ่อเพาะให้คล้ายคลึงกับธรรมชาติมากที่สุดซึ่งสามารถเพาะได้ทั้งในถังไฟเบอร์ บ่อดิน บ่อซีเมนต์และท่อซีเมนต์กลม และต้องเตรียมความพร้อมดังนี้ ถังไฟเบอร์ โดยใส่ดินเหนียวลงในถังไฟเบอร์ขนาด 2 ตันบ่อสูง 1 เมตรโดยให้ดินอยู่ในลักษณะแนวลาดเอียงสูง 40 ซม.หลังจากนั้นเติมน้ำลงไปประมาณ 30 ซม. ให้ดินเหนียวโผล่ออกมาเหนือน้ำเป็นแนวลาดเอียงประมาณ 10 ซม. แล้วทำการปลูกพันธุ์ไม้น้ำให้เหมือนกันธรรมชาติ เช่น กอบัว จอกแหน และผักตบชวาบ่อดิน ต้องอัดพื้นแน่น ขนาด 200-400 ตารางเมตร ด้านบนปลูกพืชน้ำสำหรับเป็นที่วางไข่ของแม่ปลาไหลนาปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในสัดส่วนเพศผู้:เมียเท่ากับ1:3ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตรปลาไหลนาจะวางไข่ได้ภายใน 2-4 เดือนโดยจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนเมื่อปลาไหลฟักออกมาเป็นตัวจะมีความยาวประมาณ 2-3 ซม.โดยจะหลบซ่อนอยู่ตามรากหญ้าแล้วจึงรวบรวมนำไปเลี้ยงต่อไป บ่อซีเมนต์ ขนาด 5.0ด10.0ด1.0 เมตรใส่ดินในบ่อสูง 30 ซม.ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในสัดส่วน เพศผู้:เพศเมีย เท่ากับ 1:3 ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เติมน้ำให้มีระดับสูงกว่าผิวดินประมาณ 10 ซม.ใส่พืชน้ำต่างๆเพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนและวางไข่ โดยปลาไหลนาจะก่อหวอดคล้ายปลากัด สามารถรวบรวมปลาไหลนาได้หลังจากปลาไหลก่อหวอดประมาณ 5 วันแล้วจึงนำลูกปลาไหลไปอนุบาลต่อในตู้กระจกหรือในท่อซีเมนต์กลม ท่อซีเมนต์กลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0 เมตร ปล่อยพ่อพันธุ์ 1 ตัวและแม่พันธุ์ 3ตัวต่อ 1 ท่อใส่ดินสูงประมาณ 30 ซม.โดยแม่พันธุ์ 1 ตัวจะสามารถวางไข่ตั้งแต่ 300-910 ฟองขึ้นอยู่กับขนาดของแม่พันธุ์การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลในช่วงแรกจะแยกเพศได้ยากมากเพราะเป็นปลาที่มีสองเพศในตัวเดียวกัน การแยกเพศของปลาไหลนาถ้าดูจากลักษณะภายนอกจะไม่สามารถแยกเพศได้เด่นชัด โดยเฉพาะในช่วงฤดูที่ปลาไม่มีการวางไข่ แต่ถ้าในช่วงฤดูวางไข่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนกรกฎาคม จะสังเกตเพศปลาไหลได้เด่นชัดขึ้นกล่าวคือ เพศเมียช่องเพศจะมีสีแดงเรื่อๆบวม ลำตัวมีสีเหลืองเปล่งปลั่งส่วนตัวผู้จะมีสีขาวซีดไม่บวม ลำตัวสีเหลืองคล้ำ ถ้าผ่าท้องปลาไหลในช่วงผสมพันธุ์วางไข่จะพบว่าถ้าปลาไหลมีความยาว 29-50 ซม.และมีน้ำหนัก 70-200 กรัมจะเป็นปลาเพศเมีย ส่วนปลาไหลเพศผู้จะมีความยาวตั้งแต่ 60 ซม.ขึ้นไป และถ้าหากน้ำหนักมากกว่า 300 กรัมขึ้นไปปลาไหลจะยิ่งมีน้ำเชื้อดี เมื่อคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลได้แล้วก็นำมาปล่อยในบ่อเพาะพันธุ์ที่เตรียมไว้โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์บ่อละ 10 คู่การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ เมื่อปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลลงบ่อเพาะแล้วก็ทำการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลโดยให้อาหารและดูแลทำความสะอาดเปลี่ยนถ่ายน้ำ อาหารที่นำมาให้พ่อแม่พันธุ์ปลาไหลจะให้อาหารพวกปลาเป็ดสับเป็นชิ้นพอเหมาะกับปากของปลาโยนให้พ่อแม่พันธุ์ปลาวันละ 1 ครั้งในปริมาณร้อยละ2 ต่อน้ำหนักตัวโดยให้ในช่วงเย็นเเนื่องจากปลาไหลนามีอุปนิสัยชอบออกหากินในที่มืดและสภาพแวดล้อมเเงียบสงบ ใน 1 อาทิตย์มีการถ่ายน้ำในบ่อเพาะแม่พันธุ์ 1 ครั้ง จากการสังเกตพบว่าน้ำฝนจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้แม่พันธุ์ปลาไหลวางไข่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งปลาไหลนามักจะวางไข่ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ใกล้จะเข้าหน้าฝน แต่ช่วงที่ปลาไหลไข่ชุกที่สุดคือเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนและจะพบไข่ปลาไหลทุกครั้งหลังจากฝนตกและเมื่อแม่ปลาไหลมีไข่แก่พร้อมที่จะวางไข่แล้วแม่ปลาไหลจะก่อหวอดและะวางไข่โดยไข่ปลาจะติดใต้หวอดและกองอยู่ตามพื้น ไข่ปลาไหลที่ออกใหม่ๆจะมีขนาดใหญ่ประมาณ 3 มิลลิเมตร ไข่มีสีเหลืองทอง เปลือกไข่จะมีลักษณะแข็งและกลม แม่พันธุ์ปลาไหล 1 ตัวสามารถให้ไข่ได้ไม่เกิน 2,000 ฟอง ไข่ปลาไหลจะใช้ระยะเวลาในการฟักประมาณ 70-78 ชม.ลูกปลาที่ฟักออกมาใหม่ๆมีความยาวประมาณ 2 ซม.ไข่ปลาไหลบางฟองอาจจะฟักออกเป็นตัวห่างกันนานถึง 6 ชม.เนื่องจากแม่ปลาไหลอาจจะวางไข่ไม่พร้อมกัน ในช่วงที่แม่ปลาไหลวางไข่จะมีนิสัยดุร้ายมากการอนุบาลลูกปลาไหลนา ใช้วิธีอนุบาลในท่อซีเมนต์กลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.0 เมตรหรือในถังพลาสติกหรือในตู้กระจกก็ได้ แต่ต้องให้มีน้ำหมุนเวียนและถ่ายเทได้ตลอดเวลา และมีพืชน้ำมัดให้ลอยเป็นกำพร้อมทั้งใส่ดินในบ่อนุบาลด้วยโดยปล่อยลูกปลาไหลนาในอัตรา 150-200 ตัวต่อตารางเมตร สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงอนุบาลลูกปลาไหลนาในช่วงแรกใช้ไรแดงหรือปลาสดบดละเอียด หรือฝึกให้กินอาหารเม็ดปลาดุกเล็กพิเศษก็ได้ โดยให้อาหารวันละ 2 มื้อเช้าและเย็นในอัตรา ร้อยละ10 ต่อน้ำหนักตัวต่อวัน และเมื่ออายุครบ 1 เดือนก็จะได้ความยาวของลูกปลาไหลประมาณ 1.0-2.0 นิ้ว ช่วงนี้ลูกปลาไหลจะเริ่มลงสู่พื้นดิน การเลี้ยงปลาไหลนาสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อซีเมนต์ขนาด 2.0ด3.0 เมตร และขนาด 5.0 ด10.0 เมตรหรือในท่อซีเมนต์กลมเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป โดยวางซ้อนกัน 2 ท่อพื้นบ่อเทคอนกรีตหนาประมาณ 1 นิ้วพร้อมติดตั้งท่อระบายน้ำออก ผนังบ่อด้านในควรฉาบให้ลื่น รองพื้นด้วยซังข้าวสลับกับโคลนและหยวกกล้วยสับละเอียดหนาชั้นละ 10 ซม.ทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์จึงนำลูกปลาไหลนาไปปล่อยลงเลี้ยง โดยปล่อยลูกปลาไหลนาที่มีขนาด 5 นิ้วในอัตรา 100 ตัว/บ่อหรือปล่อยลูกปลาจำนวน 3 กิโลกรัมต่อบ่อ เสริมด้วยการให้อาหารเม็ด ปลาสดสับละเอียดหรือตัวอ่อนแมลงน้ำ และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ 2 สัปดาห์ ระยะเวลาที่ใช้ในการเลี้ยงประมาณ6-8 เดือนจะได้ปลาไหลนาที่มีขนาด 3-5 ตัวต่อกิโลกรัม และใน 1 บ่อจะได้ผลผลิตประมาณ 20-30 กิโลกรัม ข้อควรระวังในการเลี้ยงปลาไหลนา- เนื่องจากปลาไหลนาเป็นปลาที่ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่ที่เงียบสงบ การมีสิ่งเร้าจะทำให้ปลาตกใจและหยุดกินอาหารได้- ในการปล่อยลูกปลาไหลนาลงเลี้ยง ถ้าเป็นลูกพันธุ์ปลาที่ได้จากการรวบรวมจากธรรมชาติ ก่อนนำมาเลี้ยงควรแช่ยาฆ่าเชื้อหรือกำจัดพยาธิเสียก่อน รวมทั้งต้องคัดขนาดปลาที่ปล่อยเลี้ยงให้มีขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุดในแต่ละบ่อ- ลูกปลาไหลนาที่มีขนาดความยาวประมาณ 10 ซม.จะเริ่มตายดังนั้นในระหว่างการเลี้ยงควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ- ปลาไหลนาที่มีขนาดความยาวประมาณ 10 ซม.จะพบว่ากล้ามเนื้อบริเวณโคนหางตาย ควรจับออกและมีการใส่ยากันเชื้อราบ้าง- อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาไหลควรผสมวิตามินรวม และนอกจากการผสมวิตามินในอาหารแล้วอย่างน้อยเดือนละครั้งควรมีการผสมยาถ่ายพยาธิด้วย- ทุกๆ 2 สัปดาห์ควรมีการคัดขนาดลูกปลาไหลนา โดยในบ่อเลี้ยงแต่ละบ่อควรมีขนาดของปลาไหลนาที่ใกล้เคียงกันเพื่อลดปัญหาการกินกันเองและบ่อเลี้ยงไม่ควรอยู่กลางแจ้ง

การเลี้ยงปลาหมอไทย

ปลาหมอไทย (Climbing perch) ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus (Bloch) เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือเรียกว่า ปลาแข็ง ภาคใต้ตอนล่างเรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกบูยู ชาวบ้านทั่วๆไปเรียกว่า รูปร่างลักษณะภายนอกปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำหรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน ลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยักแหลมคมใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ การเตรียมบ่อ1. สูบน้ำออกจากบ่อให้แห้งการสูบบ่อให้แห้งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อ หลังจากสูบบ่อแห้งแล้วหว่านปูนขาวในขณะที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน2. กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อจะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทย เช่น ปลาช่อน กบ งู ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา การที่มีพืชน้ำอยู่ในบ่อมากจะเป็นอุปสรรคต่อการให้อาหารและการวิดบ่อจับปลา3. การตากบ่อทำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความร้อนและแสงแดดเป็นการฆ่าเชื้อโรคและศัตรูปลาที่ฝังตัวอยู่ในดินใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์4. สูบน้ำเข้าบ่อสูบน้ำใส่บ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วันก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องใช้อวนไนล่อนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อเนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่ายโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตก5. การปล่อยปลาลงเลี้ยงและอัตราปล่อย5.1 การปล่อยปลานิ้วปล่อยปลาขนาด 2-3 เซนติเมตรในอัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร ควรปล่อยลูกปลาลงบ่อในช่วงเช้าหรือเย็น ระดับน้ำในบ่อไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตร ควรปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อ เพื่อป้องกันปลาตายปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงประมาณ 1 เดือน จึงเพิ่มน้ำในบ่อให้ได้ระดับ 1-1.5 เมตร5.2 การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อโดยการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้วจะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราความเข้มข้น ฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อปลา 1 กิโลกรัม จำนวน 1 ครั้ง แล้วจึงปล่อยให้ผสมพันธุ์วางไข่ในกระชังตาห่าง ซึ่งแขวนอยู่ในบ่อที่มีระดับน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร อัตราปลาเพศเมียต่อปลาเพศผู้เท่ากับ 1 ต่อ 1 ปริมาณน้ำหนักพ่อแม่ปลา 8-10 กิโลกรัม/ไร่ หรือประมาณ 40-75 คู่/ไร่ วันรุ่งขึ้นเมื่อปลาวางไข่หมดแล้ว จึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้นปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัวหลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง หรือให้อาหารพวกรำละเอียดผสมปลาบ่ออัตรา 1 ต่อ 1 เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกเล็กพิเศษหรือปลาสดจับละเอียดและเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น จนได้ขนาดตลาด อาหารและการให้อาหารปลาหมอไทยกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ การเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกในอัตรา 3-5% ของน้ำหนักตัววันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยช่วงแรกให้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปลาสดสับละเอียดเป็นเวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ การเปลี่ยนถ่ายน้ำจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพราะการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ทำให้ปลามีการกินอาหารดีขึ้นส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตดี ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน การจับปลาหมอไทยใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยจากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้นใช้สวิงจับปลาใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาดจนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด และจับปลาที่เหลืออยู่ตามพื้นบ่อขึ้นมาคัดขนาดหลังจากนั้นจึงตากบ่อให้แห้งและเตรียมบ่อเพื่อเริ่มต้นเลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป การจำหน่ายปลาหมอไทย1. ปลาขนาดใหญ่ ขนาด 6-10 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 55-60 บาท2. ปลาขนาดกลาง ขนาด 7-20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท3. ปลาขนาดเล็ก ขนาดมากกว่า 20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท การป้องกันและกำจัดโรค โรคจุดขาวอาการ ปลาจะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ตามลำตัวและครีบสาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดที่กินเซลผิวหนังเป็นอาหารการป้องกันและรักษา เนื่องจากปรสิตชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง การกำจัดได้ผลไม่เต็มที่วิธีที่ดีที่สุดคือ การทำลายตัวอ่อนในน้ำหรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ ใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง ปลาขนาดใหญ่หรือ 25-50 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมงและแยกปลาที่เป็นโรคออกจากบ่อ โรคจากเห็บระฆังอาการ ปลาจะเป็นแผลตามผิวหนังและเหงือกสาเหตุ เกิดจากเห็บระฆังเข้าไปเกาะตามลำตัวและเหงือกการป้องกันและรักษา ปลาตายในระยะเวลาอันสั้นและมีการติดต่อระหว่างบ่อที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน การกำจัดใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง โรคตกเลือดตามซอกเกล็ดอาการ ปลามีแผลสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัว โดยเฉพาะที่ครีบและซอกเกล็ดถ้าเป็นแผลเรื้อรังอาจมีอาการเกล็ดหลุดบริเวณรอบๆและด้านบนของแผลจะมีส่วนคล้ายสำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่สาเหตุ เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุกการป้องกันและรักษา1. ใช้เกลือเม็ด 5-10 กิโลกรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตรแช่ 48 ชั่วโมง2. ใช้ฟอร์มาลีน 25-40 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร หลังจากแช่ยาแล้วถ้าปลามีอาการไม่ดีขึ้นควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วัน จากนั้นใส่ยาซ้ำอีก 1-2 ครั้ง

การเลี้ยงปลากะโห้

การเลี้ยงปลากะโห้
ปลากะโห้ ( Catlocarpio siamensis ) มีชื่อสามัญว่า Giant carp เป็นปลาน้ำจืดตระกูลคาร์พที่ใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง มีเกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีเทาปนดำ หรือชมพูปนขาว ครีบมีสีแดง เป็นปลาที่อาศัยในแม่น้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ำในภาคกลางของประเทศไทย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำก่ำ แม่น้ำน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าหลวง แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง แต่แหล่งน้ำที่สามารถรวบรวมปลาชนิดนี้ได้มากนั้นได้แก่ ในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ขึ้นไป จนถึงเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท โดยเฉพาะในแหล่งน้ำลึกที่เรียกว่า" วัง " ได้แก่บริเวณตำบลบ้านแป้ง อ.พรหมบุรี ,ต.บ้านไร่ อ.เมือง, ต.วัดเสือข้าม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี, อ.สรรพยา จ.ชัยนาท นอกจากนี้ยังพบปลากะโห้ อาศัยอยู่ในหนอง บึงต่างๆที่มีน้ำท่วมถึง เช่น บึงบอระเพ็ด เป็นต้น การรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ พ่อแม่พันธุ์ปลากะโห้ สามารถรวบรวมได้จากธรรมชาติ ด้วยเครื่องมือข่ายปลากะโห้ เป็นข่ายที่มีช่องข่ายใหญ่มาก มีขนาดตา 35-45 ซม. ลึก 4-6 ม. ยาว 100-200 ม. โดยจะทำการรวบรวมในช่วงฤดูที่ปลากะโห้ผสมพันธุ์วางไข่ โดยวางขวางกับแม่น้ำ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม บริเวณที่จับพ่อแม่พันธุ์ได้มาก ได้แก่ บริเวณตั้งแต่ใต้เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ลงไปประมาณ 3-5 กม. ซึ่งเป็นแหล่งที่ปลากะโห้ว่ายน้ำขึ้นมาเพื่อผสมพันธุ์วางไข่การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ลักษณะเพศและลักษณะอื่นๆ ที่เด่นชัดในฤดูวางไข่ของพ่อแม่พันธุ์ปลากะโห้ คือ ปลาเพศผู้มีลำตัวขนาดเล็กและเรียวกว่าปลาเพศเมีย ส่วนท้องแบนเรียบ สีดำคล้ำกว่าตัวเมียและบริเวณรอบๆช่องเพศมีตุ่มขรุขระยื่นออกมา เมื่อบีบท้องเบาๆจะมีน้ำเชื้อไหลออกมาทางช่องเปิด ซึ่งมีรูปร่างกลมและเล็ก ส่วนปลาเพศเมียนั้น ขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ ลำตัวสั้น ป้อม ปลาเพศเมียที่ไข่แก่ ส่วนท้องจะเป่งและนิ่ม ช่องเปิดมีลักษณะเป็นรูปไข่ บวมนูน เปิดกว้าง และมีสีชมพูหรือแดงการเพาะพันธุ์ปลากะโห้โดยการผสมเทียมอุปกรณ์1. บ่อซีเมนต์ขนาด 50 ต.ร.ม. เพื่อพักพ่อแม่ปลาหลังจากฉีดฮอร์โมนครั้งที่ 1 และ 22. อุปกรณ์ในการผสมเทียม3. ถุงฟักไข่ เป็นรูปทรงกรวย ทำด้วยผ้ามุ้งไนลอนชนิดตาถี่ ปากถุงมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ซม. ลึกประมาณ 50 ซม.ที่ก้นถุงมีกรวยติดอยู่ เพื่อใช้สายยางต่อน้ำเข้าถุงฟักไข่ซึ่งแขวนเรียงในบ่อซีเมนต์4. กระชังมุ้งในล่อน ใช้ผ้าไนลอนตาถี่เย็บเป็นกระชังสี่เหลี่ยมขนาด 1.5-2.0 ม. ลึก 90 ซม. วางในบ่อซีเมนต์ เพื่อเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อน หลังจากที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆซึ่งย้ายมาจากถุงฟักไข่ฮอร์โมนและปริมาณฮอร์โมนที่ใช้ ในการเพาะปลากะโห้ด้วยวิธีฉีดฮอร์โมน ใช้ฮอร์โมน 2 ประเภทคือ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองปลากะโห้ และฮอร์โมนสังเคราะห์คอริโอนิค ( Chorionic Gonadotropin ) หรือเรียกสั้นๆว่า ซี.จี. สำหรับต่อมใต้สมองปลากะโห้จะเล็กมากปลาที่มีไข่และน้ำเชื้อที่สมบูรณ์ โดยทั่วไปต่อมมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. ซึ่งโตกว่าปลาชนิดอื่น ส่วน ซี.จี. เป็นส่วนผสมที่สกัดจากปัสสาวะหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ และต่อมใต้สมองส่วนหน้าของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีจำหน่ายในท้องตลาดสำหรับปริมาณฮอร์โมนที่ใช้ในการฉีด 2 ครั้ง อยู่ในระดับดังนี้ครั้งที่ 1 0.5-0.75 โดส ผสม ซี.จี. 50-100 หน่วยสากลครั้งที่ 2 1.5-2.0 โดส ผสมซี.จี. 150-250 หน่วยสากลการฉีดฮอร์โมน การเตรียมต่อมใต้สมองก่อนทำการฉีด นำต่อมใต้สมองมาบดในโกร่งบดต่อมผสมน้ำ กลั่นบริสุทธ์ 1 ซีซี. และผสมด้วยซี.จี. ใช้เข็มฉีดยาดูดสารละลายเข้าสู่หลอดตามปริมาณที่ต้องการเพื่อนำไปฉีดให้แม่ปลา สำหรับปลาเพศผู้ส่วนมากมีน้ำเชื้อดีแล้วก็ไม่ต้องฉีด ตำแหน่งที่ฉีด คือ บริเวณกล้ามเนื้อโคนครีบหู ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่มีเกล็ด เนื่องจากปลากะโห้มีเกล็ดขนาดใหญ่และหนายากต่อการที่จะฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อเหนือเส้นข้างตัวใต้ฐานครีบหลังเหมือนกับปลาทั่วไป ดังนั้นบริเวณโคนครีบหูจึงเหมาะที่สุดสำหรับการฉีด โดยการปักเข็มลงไปให้เกือบสุดเข็ม แล้วจึงปล่อยน้ำยา แล้วนำปลาไปพักไว้ในบ่อซีเมนต์ ซึ่งมีน้ำฉีดพ่นหรือให้อากาศอยู่ตลอดเวลา และช่วงเวลาในการฉีด ควรจะทำการฉีดในตอนเย็น เพื่อให้ปลาวางไข่ในตอนเช้าตรู่ โดยฉีด 2 ครั้ง ระยะห่างของครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ประมาณ 6-8 ชม. หลังจากฉีดครั้งที่ 2 แล้วประมาณ 6 ชม. จึงทำการตรวจสอบเพื่อทำการรีดไข่การรีดไข่ผสมน้ำเชื้อ หลังจากฉีดฮอร์โมนให้ปลาเพศเมียครั้งที่ 2 แล้วประมาณ 6 ชม. ทำการตรวจสอบแม่ปลา โดยจับบีบที่ท้องเบาๆตรงบริเวณส่วนต้นๆ ถ้าไข่สุกเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้แล้ว ไข่จะไหลพุ่งออกมาทางช่องเปิดอวัยวะเพศ นำแม่ปลามาเช็ดลำตัวให้แห้ง แล้วรีดไข่ลงในกะละมังที่เช็ดแห้งและสะอาด แล้วรีดน้ำเชื้อจากตัวผู้ผสมลงไป การผสมไข่กับน้ำเชื้อใช้วิธีแบบแห้ง แล้วเติมน้ำ โดยใช้ขนไก่คนไปมาเบาๆ ให้ไข่และน้ำเชื้อคลุกเคล้าผสมกันดี แล้วจึงเติมน้ำสะอาดพอท่วมไข่ ใช้ขนไก่คนอีกครู่แล้วเทน้ำทิ้ง ทำแบบนี้อีก 2-3 ครั้ง จนไข่สะอาด จึงนำไปฟักในถุงฟักไข่ที่เตรียมไว้ประมาณ 10,000-15,000 ฟองต่อถุงฟักไข่ 1 ถุง ไข่ปลากะโห้ จะมีลักษณะสีน้ำตาลเข้ม ขนาดของไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 มม.การฟักไข่ ไข่ปลากะโห้เป็นไข่ครึ่งจมครึ่งลอย เช่นเดียวกับไข่ปลาตะเพียน และไข่ปลาจีน ขณะยังไม่ถูกน้ำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 มม. หลังจากถูกน้ำแล้วไข่จะดูดน้ำเปลือกไข่จะขยายพองโต ภายในมีลักษณะคล้ายวุ้นอยู่โดยรอบไข่แดง ไข่จะโตขึ้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็น 3-4 เท่า ดังนั้นในการฟักไข่เพื่อให้ไข่ได้มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา จึงต้องใช้กรวยฟักไข่ที่มีน้ำผ่านเข้าในถุงฟักไข่ทางกรวยใต้ถุงโดยใช้สายยางต่อเข้าไป ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 11-13 ซม. ที่อุณหภูมิ 29-35 องศาเซลเซียส หลังจากที่ไข่ฟักตัวในถุงฟักไข่หมดแล้ว ต้องรีบย้ายลูกปลาไปอนุบาลในกระชังผ้ามุ้งไนล่อนหรือในตู้กระจกต่อไปการอนุบาลลูกปลากะโห้ ลูกปลากะโห้ที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆมีความยาวประมาณ 5-6 มม. มีถุงไข่แดงติดอยู่ ซึ่งจะยุบหมดภายใน 3 วัน หลังจากไข่แดงยุบแล้ว ลำตัวใส ยาว อวัยวะเพศยังไม่ครบทุกส่วน จนกว่า 13-15 วัน จึงจะมีอวัยวะครบทุกส่วน หลังจากนั้น 1 เดือน สีแดงตามครีบจะเห็นได้ชัด สำหรับอาหารลูกปลากะโห้ ในระยะที่ลูกปลาอายุได้ 3 วัน คือ หลังจากที่ถุงไข่แดงยุบควรให้อาหาร ไข่แดงต้มบดละเอียด ระยะนี้ลูกปลายังไม่กินไรน้ำ จนลูกปลาอายุได้ 7 วัน จึงเริ่มให้ไรน้ำ ซึ่งลูกปลาสามารถกินไรน้ำได้แล้ว และหลังจากลูกปลาอายุได้ 20 วัน จึงให้ตะไคร่น้ำด้วยในบางมื้อ เมื่อลูกปลาอายุได้ 1 เดือน ก็ย้ายลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้ สำหรับอาหารนั้นนิยมปรับปริมาณตามน้ำหนักปลา เช่น 5 วันแรก ให้อาหารน้ำหนักเท่ากับน้ำหนักปลา เมื่อปล่อย 5 วันที่ 2 และ 5 วันที่ 3 ให้อาหาร 2 เท่าและ 3 เท่าของน้ำหนักปลาที่ปล่อยตามลำดับ เป็นต้นประโยชน์ เป็นปลาที่เนื้อมีรสดี กล่าวกันว่าก้อนเนื้อที่เพดานปากเป็นส่วนที่มีรสดีที่สุด จนเป็นที่เลื่องลือกันว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาทรางโปรดเสวยเป็นที่สุด

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลาแรด

การเลี้ยงปลาแรด
พันธุ์ปลาแรด (Giant Gouramy) Osphronemus goramy (Lacepede) เป็นปลาน้ำจืด ขนาดใหญ่ของไทยชนิดหนึ่ง ปลาขนาดใหญ่ที่พบมีน้ำหนัก 6-7 กิโลกรัม ความยาว 65 เซนติเมตร เป็นปลาจำพวกเดียวกับปลากระดี่และปลาสลิด แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก มีเนื้อแน่นนุ่ม เนื้อมากไม่ค่อยมีก้าง รสชาติดี จึงได้รับความนิยมจากประชาชนผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอด เจี๋ยน ต้มยำ แกงเผ็ด ลาบปลา และน้ำยา ฯลฯ ในระยะหลังได้รับการจัดเป็นปลาจานในภัตตาคารต่าง ๆ หรือจะนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามก็ได้ สำหรับผู้เลี้ยง ปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเช่นเดียวกับปลาสลิดราคาค่อนข้างสูง มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมและโรคได้เป็นอย่างดี ให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนดีมีกำไรและไม่มีปัญหาเรื่องตลาด เป็นปลาที่เลี้ยงได้เป็นอย่างดีทั้งในบ่อและกระชัง มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว สามารถแพร่ขยายพันธุ์ในบ่อได้ โดยเลี้ยงเพื่อขาย เป็นปลาเนื้อหรือปลาสวยงาม
ปลาแรดสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามหรือเป็นอาหาร ซึ่งตลาดผู้บริโภคต้องการน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม
แหล่งกำเนิดพันธุ์ปลาแรด
ปลาแรดมีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งว่า "ปลาเม่น" มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย แถบหมู่เกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในประเทศไทยภาคกลาง พบตามแม่น้ำ ลำคลอง ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ ที่จังหวัดพัทลุงและแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฏร์ธานี ปัจจุบันปลาแรดที่อาศัย อยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนน้อยลง เนื่องจากแหล่งน้ำตื้นเขินขาดแหล่งวางไข่ และแหล่งเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนที่เหมาะสม การเลี้ยงปลาแรดในกระชังยังไม่แพร่หลาย มีอยู่เฉพาะบริเวณ แถบจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ส่วนการเลี้ยงปลาแรดในบ่อดินขนาดใหญ่ยังมีอยู่น้อย การเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงปลาแรดเป็นจำนวนมาก จะทำให้มีปลาแรดบริโภคกันอย่างกว้างขวาง และช่วยอนุรักษ์ปลาแรดมิให้สูญพันธุ์

กระชังเลี้ยงปลาแรด ซึ่งใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุ
อุปนิสัยพันธุ์ปลาแรด
ปลาแรดชอบอยู่ในน้ำนิ่งตื้น ๆ ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงและทะเลสาบ เป็นปลาที่ค่อนข้างตื่นตกใจง่ายแต่เชื่องช้า ผู้เลี้ยงสามารถฝึกหัดให้เชื่องได้ง่าย โดยวิธีการ ให้อาหาร ชอบอยู่ในที่เงียบสงัด มีพันธุ์ไม้น้ำที่มีอาหารสมบูรณ์ ปลาแรดที่ยังมีขนาดเล็ก มักจะทำอันตรายกันเอง เป็นปลาที่ค่อนข้างทรหดอดทน เมื่อจับขึ้นจากน้ำก็สามารถมี ชีวิตอยู่ได้นาน ๆ เพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ (accessory respiratory organ) มีลักษณะเป็นเยื่ออ่อน ๆ อยู่ในหัวตอนเหนือเหงือก โดยมีคุณสมบัติเก็บน้ำไว้หล่อเลี้ยง ให้ความชุ่มชื้นแก่เหงือกในเวลาที่ปลาขึ้นพ้นน้ำ ทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นานกว่าปกติ

ผลผลิตปลาแรด
รูปร่างพันธุ์ปลาแรด
ปลาแรดเป็นปลาในตระกูลเดียวกับปลาหมอไทย ปลาหมอตาล ปลากริม ปลากัดปลากระดี่นาง ปลากระดี่หม้อ ปลาสลิด ซึ่งปลาในครอบครัวนี้มีลักษณะเด่นคือ เป็นปลาที่ ค่อนข้างอดทน มีลำตัวสั้นป้อมและแบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก ปลาเล็กเฉียงขึ้นยึดหดได้ ฟันแข็งแรง เกล็ดใหญ่ ลำตัวมี น้ำตาลอ่อนหรือค่อนข้างเทา ครีบหลังครีบก้นยาวมาก ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบแข็ง 12-16 อัน ก้านครีบอ่อน 10-11 อัน ครีบก้นมีก้านครีบ แข็ง 9-13 อัน ก้านครีบอ่อน 17-18 อัน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ก้านครีบอ่อน 5 อัน ก้านครีบอ่อนคู่แรกของครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว ครีบหางกลม เกล็ดตาม เส้นข้างตัว 30-33 เกล็ด มีจุดดำที่โคนหาง 1 จุด สีดำจางเป็นแถบพาดขวางลำตัว ข้างละ 8 แถบ มีสีเงินรอบ ๆ จุดทำให้แลเห็นจุดเด่นขึ้น ลักษณะเช่นนี้ดูคล้ายกระดี่หม้อ แต่ปลากระดี่หม้อมีจุดดำข้างละ 2 จุด เมื่อโตมีนอที่หัว สีตอนบนของลำตัวค่อนข้างเป็น สีน้ำตาลปนดำ ตอนล่างมีสีเงินแกมเหลือง ส่วนจุดที่โคนหางจะเลือนหายไป
การสืบพันธุ์ของพันธุ์ปลาแรด
1. ลักษณะเพศ
ปกติปลาแรดเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จะเห็นได้ชัดก็ต่อเมื่อมีขนาดสมบูรณ์พันธุ์ คือ ตัวผู้จะมีนอ (Tubercle) ที่หัวของมันโหนกสูงขึ้นจนเห็นได้ปัดหัวโต ส่วนตัวเมียจะมีโหนกไม่สูงและที่ใต้ฐานของครีบอกตัวเมีย จะมีจุดสีดำ แต่ตัวผู้จะมีแต้มสีขาว ปลาแรดที่มีอายุเท่ากัน ปลาตัวผู้จะโตกว่าปลาตัวเมีย ปลาแรดจะเริ่มมีไข่เมื่ออายุ 2-3 ปี น้ำหนักประมาณ 2-4 กิโลกรัม แม่ปลาขนาด 3 กิโลกรัมจะมีไข่ 2,000-4,000 ฟอง แม่ปลาตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง/ปี

พ่อแม่พันธุ์ปลาแรดที่สมบูรณ์เพศ พร้อมที่จะผสมพันธุ์
2. การเพาะพันธุ์ปลาแรด
ปลาแรดสามารถวางไข่ได้ตลอดปี แต่จะมีไข่สูงใน ช่วง 7 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม ปลาแรดจะสร้างรังวางไข่ การเพาะพันธุ์ จึงควรใส่ฟางหรือหญ้าเพื่อให้ปลาแรดนำไปใช้ในการสร้างรัง รังจะมีลักษณะคล้ายรังนก และจะมีฝาปิดรัง ขนาดรังโดยทั่ว ๆ ไป มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 1 ฟุต ใช้เวลาสร้าง ประมาณ 1 สัปดาห์ การเพาะพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติในบ่อดิน บ่อเพาะพันธุ์ควรเป็น บ่อขนาดใหญ่ 1-2 ไร่ อัตราการปล่อยปลาตัวผู้ต่อตัวเมีย 1:2 จำนวน 100-150 คู่/ไร่ แม่ปลาขนาด 3 กิโลกรัมจะมีไข่ระหว่าง 2,000-4,000 ฟอง การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์ บริเวณพื้นบ่อมีสภาพเป็นโคลน ให้มีหญ้าและพันธุ์ ไม้น้ำขึ้นหนาสักหน่อย พร้อมทั้งหากิ่งไผ่ ผักให้จมอยู่ในน้ำเพื่อใช้เป็นที่สร้างรังพ่อแม่ปลา จะคอยระวังรักษาลูกอ่อนอยู่ใกล้ ๆ รังและจะพุ่งเข้าใส่ศัตรูที่มารบกวนอย่างเต็มที่ หรือ อาจใช้คอกที่สร้างขึ้นบริเวณตลิ่งที่เป็นคุ้งของลำแม่น้ำที่ไม่ไหลเชี่ยวมาก ใช้เพาะปลาแรด เช่นเดียวกับการเพาะในบ่อ
3. การฟักไข่พันธุ์ปลาแรด
ไข่ปลาแรดเป็นประเภทไข่ลอย (มีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน มีไขมันมาก กลิ่นคาวจัด ไม่มีเมือกเหนียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร) เมื่อ ปลาแรดวางไข่แล้วนำรังที่มีไข่ขึ้นมาแล้วคัดเฉพาะไข่ดี ควรช้อนคราบไขมันออกมิฉะนั้น แล้ว จะทำให้น้ำเสียและปลาติดเชื้อโรคได้ง่าย ต่อจากนั้นรวบรวมไข่ใส่ถังส้วมทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ระดับน้ำประมาณ 30-50 ซม. ให้เครื่องเป่าอากาศเบา ๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจนและใส่พืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง เพื่อช่วยในการดูดซับไขมันและให้ลูกปลาได้ยึดเกาะ หรือฟักไข่ในบ่ออนุบาลหรือฟักในกระชังผ้าโอล่อนแก้ว กระชังมีรูปร่าง สี่เหลี่ยมขนาด 2 x 1 x 0.5 ใช้หูเกี่ยวหรือโครงเหล็กถ่วงที่พื้นเพื่อให้กระปังดึงคงรูปอยู่ได้ ในระหว่างการฟักควรเพิ่มอากาศหรือน้ำลงในกระชังเพื่อไล่ไขมันที่ติดมากับไข่ออกได้ มากที่สุด ไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนภายใน 18-36 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 20-30 เซลเซียส เมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ ตัวอ่อนจะลอยหงายท้องอยู่และยึดติดกับพืชน้ำ ลูกปลาจะเริ่มกิน อาหารในวันที่ 5-7 โดยให้ไข่ชง อายุ 7-10 วัน ให้ไข่แดงต้มสุกละลายน้ำ ช่วงที่ให้ไข่เป็น อาหาร ควรให้ทีละน้อยในบริเวณที่ลูกปลารวมเป็นกลุ่ม อายุ 10-15 วัน จึงให้ไรแดง ลูกปลาแรด จะมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย เมื่ออายุได้ 4 เดือน
การอนุบาลพันธุ์ปลาแรด
บ่ออนุบาลลูกปลาควรมีขนาด 400-800 ตารางเมตร โดยปล่อยในอัตรา 100,000 ตัว/ไร่ ส่วนบ่อซีเมนต์ 5 ตัว/ตารางเมตร ในช่วง 10 วันแรกที่ลงบ่อดินให้ไรแดงเป็นอาหาร และ 10 วันต่อมาให้ไรแดงและรำผสมปลาป่นอัตราส่วน 1:3 สาดให้ทั่วบ่อ หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นอาหารต้มหรืออาหารเม็ดลอยน้ำวันละ ประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ อนุบาลจนกระทั่งลูกปลามีขนาด 3 นิ้ว เพื่อนำไปเลี้ยงเป็นปลาขนาดตลาดต้องการต่อไป ลูกปลา 1 เดือนจะมีขนาดยาวประมาณ 1 ซม. เดือนที่จะมีความยาว 2-3 ซม. ซึ่งจะเป็นขนาดลูกปลาที่จะนำไปเลี้ยงเป็นปลาโตต่อไป แหล่งพันธุ์ปลาแรด เนื่องจากการเพาะพันธุ์เพื่อจำหน่ายลูกยังมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติ
ลูกปลาแรดขนาดประมาณ 3 นิ้ว ซึ่งนำไปเลี้ยงเป็นปลาขนาดโตและปลาสวยงาม ราคาตัวละ 3-4 บาท
การเลี้ยงพันธุ์ปลาแรด
สถานที่เลี้ยงปลาแรดที่นิยมมี 2 ลักษณะคือ 1. การเลี้ยงในบ่อดิน 2. การเลี้ยงในกระชัง
1. การเลี้ยงพันธุ์ปลาแรดในบ่อดิน
อัตราการปล่อย 1 ตัว/ตารางเมตร ขนาดบ่อ ที่ใช้เลี้ยง 1-5 ไร่ จะใช้เวลาเลี้ยง 1 ปี ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กก. การเลี้ยงปลาแรดในบ่อ จะปล่อยปลาแรดลงเลี้ยงรวมกับปลากินพืชอื่น ๆ ในบ่อที่มีพืชน้ำหรือวัชพืชขึ้นเพื่อให้ ปลาแรดกินและเป็นการทำความสะอาดบ่อไปในตัว ปลาแรดชอบกินพืชน้ำ ไข่น้ำ แหน ผักพังพวย ผักบุ้ง เศษอาหารที่เหลือจาก โรงครัว แมลงในน้ำ ตัวหนอน ไส้เดือน และปลวกเป็นอาหาร การเลี้ยงปลาแรดเพื่อความสวยงาม นิยมเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ หรือตู้กระจกที่ไม่กว้างนัก เพราะปลาแรดสามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ในที่แคบได้ แต่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า นอกจากการเลี้ยงในดินแล้ว ยังนิยมเลี้ยงในกระชัง เช่น ที่แม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี
2. การเลี้ยงพันธุ์ปลาแรดในกระชัง
การเลี้ยงปลาแรดในกระชังได้รับความนิยมมากขึ้นโดยการเปลี่ยนจากกระชังไม้มาเป็นกระชังเนื้ออวน เหมาะสมกับภาวะปัจจุบันซึ่ง ขาดแคลนไม้ในการสร้างกระชัง ดังนั้นการเตรียมสถานที่เลี้ยงปลาในกระชังจะต้องสร้าง แพพร้อมทั้งมุงหลังคากันแดด แพที่สร้างใช้ไม้ไผ่มัดรวมกัน และเว้นที่ตรงกลางให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมเพื่อนำกระชังตาข่ายไปผูก กระชังตาข่ายกว้าง 3 วา ยาว 6 วา ลึก 1.8 เมตร กระชังขนาดดังกล่าวสามารถเลี้ยงปลาแรดขนาด 3 นิ้ว ได้ 3,000 ตัว การลงทุนสร้างแพ 1 หลัง และซื้อตาข่ายทำกระชัง 3 กระชัง เป็นเงิน 30,000 บาท
กระชังเลี้ยงปลาแรด ซึ่งใช้ไม้เนื้อแข็ง เป็นตัวกระชังมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี
กระชังเลี้ยงปลาแรด ซึ่งใช้ไม้เนื้อแข็ง เป็นโครงร่างกระชังส่วนตัวกระชังใช้วัสดุจำพวกไนลอน หรือโพลีเอทีลีน

ทุ่นลอยที่ช่วยพยุงให้กระชังลอยน้ำได้ จะใช้แพลูกบวบ หรือถังน้ำมันปลาแรดสามารถเลี้ยงเป็นปลาเนื้อ และปลาสวยงาม
โครงสร้างกระชังที่ใช้เลี้ยงพันธุ์ปลาแรด ประกอบด้วย
1. โครงร่างกระชัง ส่วนมากเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอาจทำด้วยไม้ไผ่ ไม้ท่อเหล็กชุบหรือท่อน้ำ พี.วี .ซี 2. ตัวกระชัง เป็นส่วนที่รองรับและกักกันสัตว์น้ำให้อยู่ในพื้นที่จำกัด วัสดุที่ใช้ ได้แก่ เนื้ออวนจำพวกไนลอน โพลีเอทีลิน หรือวัสคุจำพวกไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง 3. ทุ่นลอย เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพยุงให้กระชังสามารถลอยน้ำอยู่ได้ สามารถ รับน้ำหนักของตัวกระชัง สัตว์น้ำที่เลี้ยงและเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาที่ลงไปปฎิบัติงานบนกระชัง สำหรับอายุการใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ดังนี้ - กระชังไม้ไผ่ จะมีอายุการใช้งาน 1-2 ปี - กระชังไม้เนื้อแข็งจะมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี - กระชังอวน จะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-4 ปี บริเวณที่เหมาะสมแก่การวางกระชังนั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพดี น้ำมีคุณสมบัติเหมาะสมในการเลี้ยงปลา ห่างไกลจากแหล่งระบายน้ำเสียหรือน้ำทิ้งจาก โรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งน้ำนั้นไม่ควรมีปัญหาการเกิดโรคปลา
ข้อจำกัดของการเลี้ยงพันธุ์ปลาแรดในกระชัง
1. สภาพแวดล้อมในบริเวณที่ตั้งกระชังต้องเหมาะสม เช่น คุณภาพของน้ำ ต้องดีมีปริมาณออกซิเจนพอเพียง กระแสน้ำไหลในอัตราที่พอเหมาะและไม่เกิดปัญหา โรคปลาตลอดระยะเวลาที่เลี้ยง สถานที่ตึงกระชังควรตั้งอยู่ในบริเวณที่กำบังลมหรือ คลื่นแรง ในกรณีที่เกิดพายุหรือน้ำท่วมโดยเฉียบพลัน
2. ปลาที่ปล่อยเลี้ยงควรมีขนาดใหญ่กว่าตาหรือช่องกระชัง หากปลามีขนาดเล็ก หรือเท่ากับขนาดของช่องกระชัง ปลาจะลอดหนีจากกระชังไป หรือถ้าไม่ลอดก็จะเข้าไป ติดตายอยู่ในระหว่างช่องกระชังได้
3. ปลาที่เลี้ยงควรมีลักษณะรวมกินอาหารพร้อมๆ กันในทันทีที่ให้อาหาร เพื่อให้ปลากินอาหารให้มากที่สุดก่อนที่อาหารจะถูกกระแสน้ำพัดพาออกไปนอกกระชัง
4. ในกรณีที่แหล่งน้ำเลี้ยงผิดปกติ เช่น เกิดสารพิษ น้ำมีปริมาณมากหรือน้อยในทันที อาจจะเกิดปัญหากับปลาที่เลี้ยงยากต่อการแก้ไข หากประสบปัญหาดังกล่าวควรขนย้ายปลาไปเลี้ยงที่อื่น
อัตราการปล่อยพันธุ์ปลาแรด
จากการทดลองของสมประสงค์และคณะ (2534) รายงานว่าอัตราการปล่อย 2 ตัว ต่อตารางเมตร มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีที่สุด และให้ผลกำไรมาก คือเลี้ยงบ่อ ขนาด 400 ตารางเมตร ในช่วงระยะเวลา 8 เดือน จะได้กำไรประมาณ 4,000 บาท ถ้าปล่อยในบ่อขนาด 1 ไร่ อาจจะได้กำไรถึง 15,972.12 บาท ในช่วงเวลาเพียง 8 เดือน เท่านั้น
อาหารพันธุ์ปลาแรด
ปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร เมื่อยังมีขนาดเล็กชอบ กินอาหารพวกสัตว์เล็ก ๆ ได้แก่ แพลงก์ตอน ลูกน้ำ ปลวก ลูกกบ ลูกเขียด ตัวหนอน ส่วนปลาที่มีขนาดโตเต็มวัยชอบกินอาหารจำพวกผักบุ้ง แหนจอก ผักกระเฉด ใบมันเทศ ส่วนอ่อนของผักตบชวา ใบผักกาด ใบข้าวโพด สาหร่ายและหญ้าอ่อน นอกจากนี้ให้ อาหารประเภทรำต้ม ข้าวสุก เศษอาหาร กากมะพร้าวเป็นครั้งคราว ก็ให้ผลการเจริญ เติบโตดี ปลาแรดชอบมาก เหมาะสำหรับการขุนพ่อแม่ปลาในช่วงฤดูวางไข่และผสมพันธุ์ ปลาจะให้ไข่บ่อย และมีจำนวนเม็ดไข่มากขึ้นอีกด้วย อัตราส่วนอาหารสำเร็จสำหรับปลากินพืช โดยมีอาหารโปรตีนอย่างน้อย 18-25 %
การเจริญเติบโตของพันธุ์ปลาแรด
ลูกปลาแรดอายุ 3 เดือน จะมีความยาว 3-5 ซม. ลูกปลาแรดอายุ 6 เดือน จะมีความยาว 10-15 ซม. ปลาแรดที่มีอายุ 1 ปี จะมีความยาว 20-30 ซม.
การป้องกันพันธุ์ปลาแรด
ปลาแรดที่เลี้ยงในบ่อดินมักจะประสบปัญหาตัวปลามีกลิ่นโคลน แต่ถ้าเลี้ยงในกระชังจะไม่มีปัญหาดังกล่าว เนื่องจากน้ำจะถ่ายเทตลอดเวลา สำหรับการแก้ไขกลิ่นเหม็นโคลนในเนื้อปลา โดยการเปลี่ยนน้ำพร้อมทั้งควบคุมคุณภาพน้ำและอาหารที่เลี้ยงปลาในช่วงก่อนจับประมาณ 3 วัน

โรคและศัตรของพันธุ์ปลาแรด
โรค การเลี้ยงปลาแรดไม่ปรากฎว่ามีโรคระบาดร้ายแรง จะมีบ้างเมื่อลูกปลายังมีขนาดเล็ก คือ เชื้อรา
ศัตรู ปลาแรดเป็นปลาที่มีนิสัยเชื่องช้า จึงมักตกเป็นเหยื่อของปลาอื่นที่กินเนื้อเป็นอาหารซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาบู่ ปลากราย ปลากะสง นอกจากนี้มีกบ เขียด เต่า ตะพาบน้ำ และนกกินปลา เป็นต้น
การจำหน่ายพันธุ์ปลาแรด
ปลาที่มีอายุ 1 ปี จะน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดต้องการ ส่วนปลาที่มีอายุ 3 ปี ควรทำการคัดเลือกปลาที่มีความสมบูรณ์เพื่อเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์
การจับลำเลียงและขนส่งพันธุ์ปลาแรด
ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาจะขายลูกปลาให้แก่ผู้ซื้อไปเลี้ยงเป็นปลาใหญ่ 2 ขนาด คือ ปลาขนาด 2-3 ซม. ซึ่งใช้เวลาอนุบาล 1 เดือน และปลาขนาด 5-7 ซม. ใช้เวลา อนุบาล 2 เดือน ก่อนการขนส่งจะจับลูกปลามาพักไว้ในบ่อซีเมนต์หรือกระชังแล้วพ่นน้ำ เพิ่มออกซิเจน และงดอาหารประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้ลูกปลาเคยจนต่อการอยู่ในที่แคบ และขับถ่ายอาหารที่กินเข้าไปออกให้มากที่สุด การลำเลียงนิยมใช้ถุงพลาสติกขนาด ปริมาณ 20 ลิตร ใส่น้ำ 5 ลิตร บรรจุลูกปลาขนาด 2-3 ซม. ในอัตรา 500-2,000 ตัว/ถุงอัดออกซิเจน หากลูกปลาโตขนาด 5 ถึง 7 ซม. ควรใส่ปีบหรือถังลำเลียงในอัตรา 200-300 ตัว/ปีบ (น้ำ 10-15 ลิตร) ทั้งนี้ ในระหว่างการลำเลียงควรใส่ยาเหลืองในอัตรา 1-3 ส่วนในล้าน หรือ เกลือในอัตรา 0.1-0.2% เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและป้องกันเชื้อราที่ จะเกิดขึ้นเมื่อปลาเกิดบาดแผลในระหว่างการเดินทาง ก่อนปล่อยปลาลงในที่ใหม่ ต้อง แช่ถุงลำเลียงลูกปลาในน้ำประมาณ 15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิและสิ่งแวดล้อมให้กับลูกปลา
ต้นทุนและผลตอบแทนพันธุ์ปลาแรด
การเลี้ยงปลาแรดให้มีขนาดตลาดต้องการ ใช้ระยะเวลา 1 ปี ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม โดยการลงทุนประมาณ 30 บาท แต่สามารถจำหน่ายได้ 50-80 บาท เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนกับกำไร โดยลงทุน 12,479 บาท กำไร 4,000 บาท คิดเป็นเปอร์เซนต์จะได้กำไร 32 % ซึ่งเป็นเปอร์เซนต์ที่ค่อนข้างสูง

การเลี้ยงปลาสวาย

การเลี้ยงปลาสวายประเภทเลี้ยงชนิดเดียวนั้น ปัจจุบันมีการเลี้ยงอยู่ 2 วิธีคือเลี้ยงในบ่อดินและเลี้ยง ในกระชัง
1. การเลี้ยงปลาในบ่อดิน
การเลี้ยงปลาสวายในบ่อดินทำกันมากในภาคกลาง โดยเฉพาะในเขตจังหวัดนครสวรรค์ลงมาถึงสุพรรณบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร แต่ข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยง การให้อาหารตลอดจนการเจริญเติบโตค่อนข้างจะแตกต่างกันมาก ทั้งนี้เป็น เพราะมีปัจจัยอยู่หลายอย่างที่ทำให้มีข้อแตกต่างดังกล่าว เช่น น้ำและคุณสมบัติของน้ำที่ใช้เลี้ยง อาหารที่ใช้เลี้ยง วิธีการเลี้ยง และการจัดการ ตลอดจนการเอาใจใส่ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่สำคัญใน การเลี้ยงทั้งนั้น
อย่างไรก็ตามการเลี้ยงปลาสวาย ควรจะได้มีการพิจารณาหลักทั่ว ๆ ไปดังต่อไปนี้
1.1 ขนาดของบ่อและที่ตั้ง ควรเป็นบ่อขนาดใหญ่ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ขึ้นไปหรืออย่างน้อยไม่ควร ต่ำกว่า 400 ตารางเมตร ความลึกประมาณ 2 เมตร ที่ตั้งของบ่อควรใกล้แม่น้ำหรือลำคลองที่สามารถรับน้ำและ ระบายน้ำเข้าออกได้เมื่อต้องการ
1.2 การเตรียมบ่อ ใช้หลักการและวิธีการเดียวกับหลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่วไป
1.3 น้ำที่เอามาใส่ไว้ในบ่อ ต้องเป็นน้ำที่มีคุณสมบัติมีความเป็นกรด-ด่าง และปริมาณออกซิเจนเหมาะสม
1.4 การคัดเลือกพันธุ์ปลาสำหรับปล่อยลงบ่อเลี้ยงควรพิจารณาถือเอาหลักง่าย ๆ ดังนี้
- เป็นปลาที่สมบูรณ์ ไม่เป็นแผล ไม่แคระแกร็นหรือพิการ และปราศจากโรค
- เป็นปลาขนาดไล่เลี่ยกัน เพราะปลาที่โตแตกต่างกันจะรังแกกันและแย่งอาหาร สู้ตัวโตไม่ได้ เมื่อถึงเวลา จับขายทำให้มีปัญหา บางทีต้องคัดทำการเลี้ยงต่อไปหรือบางทีมีอุปสรรคในการเลี้ยง
1.5 อัตราการปล่อย ปลาที่ปล่อยควรมีขนาดค่อนข้างโต หรือขนาด 5 - 12 ซม. อัตราการปล่อย 2 - 3 ตัว/ ตารางเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณณและคุณภาพของอาหาร และความอุดมสมบูรณ์ของน้ำที่ใช้เลี้ยง
1.6 อาหาร ปลาสวายเป็นปลากินอาหารได้ทุกประเภทโดยไม่เลือก ซึ่งได้แก่พืช สัตว์เล็ก ๆ อยู่ในน้ำ เช่น พวกแมลง ไส้เดือน หนอนและตะไคร่น้ำ ตลอดจนพวกจอกแหนและผักที่กินใบ นอกจากนั้นปลาสวายยังมีความ สามารถในการใช้มูลสัตว์จำพวกหมู ไก่ และจำพวก วัว ควาย ให้เป็นอาหารโดยตรงได้อีกด้วย เพราะเหตุนี้เอง ปลาสวายจึงเป็นปลาที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นปลาเลี้ยงแบบไร่ผสมหรือเรียกว่าแบบผสมผสานชนิดหนึ่งที่ได้รับ ความนิยมอย่างกว้างขวาง
การหาวัสดุมาใช้เป็นอาหารของปลาสวายเป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งของการเลี้ยงปลาสวายเพราะในการเลี้ยง ปลาสวายให้มีความสำเร็จหรือให้ได้ผลกำไรนั้นอยู่ที่การหาวัสดุมาใช้เป็นอาหาร ถ้าหากการหาวัสดุมาได้ด้วยราคา ถูก การเลี้ยงปลาก็ได้กำไร และในทางตรงกันข้ามถ้าวัสดุอาหารหาได้ด้วยราคาแพงก็จะได้กำไรน้อยหรือขาดทุน
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาสวายในเขตชานเมืองของกรุงเทพมหานครปทุมธานี และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตปลาสวาย ส่วนใหญ่จะได้มาจาก
- เศษอาหารจากภัตตาคารและร้านค้า
- พวกมูลสัตว์ หรืออาหารจากส่วนที่ย่อยไม่หมดของกระเพาะและลำไส้ของโค กระบือและสุกรจาก โรงฆ่าสัตว์
- เศษผักจากสวนผักซึ่งผู้ทำสวนผักตัดและคัดทิ้ง
- เศษผักจากตลาดสดที่ถูกตัดทิ้ง ตลอดจนเศษเครื่องในและเหงือกปลาที่แม่ค้าในตลาดควักออกทิ้ง
- เศษมันเส้น (จากมันสำปะหลัง) หรือมันเส้น หรือหัวมัน ตลอดจนใบมัน โดยเฉพาะใบมันอาจโยนให้ โดยตรงหรือต้มผสมกับวัสดุอื่นให้กิน
1.7 การเจริญเติบโต การเลี้ยงปลาสวายในบ่อดินจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 8-12 เดือน ปลาสวายจะมีขนาด 1 - 1.5 กก. ซึ่งเป็นขนาดที่จำหน่ายได้ใ นท้องตลาดทั่ว ๆ ไป
1.8 การจับ หากทำการจับปลาจำนวนน้อย ให้ใช้แหหรือสวิงแต่ถ้าจำนวนมาก ควรใช้อวนหรือเฝือกสุกล้อม หากเป็นบ่อขนาดใหญ่ให้แบ ่งตอนของบ่อด้วยเฝือกหรืออวนก่อน แล้วใช้อวนล้อมสกัดจับส่วนที่ต้องการ ออก เพื่อไม่ให้ปลาในบริเวณที่เหลือมีอาการตื่นตกใจตามไปด้วย
1.9 ผลผลิต ปลาที่เลี้ยงในบ่อดินจะมีผลผลิตในระยะ 8 - 12 เดือน ประมาณ 4,000 - 6,000 กก./ไร่ ทั้งนี้แล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของอาหารที่ให้และน้ำที่ใช้เลี้ยง
การแก้ปัญหากลิ่นสาบโคลนของปลาสวายที่เลี้ยงในบ่อ
จากการเลี้ยงปลาสวายในบ่อโดยเฉพาะที่เลี้ยงอย่างหนาแน่นนั้น มักจะมีกลิ่นสาบโคลนเมื่อนำมาทำเป็น อาหาร การแก้ปัญหากลิ่นสาบโคลนมีดังนี้
- ถ่ายเทน้ำที่เลี้ยงปลาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก่อนจะนำปลาสวายไปจำหน่ายหรือทำอาหาร
- ก่อนจะนำไปจำหน่ายหรือทำอาหาร ควรจับปลาหรือถ่ายปลาจากบ่อใหม่ที่มีน้ำสะอาดและถ่ายเทได้ พอสมควร แล้วให้อาหารจำพวกปลายข้าวต้มผสมรำก่อนนำไปจำหน่าย 2 - 3 วัน จะทำให้ปลามีกลิ่นดีขึ้นเมื่อ ทำอาหาร
2. การเลี้ยงปลาในกระชัง
การเลี้ยงปลาสวายในกระชังนั้น เป็นการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูงกว่าการเลี้ยงในบ่อดิน เป็นการเลี้ยงที่ได้รับ ความนิยมอย่างมาก จากราษฎรที่อาศัยเรือนแพในแม่น้ำ ลำคลองแถบภาคกลาง เช่น จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ หลักเกณฑ์การเลี้ยงปลาสวายในกระชังมีดังนี้
1. ที่ตั้งของกระชัง ควรตั้งในแหล่งน้ำจืดที่มีน้ำไหลถ่ายเทได้ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หากจะเลี้ยงในอ่างเก็บน้ำควรตั้งกระชังให้อยู่ในบริเวณตอนบนของอ่าง ซึ่งมีกระแสน้ำพอที่จะช่วยถ่ายเทของเสียจากกระชังได้บ้างก็จะเป็นการดี
2. วัสดุที่ใช้สร้างกระชัง ส่วนใหญ่นิยมทำด้วยไม้เนื้อแข็ง และจะมีอยู่บ้างที่ยังใช้ไม้ไผ่สานทำเป็นกระชัง นอกจากนั้นก็มีการใช้เนื้ออวนโพลีเอททีลิน แต่ยังไม่แพร่หลายมากนัก ในการใช้วัสดุพยุงกระชังให้ลอยน้ำนั้นนิยม ใช้ไม้ไผ่มัดเป็นแพลูกบวบ
3. ขนาดของกระชัง ส่วนใหญ่ถ้าเป็นกระชังไม้หรืออวนจะมีขนาด 8 - 15 ตารางเมตร ลึก 1.25 - 1.50 เมตร และถ้าเป็นไม้ไผ่สานจะมีขนาด 2 x 5 x 1.5 เมตร
4. อัตราการปล่อย ปลาที่ปล่อยเลี้ยงในกระชังขนาด 7 - 12 ซม. ปล่อยในอัตรา 100 - 200 ตัว/ตารางเมตร
5. อาหารและการให้อาหาร ใช้อาหารและส่วนประกอบของอาหารที่เลี้ยงในบ่อ แต่มีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการให้อาหารปลาที่เลี้ยงในกระชังนั้น อาหารอาจจะฟุ้งกระจายขณะที่ปลาสวายแย่งกันกินอาหาร จะมีส่วนสูญเสียอยู่จำนวนหนึ่งอาจแก้ไขได้โดยใส่สารเหนียวผสมในอาหารที่ให้ควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ในปริมาณ 3 - 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว
6. การเจริญเติบโต ขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของอาหารที่ให้ หากเป็นกระชังขนาดประมาณ 10 ตารางเมตร ลึก 1.25 เมตร ปล่อยปลา 150 - 200 ตัว/ตารางเมตร ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 1 ปี จะให้ผลผลิตประมาณ 1,500 กก./กระชัง
7. การจับและลำเลียงส่งตลาด การจับปลาสวายที่เลี้ยงในกระชังนั้น ทำง่าย ๆ แบบใช้อวนล้อมจับในกระชังซึ่งง่ายกว่าการ จับในบ่อมาก
การลำเลียงทางบกเพื่อให้ได้ปลามีชีวิตไปขายในตลาด ทำได้ง่าย ๆ โดยรถยนต์โดยเฉพาะรถปิกอัพ ใช้ ถังสี่เหลี่ยมขังน้ำประมาณเพียงเพื่อให้ท่วมปลา แล้วใช้อวนปิดถัง การลำเลียงแบบนี้ควรทำตอนเช้ามืดหรือ กลางวันซึ่งมีอากาศเย็นจะได้ผลดีมาก

โดยปกติปลาสวายมักจะไม่ค่อยเป็นโรคมากนัก โรคที่พอจะพบได้บ้างคือ
1. โรคที่เกิดจากพยาธิ “อิ๊ค” (Ichthyophthirius sp.) เกิดได้กับปลาทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จัดว่า เป็นโรคที่ทำความเสียหายให้แก่ผู้เลี้ยงปลามากที่สุด เนื่องจากตัวเต็มวัยของพยาธิอยู่ใต้ผิวหนังของปลาและดูดเลือดกินเป็นอาหาร ปลาที่เป็นโรคชนิดนี้จะปรากฎจุดสีขาวกระจายไปทั่วลำตัว มีเมือกหลุดออกมา และมีอาการเฉื่อยชา โรคนี้มักเกิดจากการเลี้ยงปลาหนาแน่นมากเกินไป อาหาร คุณภาพ และปริมาณไม่พอเพียง อุณหภูมิต่ำ ถ้าพบว่า ปลาตัวใดเป็นโรคนี้ ให้รีบใช้ยากำจัดทันที ก็สามารถป้องกันการระบาดของโรคได้ เพราะอิ๊คเข้าทำลายตัวปลาไม่พร้อมกัน
วิธีแก้ไข
ก. แช่ปลาในน้ำยาฟอร์มาลิน (Formalin) เข้มข้น 25 ส่วนในล้านส่วน โดยแช่วันเว้นวัน
ข. แช่ปลาที่เป็นโรคใช้น้ำยาเมททีลีนบลู (Methylene blue) เข้มข้น 200 ส่วนในล้วนส่วน ประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วย้ายมาขังไว้ในบ่อที่มีน้ำสะอาดประมาณ 2 - 3 วัน จุดขาว ๆ จะค่อย ๆ หายไปเอง
ค. แช่ปลาในสารละลายไนโตรฟูราโซน ความเข้มข้น 1 กรัมต่อน้ำ 40 ลิตร นานประมาณ 2 - 3 วัน
ง. แช่ปลาในสารละลายออรีโอมัยซิน ความเข้มข้นน 15 มิลลิกรัมต่อน้ำ/ลิตร นานประมาณ 4 วัน
2. โรคที่เกิดจากพยาธิ “ทริโคตินา” Trichodina sp.) ส่วนมากเป็นกับปลาขนาดเล็ก พยาธิชนิดนี้จะเกาะ อยู่ตามบริเวณลำตัว ครีบ ซี่เหงือก อาการที่ปรากฎคือ มีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบาง ๆ ปกคลุมบริเวณดังกล่าวทำให้ ปลามีอาการเฉื่อยชา ไม่ค่อยกินอาหารและจะตายในที่สุด
วิธีกำจัดทำได้หลายวิธี เช่น
ก. แช่ปลาในน้ำเกลือเข้มข้น 3% เมื่อปลามีอาการกระวนกระวายแล้วจึงเปลี่ยนน้ำใหม่
ข. แช่ปลาในน้ำยาฟอร์มมาลินเข้มข้น 25 ส่วนในล้านส่วน
ค. แช่ปลาในสารละลายด่างทับทิม 3 ส่วนในล้านส่วน
3. โรคท้องบวม เกิดกับปลาสวายทุกชนิด อาการที่ปรากฏคือ ส่วนท้องของปลาจะบวมออกมาเห็นได้ ชัดเจน ทำให้ปลามีการเคลื่อนไหวช้าลงและตายในที่สุดเช่นกัน การรักษาที่ได้ผล คือ การถ่ายน้ำ และใส่เกลือลงในบ่อปลา
4. โรคที่เกิดจากพยาธิ “แดดทีโลไยรัล” (Dactylogyrus sp.) หรือพวกพยาธิตัวแบน เกิดกับปลาทุกขนาดที่เป็นโรคนี้จะมีอาการหายใจไม่สะดวก เพราะพยาธิจะเข้าเกาะและทำลายซี่เหงือกปลา การกำจัดทำได้โดยการใช้ น้ำยาฟอร์มาลิน 50 ส่วนในล้านส่วนหรือสารละลายดิพเทอร์เร็กซ์ 0.25 ส่วนในล้านส่วนก็ได้ผลเช่นเดียวกัน และ การใช้ตัวยาเข้มข้นในระดับนี้หากปลาที่ใส่ลงแช่ในน้ำยามีอาการทุรนทุราย ควรรีบจับปลาไปปล่อยไว้ในน้ำ ธรรมชาติต่อไป มิฉะนั้นปลาอาจตายได้โดยทั่วไปจะแช่ไม่เกิน 10 - 15 นาที ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับน้ำและอุณหภูมิ ของน้ำที่ใส่แช่ หากอุณหภูมิสูง น้ำมีปริมาณน้อย ก็ต้องใช้ระยะเวลาน้อยกว่านี้
หมายเหตุ อัตราส่วน 1 ส่วนในล้านส่วน หมายถึง น้ำยา 1 ซีซี ต่อปริมาณน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือ 1,000 ลิตร
5. โรคหูดเม็ดข้าวสาร ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีตุ่มสีขาวขุ่นอยู่ตามลำตัวลักษณะคล้ายเม็ดข้าวสาร มักพบใน กรณีที่มีการปล่อยปลาเลี้ยงอย่างหนาแน่น และการถ่ายเทน้ำไม่สะดวก ปลาจะมีอาการผอมไม่กินอาหาร และทยอย ตาย สาเหตุของโรคนี้เกิดจากเชื้อสปอร์โรซัวขนาดเล็ก ชนิดของปลาที่มีรายงานว่าเป็นโรคนี้ ได้แก่ ปลาดุก สวาย
การป้องกันและรักษา
1. อย่าปล่อยปลาแน่นเกินไป และควรทำการถ่ายเทน้ำในบ่อปลาอย่างสม่ำเสมอ
2. ถ้าพบปลาเป็นโรคควรเผาหรือฝังเสีย เพื่อป้องกันการระบาดของโรค
3. เมื่อปลาเป็นโรคแล้วไม่มีทางรักษา
4. ถ้านำปลาที่เป็นโรคในขั้นไม่รุนแรงมากมาเลี้ยงในที่ที่มีน้ำถ่ายเทสะดวก และในอัตราที่ไม่หนาแน่นมาก ปลาก็อาจจะหายจากโรคได้เองบางส่วน

การเลี้ยงปลาหมอไทย

การเลี้ยงปลาหมอไทย
ปลาหมอไทย (Climbing perch) ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus (Bloch) เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือเรียกว่า ปลาแข็ง ภาคใต้ตอนล่างเรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกบูยู ชาวบ้านทั่วๆไปเรียกว่า รูปร่างลักษณะภายนอกปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำหรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน ลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยักแหลมคมใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ การเตรียมบ่อ1. สูบน้ำออกจากบ่อให้แห้งการสูบบ่อให้แห้งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อ หลังจากสูบบ่อแห้งแล้วหว่านปูนขาวในขณะที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน2. กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อจะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทย เช่น ปลาช่อน กบ งู ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา การที่มีพืชน้ำอยู่ในบ่อมากจะเป็นอุปสรรคต่อการให้อาหารและการวิดบ่อจับปลา3. การตากบ่อทำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความร้อนและแสงแดดเป็นการฆ่าเชื้อโรคและศัตรูปลาที่ฝังตัวอยู่ในดินใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์4. สูบน้ำเข้าบ่อสูบน้ำใส่บ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วันก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องใช้อวนไนล่อนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อเนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่ายโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตก5. การปล่อยปลาลงเลี้ยงและอัตราปล่อย5.1 การปล่อยปลานิ้วปล่อยปลาขนาด 2-3 เซนติเมตรในอัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร ควรปล่อยลูกปลาลงบ่อในช่วงเช้าหรือเย็น ระดับน้ำในบ่อไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตร ควรปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อ เพื่อป้องกันปลาตายปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงประมาณ 1 เดือน จึงเพิ่มน้ำในบ่อให้ได้ระดับ 1-1.5 เมตร5.2 การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อโดยการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้วจะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราความเข้มข้น ฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อปลา 1 กิโลกรัม จำนวน 1 ครั้ง แล้วจึงปล่อยให้ผสมพันธุ์วางไข่ในกระชังตาห่าง ซึ่งแขวนอยู่ในบ่อที่มีระดับน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร อัตราปลาเพศเมียต่อปลาเพศผู้เท่ากับ 1 ต่อ 1 ปริมาณน้ำหนักพ่อแม่ปลา 8-10 กิโลกรัม/ไร่ หรือประมาณ 40-75 คู่/ไร่ วันรุ่งขึ้นเมื่อปลาวางไข่หมดแล้ว จึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้นปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัวหลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง หรือให้อาหารพวกรำละเอียดผสมปลาบ่ออัตรา 1 ต่อ 1 เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกเล็กพิเศษหรือปลาสดจับละเอียดและเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น จนได้ขนาดตลาด อาหารและการให้อาหารปลาหมอไทยกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ การเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกในอัตรา 3-5% ของน้ำหนักตัววันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยช่วงแรกให้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปลาสดสับละเอียดเป็นเวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ การเปลี่ยนถ่ายน้ำจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพราะการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ทำให้ปลามีการกินอาหารดีขึ้นส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตดี ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน การจับปลาหมอไทยใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยจากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้นใช้สวิงจับปลาใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาดจนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด และจับปลาที่เหลืออยู่ตามพื้นบ่อขึ้นมาคัดขนาดหลังจากนั้นจึงตากบ่อให้แห้งและเตรียมบ่อเพื่อเริ่มต้นเลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป การจำหน่ายปลาหมอไทย1. ปลาขนาดใหญ่ ขนาด 6-10 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 55-60 บาท2. ปลาขนาดกลาง ขนาด 7-20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท3. ปลาขนาดเล็ก ขนาดมากกว่า 20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท การป้องกันและกำจัดโรค โรคจุดขาวอาการ ปลาจะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ตามลำตัวและครีบสาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดที่กินเซลผิวหนังเป็นอาหารการป้องกันและรักษา เนื่องจากปรสิตชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง การกำจัดได้ผลไม่เต็มที่วิธีที่ดีที่สุดคือ การทำลายตัวอ่อนในน้ำหรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ ใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง ปลาขนาดใหญ่หรือ 25-50 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมงและแยกปลาที่เป็นโรคออกจากบ่อ โรคจากเห็บระฆังอาการ ปลาจะเป็นแผลตามผิวหนังและเหงือกสาเหตุ เกิดจากเห็บระฆังเข้าไปเกาะตามลำตัวและเหงือกการป้องกันและรักษา ปลาตายในระยะเวลาอันสั้นและมีการติดต่อระหว่างบ่อที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน การกำจัดใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง โรคตกเลือดตามซอกเกล็ดอาการ ปลามีแผลสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัว โดยเฉพาะที่ครีบและซอกเกล็ดถ้าเป็นแผลเรื้อรังอาจมีอาการเกล็ดหลุดบริเวณรอบๆและด้านบนของแผลจะมีส่วนคล้ายสำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่สาเหตุ เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุกการป้องกันและรักษา1. ใช้เกลือเม็ด 5-10 กิโลกรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตรแช่ 48 ชั่วโมง2. ใช้ฟอร์มาลีน 25-40 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร หลังจากแช่ยาแล้วถ้าปลามีอาการไม่ดีขึ้นควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วัน จากนั้นใส่ยาซ้ำอีก 1-2 ครั้ง

การเลี้ยงปลาช่อน

การเลี้ยงปลาช่อน
ชื่อไทย ช่อน (ภาคกลางและภาคใต้ ) , ค้อ ( ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ) ชื่อสามัญ STRIPED SNAKE-HEAD FISHชื่อวิทยาศาสตร์ Channa striatus ปลาช่อนเป็นปลาพื้นเมืองของไทย พบอาศัยแพร่กระจายทั่วไปตามแหล่งน้ำทั่วทุกภาคของไทย อาศัยอยู่ในแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ หนองและบึง ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่มีมาหลายร้อยพันปีแล้วนอกจากจะพบในประเทศไทยยังมีแพร่หลายในประเทศจีน อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือว่าการเลี้ยงปลาช่อนในประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีประมาณ 40 ปีมาแล้ว โดยชาวจีนที่ตลาดบางลี่ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นนายทุนได้รวบรวมลูกพันธุ์จากแหล่งน้ำธรรมชาติในเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง มาทดลองเลี้ยงดูและเห็นว่าพอเลี้ยงได้จึงออกทุนให้กับคนญวนที่มี ภูมิลำเนาติดกับแม่น้ำท่าจีนและคลองสองพี่น้องในตำบลสองพี่น้อง ตำบลต้นตาล โดยสร้างกระชังในล่อนแล้วแต่ขนาดและความเหมาะสม นำลูกปลาช่อนมาลงเลี้ยง โดยผลผลิตที่ได้นายทุนจะรับซื้อเอง แต่ทำได้ไม่นานก็ต้องเลิกเพราะเกษตรกรบางรายนำลูกปลาช่อนไปลองเลี้ยงในบ่อดินและพบว่าได้ผลดีกว่าและต้นทุนต่ำกว่า และปริมาณลูกปลาช่อนที่ได้รับก็มีจำนนวนมากกว่าลักษณะทั่วไป ปลาช่อนเป็นปลามีเกล็ด ลำตัวอ้วนกลมและยาวเรียว ท่อนหางแบนข้าง หัวแบนลง เกล็ดมีขนาดใหญ่และเกล็ดตามลำตัวเป็นสีเทาจนถึงน้ำตาลอมเทา ปากกว้างมาก มุมปากยาวถึงตา ริมฝีปากล่างยื่นยาวกว่าริมฝีปากบน มีฟันซี่เล็กๆอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ตามีขนาดใหญ่ ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังและครีบก้นยาวจนเกือบถึงโคนหาง ครีบหลังมีก้านครีบ 38-42 อัน ครีบก้นมีก้านครีบ 24-26 อัน ครีบอกมีขนาดใหญ่ ครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบหางกลม โคนครีบหางแบนข้างมาก ลำตัวส่วนหลังมีสีดำ ท้องสีขาว ด้านข้างลำตัวมีลายดำพาดเฉียง เกล็ดตามเส้นข้างลำตัวมีจำนวน 49-55 เกล็ด และมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ ปลาช่อนจึงมีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี อยู่ในที่ชื้นๆได้นาน และสามารถเคลื่อนไหวไปมาบนบกหรือฝังตัวอยู่ในโคลนได้เป็นเวลานานๆการแพร่ขยายพันธุ์และการวางไข่ ปลาช่อนสามารถวางไข่ได้เกือบตลอดทั้งปี สำหรับฤดูกาลผสมพันธุ์วางไข่จะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-ตุลาคม แต่ช่วงที่แม่ปลามีความพร้อมมากที่สุดในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ในฤดูวางไข่จะเห็นความแตกต่างระหว่างปลาเพศผู้กับปลาเพศเมียได้ชัดเจนยิ่งขึ้น กล่าวคือ ปลาเพศเมียลักษณะท้องจะอูมเป่ง ช่องเพศขยายใหญ่มีสีชมพูปนแดง ครีบท้องกว้างสั้น ส่วนปลาเพศผู้ลำตัวมีสีเข้ม ใต้คางมีสีขาว ลำตัวยาวเรียวกว่าตัวเมีย พ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ควรมีน้ำหนักตัวประมาณ 800-1,000 กรัม ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติปลาช่อนจะสร้างรังวางไข่ตามแหล่งน้ำนิ่ง ความลึกประมาณ 30-100 เซนติเมตร โดยปลาตัวผู้จะเป็นผู้สร้างรังด้วยการกัดหญ้าหรือพันธุ์ไม้น้ำ และใช้หางโบกพัดตลอดเวลา เพื่อทำให้รังมีลักษณะเป็นวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30-40 เซนติเมตร ปลาจะกัดหญ้าที่บริเวณกลางๆของรัง ส่วนดินใต้น้ำปลาก็จะตีแปลงจนเรียบ หลังจากที่แม่ปลาวางไข่แล้ว พ่อแม่ปลาจะคอยรักษาไข่อยู่ใกล้ๆเพื่อมิให้ปลาหรือศัตรูอื่นเข้ามากิน จนกระทั่งไข่ฟักออกเป็นตัว ในช่วงนี้พ่อแม่ปลาก็ยังให้การดูแลพาลูกหาอาหาร เมื่อลูกปลามีขนาด 4.5-6 เซนติเมตร จึงสามารถแยกตัวออกไปหากินตามลำพังได้ ซึ่งลูกปลาในวัยนี้มีชื่อเรียดว่า ลูกครอกหรือลูกชักครอก ลูกปลาขนาดดังกล่าวน้ำหนักเฉลี่ย 0.5 กรัม ปลา 1 กิโลกรัมจะมีลูกครอกประมาณ 2,000 ตัว ซึ่งลูกครอกระยะนี้จะมีเกษตรกรผู้รวบรวมลูกปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติจับมาจำหน่ายให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเนื้อการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ปลาช่อนที่นำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ควรเป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะสมบูรณ์ ไม่บอบช้ำและมีน้ำหนักตั้งแต่ 800-1,000 กรัมขึ้นไปและอายุ 1 ปีขึ้นไป ลักษณะของพ่อแม่พันธุ์ปลาช่อนที่ดี เหมาะสมจะนำมาใช้ผสมพันธุ์ แม่พันธุ์ควรมีส่วนท้องอูมเล็กน้อย ลักษณะติ่งเพศมีสีแดงหรือชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบาๆที่ท้องจะมีไข่ไหลออกมามีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน ใส ส่วนพ่อพันธุ์ติ่งเพศควรจะมีสีชมพูเรื่อๆ ปลาไม่ควรจะมีรูปร่างอ้วนหรือผอมจนเกินไปการเพาะพันธุ์ปลาช่อน ในการเพาะพันธุ์ปลาช่อนต้องเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ บ่อเพาะพันธุ์ควรมีระดับความลึกของน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร และมีการถ่ายเทน้ำบ่อยๆเพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดี มีการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ให้สมบูรณ์ซึ่งจะทำให้พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อนมีน้ำเชื้อและไข่ที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้นการเพาะพันธุ์ปลาช่อน ทำได้ 2 วิธีคือ 1. การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ วิธีนี้ควรใช้บ่อเพาะพันธุ์เป็นบ่อดินขนาด 0.5-1.0 ไร่พร้อมทั้งจัดสภาพสิ่งแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติโดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในอัตรา 1:1ให้ปลาเป็ดผสมรำเป็นอาหารในปริมาณร้อยละ 2.5-3 ของน้ำหนักปลา 2. การเพาะพันธุ์โดยวิธีการผสมเทียมด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่เพื่อที่รีดไข่ให้ผสมกับน้ำเชื้อ หรือปล่อยให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใช้ได้แก่ LHRHa หรือ LRH-a โดยใช้ร่วมกับ Domperidone การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาช่อนโดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ฉีดเร่งให้แม่ปลาวางไข่นั้นฉีดเพียงครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 30 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัมร่วมกับ Domperidone 10 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม ส่วนพ่อพันธุ์ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 15 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัมร่วมกับ Domperidone 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัม จากนั้นประมาณ 8-10 ชั่วโมงสามารถรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้ เนื่องจากไข่ปลาช่อนมีไขมันมากเมื่อทำการผสมเทียมจึงต้องล้างน้ำหลายๆครั้งเพื่อขจัดคราบไขมัน นำไข่ไปฟักในถังไฟเบอร์กลาสขนาด 2 ตันภายในถังเพิ่มออกซิเจนผ่านหัวทรายโดยเปิดเบาๆในกรณีที่ปล่อยให้พ่อแม่ปลาผสมพันธุ์กันเอง หลังจากที่แม่ปลาวางไข่แล้วต้องแยกไข่ไปฟักต่างหากเช่นกันการฟักไข่ ไข่ปลาช่อนมีลักษณะกลมเล็ก เป็นไข่ลอย มีไขมันมาก ไข่ที่ดีมีสีเหลือง ใส ส่วนไข่เสียจะทึบ ไข่ปลาช่อนฟักเป็นตัวภายในเวลา 30-35 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 27 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด-ด่าง 7.8 และความกระด้าง 56 ส่วนต่อล้านการอนุบาลลูกปลาช่อน ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆลำตัวมีสีดำ มีถุงไข่แดงสีเหลืองใส ปลาจะลอยตัวในลักษณะหงายท้องขึ้นอยู่บริเวณผิวน้ำ ลอยอยู่นิ่งๆไม่ค่อยเคลื่อนไหว หลังจากนั้น 2-3 วันจึงพลิกกลับตัวลงและว่ายไปมาตามปกติโดยว่ายรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณผิวน้ำ ลูกปลาช่อนที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัวเมื่อถุงไข่แดงยุบวันที่ 4 จึงเริ่มให้อาหารโดยใช้ไข่แดงต้มสุกบดละลายกับน้ำผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากินวันละ 3 ครั้ง เมื่อลูกปลามีอายุย่างเข้าวันที่ 6 จึงให้ไรแดงเป็นอาหารอีก 2 สัปดาห์ และฝึกให้อาหารเสริม เช่น ปลาป่น เนื้อปลาสดสับ โดยใส่อาหารในแท่นรับอาหารรูปสี่เหลี่ยมซึ่งมีทุ่นผูกติดอยู่ ถ้าให้อาหารไม่เพียงพออัตราการเจริญเติบโตของลูกปลาจะแตกต่างกัน และเกิดพฤติกรรมการกินกันเองทำใหอัตราการรอดตายต่ำจึงต้องคัดขนาดลูกปลา การอนุบาลลูกปลาช่อนโดยทั่วไปจะมีอัตราการรอดประมาณร้อยละ 70 และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันร้อยละ 50 ของปริมาตรน้ำ การเลี้ยงปลาช่อน ปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อ อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาช่อนจึงต้องเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง โดยทั่วไปนิยมเลี้ยงด้วยปลาเป็ด อัตราการปล่อยปลา นิยมปล่อยลูกปลาขนาด 8-10 เซนติเมตรหรือ น้ำหนัก 30-35 ตัว/กิโลกรัม ควรปล่อยในอัตรา 40-50 ตัว/ตารางเมตร และเพื่อป้องกันโรคซึ่งอาจจะติดมากับลูกปลา ให้ใช้ฟอร์มาลีนใส่ในบ่อเลี้ยงอัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน ( 3 ลิตร/น้ำ 100 ตัน ) ในวันแรกที่ปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น โดยเมื่อปล่อยลูกปลาช่อนลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงลูกปลาช่อนมีขนาดเล็ก คือ ปลาเป็ดผสมรำในอัตราส่วน 4:1 หรืออัตราส่วนปลาเป็ดร้อยละ40, รำร้อยละ30, หัวอาหารร้อยละ30 ปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกินร้อยละ 4-5 ของน้ำหนักตัวปลา วางอาหารไว้บนตะแกรงหรือภาชนะแบบลอยไว้ใต้ผิวน้ำ 2-3 เซนติเมตร ควรวางไว้หลายๆจุดการถ่ายเทน้ำ ช่วงแรกความลึกของน้ำในบ่อควรอยู่ที่ระดับ 30-40 เซนติเมตร แล้วค่อยๆเพิ่มระดับน้ำสัปดาห์ละ 10 เซนติเมตรจนได้ระดับ 50 เซนติเมตรจึงถ่ายน้ำวันละครั้ง หลังจากอนุบาลลูกปลาในบ่อดินประมาณ 2 เดือน ปลาจะเติบโตไม่เท่ากัน ใช้อวนลากลูกปลาเพื่อคัดขนาด ไม่เช่นนั้นปลาใหญ่จะกินปลาเล็ก หลังจากอนุบาลลูกปลาในช่วง 2 เดือนแล้วต้องใช้เวลาเลี้ยงอีกประมาณ 4-5 เดือนจะให้ผลผลิต 1-2 ตัว/กิโลกรัม เช่น เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งานจะได้ผลผลิตมากกว่า 6,000 กิโลกรัม และเมื่อปลาโตได้ขนาดต้องการจึงจับจำหน่ายซึ่งก่อนจับปลาควรงดอาหาร 1-2 วัน การจับขายจับโดยการสูบน้ำออก 2 ใน 3 แล้วตีอวน ระลึกไว้ว่าปลาช่อนเป็นปลาที่ชอบมุดโคลนเลน ดังนั้นถ้าปลาเหลืออยู่น้อย ควรสูบน้ำให้แห้งแล้วจับออกให้หมด นำปลาที่ได้มาล้างโคลนออกก่อนที่จะส่งตลาด การเลือกสถานที่เลี้ยงปลาช่อนควรจะพิจารณาเป็นข้อๆดังนี้ 1. ใกล้แหล่งน้ำจืด ที่สามารถใช้ได้ตลอดปี 2. น้ำไม่เป็นกรดหรือด่างมากจนเกินไป 3. ที่ดอน น้ำไม่ท่วม และเป็นที่ราบ 4. ดินเหนียว หรือปนทราย 5. คมนาคมสะดวกการเตรียมบ่อ 1. พื้นที่ที่ใช้ไม่ควรต่ำกว่าบ่อละครึ่งไร่ลึก 1.5 - 2 เมตร ทำคันดินที่ปากบ่อเมื่อเก็บน้ำได้ระดับสูงสุด ระดับน้ำควรต่ำกว่าคันดินประมาณ 8 เมตร 2. กั้นรั้วตาข่ายหรือไนล่อนที่ปากบ่อกันปลาช่อนกระโดดหนี 3. อัดดินในบ่อให้เรียบแน่น 4. ในกรณีที่เป็นบ่อเก่าควรสูบน้ำทิ้ง เหลือน้ำไว้ลึกประมาณ 20 เซนติเมตร 5. โรยโล่ติ๊นกำจัดปลาที่ไม่ต้องการ และโรยปูนขาวในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อ 1ไร่เพื่อฆ่าพยาธิและปรับสภาพดิน 6. ตากบ่อ 5-7 วัน 7. ใส่ปุ๋ยคอกตากหมาดๆ 40-80 กิโลกรัมต่อไร่ 8. ระดับน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงปลาช่อนลูกปลาขนาดเล็กกว่า 5 เซนติเมตรน้ำลึก 30-40 เซนติเมตร ปลาและลูกปลาขนาดมากกว่า 6 เซนติเมตรน้ำลึก 80-150 เซนติเมตร**ลักษณะความแตกต่างระหว่างปลาช่อนเลี้ยงและปลาช่อนนา (ปลาช่อนที่จับจากธรรมชาติ )- ปลาช่อนนา สีเกล็ดของลำตัวจะมีสีไม่แน่นอน แล้วแต่แหล่งน้ำที่อาศัย หัวค่อนข้างใหญ่และยาว ปากค่อนข้างแบน ลำตัวเพรียวยาวแต่ไม่กลม เมื่อผ่าท้องดูจะเห็นว่าบริเวณลำไส้ไม่มีไขมัน นอกเหนือจากฤดูวางไข่ซึ่งตัวเมียที่สมบูรณ์กำลังมีไข่อ่อนจะมีไขมันติดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น - ปลาช่อนเลี้ยง สีเกล็ดของลำตัวจะมีสีเดียวกันหมด หัวเล็กสั้น ปลายปากมนเรียว ลำตัวอ้วนกลมยาวพอประมาณ เมื่อผ่าท้องดูจะเห็นบริเวณลำไส้จะมีไขมันจับเป็นก้อนทุกตัวโรคและการป้องกันโรคพยาธิและอาการของปลาช่อนส่วนใหญ่ ได้แก่ 1. โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก เช่น เห็บระฆัง ปลิงใส หนอนสมอ จะเกาะดูดเลือดทำให้เกิดเกล็ดหลุด ตัวแข็งมีแผลตามตัว ปลาเกิดการระคายเคือง ถ้าปล่อยไว้นานปลาอาจจะตายหมดบ่อ ให้ใช้ดิปเทอร์เรกซ์ 400g/ 0.5 ไร่ทิ้งค้างคืนงดอาหารจนกว่าจะถ่ายน้ำใหม่หรือใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ประมาณ 24 ชั่วโมง 2. ท้องบวมหรือเกล็ดหลุดเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ให้ใช้เทอรามัยซิน 2 กรัมในอาหาร 1 กิโลกรัมให้ปลากิน 3. โรคที่เกิดจากพยาธิภายใน เช่น พยาธิหัวหนาม พบในลำไส้ ลักษณะอาการตัวผอมและกินอาหารลดลง การรักษาโดยใช้ยาถ่ายพยาธิ ตลาดและการลำเลียงขนส่ง ในการขนส่งนิยมใช้ลังไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าภายในกรุสังกะสีกว้าง 58 เซนติเมตรยาว 94 เซนติเมตร ความสูง 38 เซนติเมตร สามารถขนส่งโดยรถบรรทุกสู่ตลาดทั่วทุกภาคของประเทศไทย สำหรับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณการนำเข้าปลาช่อมากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ต้องการปลาช่อนขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักตัวกว่า 1 กิโลกรัม ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำเข้าปลาช่อนที่มีน้ำหนักประมาณ 400-500 กรัม และ 700-800 กรัม สำหรับตลาดผู้บริโภคปลาช่อนในกรุงเทพฯต้องการปลาใหญ่ซึ่งมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัมขึ้นไป เป็นต้น

การเลี้ยงปลาดุก

ปลาดุกอุย ( Clarias macrocephalus ) เป็นปลาพื้นบ้านของไทยชนิดไม่มี เกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด 4 เส้น ที่ริมฝีปาก ผิวหนังมีสีน้ำตาล เนื้อมีสีเหลือง รสชาติอร่อยนุ่มนวลสามารถนำมาปรุงแต่งเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ ได้มากมาย ในประเทศ ไทยมีพันธุ์ปลาดุกอยู่จำนวน 5 ชนิด แต่ที่เป็นที่รู้จักทั่ว ๆไปคือ ปลาดุกอุยและปลาดุกด้าน ( Clarias batrachus ) ซึ่งในอดีตทั้งปลาดุกอุยและปลาดุกด้านได้มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
เมื่อไม่นานมานี้เองเกษตรกรได้นำพันธุ์ปลาดุกชนิดหนึ่งเข้ามาเลี้ยงใน ประเทศไทย ซึ่งอธิบดีกรมประมงได้มีคำสั่งให้กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ดำเนินการศึกษาพบว่าเป็นปลาในตระกูล แคทฟิช เช่นเดียวกับปลาดุกอุย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มีชื่อว่า ( Clarias gariepinus African sharptooth catfish ) เป็นปลาที่มีการเจริญเติบใจรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรคและสภาพแวดล้อมสูงเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ แต่ปลาดุกชนิดนี้มีเนื้อเหลว และมีสีซีดขาว ไม่น่ารับประทาน ซึ่งกรมประมงได้ให้ชื่อว่าปลาดุกเทศ
จากการศึกษาทางลักษณะรูปร่างและชีววิทยาของปลาดุกเทศทางกลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้ทำการเพาะขยายพันธุ์ปลาโดยนำมาผสมพันธุ์กับปลาดุกอุยและปลาดุกเทศ ผลปรากฏว่าการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมียผสมกับปลาดุกเทศเพศผู้สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ดี ลูกที่ได้มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคสูง มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุย จึงทำให้เกษตรกรนำวิธีการผสมข้ามพันธุ์ไปปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งลูกหลานที่เกิดจากคู่ผสมนี้ทางกรมประมงให้ชื่อว่า ปลาดุกอุย-เทศ แต่โดยทั่ว ๆไปชาวบ้านเรียกกันว่า บิ๊กอุย หรือ อุยบ่อ ส่วนการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศผู้กับปลาดุกเทศเพศเมีย ลูกที่ได้ไม่แข็งแรงและเหลือรอดน้อย เมื่อเทียบกับการเพาะพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาบิ๊กอุย ส่วน การผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกด้านกับปลาดุกเทศ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
ในปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่าปลาดุกลูกผสมอุย-เทศหรือบิ๊กอุยนั้นเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร เนื่องจากเลี้ยงง่าย มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว อีกทั้งทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเป็นที่นิคมบริโภคของประชาชน เนื่องจากมีรสชาติดีและราคาถูก

ขั้นตอนการเลี้ยง
1. อัตราปล่อยปลาดุกลูกผสม (บิ๊กอุย) ลูกปลาขนาด 2-3 ซม. ควรปล่อยในอัตประมาณ 40 - 100 ตัว/ตรม. ซึ่งขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการเลี้ยง คือ ชนิดของอาการขนาดของบ่อและระบบการเปลียนถ่ายน้ำซึ่งปกติทั่วๆไป อัตราปล่อยเลี้ยงประมาณ 50 ตัว/ตรม. และเพื่อป้องกันโรคซื่งอาจจะติดมากับลูกปลา ใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยง อัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน (3 ลิตร/น้ำ 100 ตัน ่ในวันที่ปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหารควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น
2. การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาดุกผสมลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกมีขนาดเล็ก (2-3 ซม.) ควรให้อาหารผสมคลุกน้ำปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลากิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง หว่านให้กินทั่วบ่อโดยเฉพาะในบริเวณขอบบ่อ เมื่อลูกปลามีขนาดโตขึ้นความยาวประมาณ 5-7 ซม. สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้ หลังจากนั้นเมื่อปลาโตขึ้นจนมีความยาว 15 ซม.ขึ้นไป จะให้อาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวหรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น ปลาเป็ดผสมรำละเอียดอัตรา 9 : 1 หรือให้อาหารที่ลดต้นทุน เช่น อาหารผสมบดจากส่วนผสมต่างๆเช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนมปัง เศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือดไก่ เศษเกี้ยว หรือเศษอาหารว่างๆเท่าที่สามารถหาได้นำมาบดรวมกินแล้วผสมให้ปลากินแต่การให้อาหารประเภทนี้จะต้องระวัง เรื่องคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงให้ดี เมื่อเลี้ยงปลาได้ประมาณ 3-4 เดือนปลาจะมีขนาดประมาณ 200-400 กรัม/ตัว ซึ่งผลผลิตที่ได้จะประมาณ 10 - 14 ตัน/ไร่ อัตรารอดตายประมาณ 40- 70 %
3. การถ่ายเท น้ำเมื่อตอนเริ่มเลี้ยงใหม่ๆระดับความลึกของน้ำในบ่อควรมีค่าประมาณ 30 - 40 ซม. เมื่อลูกปลาเจริญเติบโตขึ้นในเดือนแรกจึงเพิ่มระดับน้ำสูงเป็นประมาณ 50 -60 ซม. หลังจากย่างเข้าเดือนที่สองควรเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น 10 ชม./อาทิตย์ จนระดับน้ำในบ่อมีความลึก 1.20 - 1.50 เมตร การถ่ายเทน้ำควรเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงผ่านไปประมาณ 1 เดือน โดยถ่ายน้ำประมาณ 20 % ของน้ำในบ่อ 3 วัน/ครั้ง หรือถ้าน้ำในบ่อเริ่มเสียจะต้องถ่ายน้ำมากกว่าปกติ
4. การป้องกันโรค การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ชึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมือปลาหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมมีนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่ โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีกก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารให้ใหม่อีกซึ่งปริมาณอาหาร ที่ให้ไม่ควรเกิน 4 - 5 % ของน้ำหนักตัวปลา

การอนุบาล
ลูกปลาดุกที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัวเมื่อถุงไข่แดงที่ติดมากับลูกปลายุบ ให้ไข่ไก่ต้มสุกเอาเฉพาะไข่แดงบดผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากิน 1-2 ครั้ง หลังจากนั้นจึงให้ลูกไรแดงเป็นอาหาร
การขนส่งลูกปลา เมื่อลูกปลาอายุครบ 2 วัน สามารถขนย้ายได้ด้วยความระมัดระวังโดยใช้สายยางดูด แล้วบรรจุในถุงพลาสติกขนาด 18 นิ้ว ไม่ควรเกิน 10,000 ตัวต่อถุง หากขนส่งเกิน 8 ชั่วโมง ให้ลดจำนวนลูกปลาลง
การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อซีเมนต์ สามารถดูแลรักษาได้ง่ายขนาดของบ่อซีเมนต์ควรมีขนาดประมาณ 2-5 ตารางเมตร ระดับความลึกของน้ำทีใช้อนุบาลลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตร การอนุบาลลูกปลาดุกที่มีขนาดเล็ก(อายุ 3 วัน) ระยะแรกควรใส่น้ำในบ่ออนุบาลลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร เมื่อลูกปลามีขนาดใหญ่ขึ้นจึงค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น การอนุบาลให้ลูกปลาดุกมีขนาด 2-3 เซนติเมตรจะใช้เวลาประมาณ 10-14 วัน น้ำที่ใช้ใน การอนุบาลจะต้องเปลี่ยนถ่ายทุกวัน เพื่อเร่งให้ลูกปลาดุกกินอาหารและมีการเจริญเติบโตดี อีกทั้งเป็นการป้องกันการเน่าเสียของน้ำด้วย การอนุบาลลูกปลาดุกจะปล่อยในอัตรา 3,000-5,000 ตัว/ตรม. อาหารที่ใช้คือ ไรแดงเป็นหลัก ในบางครั้งอาจให้อาหารเสริมบ้าง เข่น ไข่ตุ๋นบดละเอียด เต้าหู้อ่อนบดละเอียด หรืออาจให้อาหารเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งหากให้อาหารเสริมจะต้องระวังเกี่ยวกับการย่อยของลุกปลาและการเน่าเสียของน้ำในบ่ออนุบาลให้ดีด้วย
การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดิน บ่อดินที่ใช้อนุบาลลุกปลาดุกควรมีขนาด 200-800 ตรม. บ่อดินที่จะใช้อนุบาลจะต้องมีการกำจัดศัตรูของลูกปลาก่อน และพื้นก้นบ่อควรเรียบ สะอาดปราศจากพืชพรรณไม้น้ำต่าง ๆ ควรมีร่องขนาดกว้างประมาณ 0.5 -1 เมตร ยาวจากหัวบ่อจรดท้ายบ่อ และลึกจากระดับ พื้นก้นบ่อประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการรวบรวมลูกปลา และ ตรงปลายร่องควรมีแอ่งลึก มีพื้นที่ประมาณ 2-4 ตรม. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม ลูกปลาการอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อจะต้องเตรียมอาหารสำหรับลูกปลา โดยการเพาะไรแดงไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นอาหารให้แก่ลูกปลาก่อนที่จะปล่อง 1 ลูกปลาดุก ลงอนุบาลในบ่อ การอนุบาลในบ่อดินจะปล่อยในอัตรา 300-500 ตัว/ตรม. การอนุบาลลูกปลาให้เติบโตได้ขนาด 3-4 เซนติเมตร ใช้เวลาประมาณ 14 วัน แต่การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดินนั้น สามารถควบคุมอัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดได้ยากกว่าการอนุบาลในบ่อซีเมนต์
ปัญหาในการอนุบาลลูกปลา น้ำเสียเกิดขึ้นจากการให้อาหารลูกปลามากเกินไป หากลูกปลาป่วยให้ลดปริมาณอาหารลง 30-500 % ดูดตะกอนถ่ายน้ำแล้ว ค่อย ๆ เติมน้ำใหม่หลังจากนั้นใช้ยาปฏิชีวนะออกซีเตตร้าซัยคลิน แช่ลูกปลาในอัตรา 10-20 กรัมต่อนำ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือในไตรฟุราโชน 5-10 กรัม ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร วันต่อ ๆมาใช้ยา 3/4 เท่า ปลาจะลดจำนวนการตายภายใน 2 3 วัน ถ้าปลาตายเพิ่มขึ้น ควรกำจัดลูกปลาทิ้งไป เพื่อป้องกินการติดเชื้อไปยังบ่ออื่น ๆ

โรค
ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดยแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือด มีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิก กกหูบวม ท้องบวมมีน้ำในช่องท้องกินอาหารน้อยลงหรือไม่กินอาหาร ลอยตัว
2. อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลา จะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติเหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง
3. อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินบีกระโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกรงและชักกระตุก
4. อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็กกว่าปกติลอยหัวครีบกร่อนเปื่อย หนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัว

วิธ๊รักษา
1. ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา
2. ชื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4. หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงแล้ว 3-4 วันควรสาดน้ำยาฟอร์มาลิน 2-3 ลิตร/ปริมาตร น้ำ 100 ตัน และหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 - 5 ลิตร/ปริมาตรน้ำ 100 ตัน
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ
6. อย่าให้อาหารจนเหลือ

การเลี้ยงปลานิล

ปลานิล Tilapia nilotica เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี 2508 เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ การเพาะเลี้ยง ระยะเวลา 1 ปีมีอัตราการเติบโตถึงขนาด 500 กรัม รสชาติดี มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวางส่วนขนาดปลาที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัวละ 200-300 กรัม จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว แต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้าง จะหายาก กรมประมง จึงได้ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ปลาเพื่อให้ได้ปลานิลที่มีลักษณะสายพันธุ์ดี อาทิ การเจริญเติบโต ปริมาณความดก ของไข่ ผลผลิตและความต้านทานโรค เป็นต้น ดังนั้นผู้เลี้ยงปลานิล จะได้ความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิลเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภค
ความเป็นมา
ตามที่พระจักรพรรดิอากิฮิโตเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่นทรงจัดส่ง ปลานิล จำนวน 50 ตัว ความยาวเฉลี่ยตัวละประมาณ 9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 14 กรัม มาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2508 นั้น ในระยะแรกได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยลงเลี้ยง ในบ่อดินเนื้อที่ประมาณ 10 ตารางเมตร ในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อเลี้ยงมา 5 เดือนเศษ ปรากฎว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่สวนหลวงขุดบ่อขึ้นใหม่อีก 6 บ่อ มีเนื้อที่เฉลี่ยบ่อละประมาณ 70 ตารางเมตร ซึ่งในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่ได้ทรงย้ายพันธุ์ปลาด้วย พระองค์เอง จากบ่อเดิมไป ปล่อยในบ่อ ใหม่ทั้ง 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2508 ต่อจากนั้น ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้กรมประมง จัดส่งเจ้าหน้าที่วิชาการมาตรวจสอบการเจริญเติบโตเป็นประจำทุกเดือน
โดยที่ปลานิลนี้เป็นปลาจำพวกกินพืช เลี้ยงง่าย มีรสดี ออกลูกดก เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ในเวลา 1 ปีจะมี น้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม และมีความยาวประมาณ 1 ฟุต จึงได้มีพระราชประสงค์ที่จะ ให้ปลา นี้แพร่ขยายพันธุ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์ต่อไป ดังนั้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509 จึงทรงพระกรุณาโปรกเกล้าฯ พระราชทานชื่อปลานิลนี้ว่า "ปลานิล" และได้พระราชทานปลานิล ขนาดยาว 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้แก่กรมประมงนำไปเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์ ที่แผนทดลอง และเพาะเลี้ยง ในบริเวณเกษตรกลาง บางเขน และที่ สถานีประมงต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักรอีกรวม 15 แห่ง เพื่อดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์พร้อมกัน ซึ่งเมื่อ ปลานิลแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้มากเพียงพอแล้ว จึงได้แจกจ่ายให้แก่ราษฎรนำไปเพาะ เลี้ยงตามความ ต้องการต่อไป
รูปร่างลักษณะ
ปลานิลเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลชิคลิดี (Cichlidae) มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในทวีปแอฟริกา พบทั่วไป ตามหนอง บึง และทะเลสาบ ในประเทศซูดานยูกันดา แทนแกนยีกา โดยที่ปลานิลนี้ เจริญเติบ โตเร็ว และเลี้ยงง่าย เหมาะสมที่จะนำมาเพาะเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดีจึงได้รับความ นิยมและ เลี้ยง กันอย่างแพร่หลายในภาคพื้นเอเซีย แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้
รูปร่างลักษณะของปลานิลคล้ายกับปลาหมอเทศแต่ลักษณะพิเศษของปลานิลมีดังนี้คือ ริมฝีปากบนและล่าง เสมอกัน ที่บริเวณแก้มมีเกล็ด 4 แถว ตามลำตัวมีลายพาดขวางจำนวน 9-10 แถบ นอกจากนั้นลักษณะทั่วไปมีดังนี้ ครีบหลังมีเพียง 1 ครีบ ประกอบด้วยก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อน เป็นจำนวนมาก ครีบก้นประกอบด้วยก้านครีบ แข็งและอ่อนเช่นกันมีเกล็ด ตามแนวเส้นข้างตัว 33 เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล ตรงกลางเกล็ดมีสีเข้ม ที่ กระดูก แก้มมีจุดสีเข้มอยู่จุดหนึ่ง บริเวณส่วนอ่อนของ ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางนั้นจะมีจุดสีขาว และสีดำ ตัดขวางแลด คล้ายลายข้าวตอกอยู่โดยทั่วไป
ภาพที่ 1 เปรียบเทียบปลานิลตัวผู้และตัวเมีย
ในประเทศไทยพบปลานิลสีเหลือง-ขาว ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์จากปลานิลสีปกติ หรือเป็นการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง ปลานิลกับปลาหมอเทศ ซึ่งนอกจากสีภายนอกที่แตกต่าง จากปลานิลธรรมดาแล้วภายในตัวปลาที่ผนังช่องท้องยัง เป็นสีขาวเงินคล้ายผนังช่องท้องของปลากินเนื้อ และสีของเนื้อปลาเป็นสีขาวชมพูคล้าย ปลากะพงแดงซึ่งเป็นที่นิยม รับประทานในต่างประเทศมีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักกันว่า "ปลานิลแดง"

เชิงไก่ชน

เชิงไก่ชน
เชิงสาด ตีคู่ต่อสู้โดยไม่ต้องจิกหรือที่เรียกว่าสาดแข้งเปล่า
เชิงเท้าบ่า เอาไหล่ชนกันแล้วยืดคอไปจิกบ่าคู่ต่อสู้แล้วตีเข้าท้องหรือหน้าอก
เชิงลง มุดต่ำจิกขาจิกข้าง พอคู่ต่อสู้เผลอโดดขึ้นตี
เชิงมัด มุดเข้าปีก โผล่ไปจิกหัว หู หรือสร้อย แล้วตีเข้าหัว คอ หรือตะโพก
เชิงบน ใช้คอขี่พาด กด ล๊อค ทับ กอด ให้คู่ต่อสู้หลงตีตัวเอง เมื่อได้ทีจะจิกหู ด้านนอก หูใน หรือสร้อยแล้วตีเข้าท้ายทอย
เชิงม้าล่อ หลอกคู่ต่อสู้วิ่งตาม พอได้ทีตีสวนกลับ
เชิงตั้ง ยืนตั้งโด่ จิกสูงแล้วบินตี(เชิงนี้เสียเปรียบเชิงอื่น )
เชิงลายชักลิ่ม เอาหัวหนุนคอหนุนคางคู่ต่อสู้ ลอกให้อีกฝ่ายกดลงแล้วชักหัวออก พอคู่ต้อสู้พลาดก็จิกหัวตี
ไก่เชิงนี้เป็นตัวปราบไก่เชิงบนขี้จุ้ยที่ขี่กอดทับแล้วไม่ตี ในจำนวน 8 เพลงท่านี้ แบ่งแยกได้อีก 15 กระบวนยุทธ คือ
เชิงเท้าบ่า แยกเป็น เท้าตีตัว เท้าจิกหลังกระปุกน้ำมัน
เชิงหน้าตรง แยกเป็น ตีหน้ากระเพาะ หน้าคอ หน้าหงอน
เชิงมัด แยกเป็น มัดโคนปีก มัดปลายปีก
เชิงลง แยกเป็น มุดลงจิกขาลงซุกซ่อน ลงลอดทะลุหลัง
เชิงบน แยกเป็น ขี่ ทับ กอด ล๊อค มัด
เชิงลายชักลิ่ม แยกเป็น ยุบหัว

ปลาสวยงาม


1 การเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยง
การเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงภายในตู้ใดตู้หนึ่ง ผู้เลี้ยงจะต้องเลือกปลาให้ถูกต้อง จึงจะทำให้ได้ปลาสวยงามไว้ดูตามที่ต้องการ โดยที่ไม่มีภาระยุ่งยากจนเกินไป หลักการสำคัญสำหรับการเลือกชนิดปลามีดังนี้
1.1 ชนิดของปลาสวยงามที่จะเลือกเลี้ยง การเลือกชนิดปลานั้นย่อมต้องขึ้นกับความชอบของแต่ละบุคคล เนื่องจากปลาสวยงามที่เลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบันมีมากมายถึง 100 กว่าชนิด แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นว่าสวยงามทั้งหมด ดั้งนั้นการเลือกชนิดปลาก็จะขึ้นกับความชอบของแต่ละคนเป็นหลัก โดยอาจใช้หลักต่อไปนี้ช่วยพิจารณาด้วย คือ
1.1.1 ความสวยงามกับปัจจัยการเลี้ยง ความสวยงามของปลามีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปบางคนอาจชอบปลาขนาดเล็กๆที่มีสีสันฉูดฉาด ว่ายน้ำไปมาตลอดเวลา เช่นพวกปลาหางนกยูงปลาสอด และปลาซิวชนิดต่างๆ บางคนอาจชอบปลาที่ว่ายน้ำช้าๆดูสง่างาม เช่นปลาปอมปาดัวร์ ปลาเทวดา หรือบางคนอาจชอบปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาออสการ์ ปลามังกร ปลากราย และปลาแรด ปลาที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนี้บางชนิดมีความต้องการความจำเพาะในระหว่างการเลี้ยง เช่นปลานีออน และปลาปอมปาดัวร์ ต้องการอุณหภูมิน้ำค่อนข้างสูง ทำให้ต้องมีการใช้เครื่องให้ความร้อนช่วยในช่วงฤดูหนาว มิฉะนั้นปลาจะตายได้ง่าย ปลาบางชนิดต้องการอาหารที่มีชีวิตหรืออาหารสด เช่นปลามังกร ผู้เลี้ยงต้องเข้าใจการเตรียมอาหารไว้ให้ปลา ปลาบางชนิดเป็นปลาขนาดใหญ่ เช่นปลามังกร ปลาออสการ์ ปลากราย และปลาแรด จำเป็นต้องใช้ตู้ขนาดใหญ่ ดังนั้นการเลือกชนิดปลาอาจทำให้เกิดภาระแก่ผู้เลี้ยงมากเกินกว่าที่คาดคิดไว้ จึงควรที่จะต้องศึกษาข้อมูลของปลาที่ต้องการเลี้ยง โดยอาจหาอ่านจากเอกสาร ตำราซึ่งมีผู้เขียนออกมาจำหน่ายกันมากขึ้น หรือสอบถามจากร้านขายปลาสวยงามก็จะช่วยให้เลือกปลาได้อย่างเหมาะสม
1.1.2 ความหลากหลาย ผู้เลี้ยงควรจะต้องรู้ว่าปลาที่ต้องการเลี้ยงนั้นมีความหลากหลายทางสายพันธุ์อย่างไรบ้าง เนื่องจากปลาเป็นสัตว์ที่ให้ลูกในแต่ละครั้งได้เป็นจำนวนมาก และสามารถผสมข้ามสายพันธุ์หรือข้ามพันธุ์ได้โดยการดำเนินการของมนุษย์ ทำให้ปลาบางกลุ่มหรือบางชนิดค่อนข้างมีความหลากหลายทางสายพันธุ์ ดังนั้นลักษณะของปลาที่เห็นนั้นอาจไม่ใช่ลักษณะแท้ของสายพันธุ์ก็ได้ ตัวอย่างเช่น ปลาทอง ปลาเทวดา ปลาหางนกยูง และปลาสอดชนิดต่างๆ จะมีความหลากหลายของสายพันธุ์ค่อนข้างมาก เนื่องจากปลาเหล่านี้มีการเพาะเลี้ยงกันมานาน และมีการคัดลักษณะเด่นของลูกปลาที่ได้นำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ หรือผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาจากแหล่งอื่นๆ ทำให้ได้ปลาที่มีรูปทรง สีสัน และลักษณะครีบแตกต่างกันออกไป ผู้เลี้ยงปลาหลายรายที่หลงเชื่อซื้อปลาลักษณะเด่นๆตามที่ต้องการ เพื่อนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ แต่เมื่อดำเนินการเพาะพันธุ์แล้ว พบว่าลูกปลาที่ออกมาจะมีรูปร่างหลายลักษณะเช่นกัน ดังนั้นควรจะได้ศึกษาว่าปลาชนิดใดหรือกลุ่มใดมีความหลากหลายทางสายพันธุ์อย่างไรบ้าง หากนำมาเลี้ยงปะปนกันแล้วจะทำให้เกิดปัญหาการผสมข้ามสายพันธุ์ได้หรือไม่
1.1.3 ความต้องการของตลาด หากจะดำเนินการเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อเป็นการค้า จำเป็นต้องศึกษาการตลาดของปลาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะตลาดในพื้นที่ว่ามีความต้องการปลาสวยงามชนิดใด ก็จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จได้ง่าย เช่น ปลากัด และปลาหางนกยูง เป็นปลาที่ตลาดมีความต้องการสูงมากทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดภายในประเทศ ร้านขายปลาสวยงามที่เปิดขายในจังหวัดต่างๆนั้น จะไม่ดำเนินการเพาะเลี้ยงปลากัด และปลาหางนกยูงขึ้นมาเอง แต่จะเข้าไปหาซื้อมาจากกรุงเทพฯ ดังนั้นการดำเนินการเพาะเลี้ยงปลากัด และปลาหางนกยูง ตามจังหวัดต่างๆ ก็น่าที่จะสามารถหาตลาดได้ไม่ยากนัก ตัวอย่างเช่นในจังหวัดขอนแก่น มีความต้องการปลากัดเฉลี่ยอย่างน้อยเดือนละ 10,000 ตัว
1.2 นิสัยของปลาสวยงาม จากจำนวนปลาสวยงามที่มีอยู่มากมาย การเลือกเลี้ยงปลาสวยงามนอกจากจะเลือกที่ความสวยงามแล้ว ยังต้องศึกษานิสัยของปลาให้รอบคอบด้วย เนื่องจากปลาบางชนิดจะมีนิสัยดุร้าย เกเร หากนำไปเลี้ยงปะปนกัน อาจมีปลาบางชนิดที่ถูกทำร้ายหรือถูกจับกินเป็นอาหารได้ หลักการพิจารณานิสัยของปลามีดังนี้
1.2.1 นิสัยการกินอาหารของปลา การเลือกเลี้ยงปลาสวยงามควรจะต้องรู้ว่าปลาที่จะเลี้ยงนั้นปกติกินอาหารประเภทใดเป็นหลัก ซึ่งจากจำนวนชนิดปลาสวยงามที่มีอยู่มากมายนั้น จะเห็นความแตกต่างของลักษณะอาหารที่ปลาชอบกินได้อย่างเด่นชัด การจัดแบ่งกลุ่มนิสัยการกินอาหารของปลามีดังนี้
(1) ปลากินพืช(Forage or Herbivorous Fishes) หมายถึงปลาที่ปกติจะหากินพวกพืชเป็นอาหารหลัก เช่น กินรากหรือใบพืช รวมทั้งตะไคร่น้ำ ตัวอย่างปลาพวกนี้ ได้แก่ ปลาสร้อย และปลาตะเพียนชนิดต่างๆ ปลากลุ่มนี้สามารถเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปได้ดี
(2) ปลากินเนื้อ(Carnivorous Fishes) หมายถึงปลาที่ปกติจะหากินพวกเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ซึ่งมีทั้งที่ชอบไล่ล่าเหยื่อที่มีชีวิตหรือกัดแทะซากของสิ่งมีชีวิต ปลาพวกนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีกดังนี้
ปลาล่าเหยื่อ(Piscivores or Predator) เป็นปลาที่ชอบไล่ล่าเหยื่อที่มีชีวิต จัดว่าเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้าย อาหารในธรรมชาติจะเป็นลูกปลา ปลาขนาดเล็ก กุ้ง ลูกกบ และลูกเขียด ตัวอย่างปลากลุ่มนี้ เช่น ปลามังกร ปลากราย ปลาตองลาย ปลากระทิง ปลาชะโด ปลาเสือตอ ปลาบู่ ปลาปักเป้า และปลา Gar (ปลาต่างประเทศ) ปลาพวกนี้หัดให้กินอาหารสำเร็จรูปค่อนข้างยาก ยังคงชอบกินอาหารมีชีวิต ผู้เลี้ยงต้องซื้อปลาเหยื่อมาใช้เลี้ยง หรือพยายามหัดให้กินเนื้อปลาสดหั่นเป็นชิ้นๆก็สามารถทำได้
ปลาแทะซาก(Scavenger) เป็นปลาที่กินอาหารประเภทเนื้อแต่เป็นพวกที่ตายแล้ว ชอบกัดแทะหรือฮุบกินทั้งชิ้น ตัวอย่างปลากลุ่มนี้ เช่น ปลากด ปลาแขยง และปลาดุก ปลาพวกนี้ให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ดี
ปลากินแมลงและตัวอ่อนของแมลง(Insectivores) เป็นปลาที่ชอบกินอาหารที่มีชีวิตเช่นกัน แต่เป็นพวกตัวอ่อนของแมลงหรือแมลงขนาดเล็กต่างๆ เช่น ลูกน้ำ หนอนแดง ไรแดง มวนวน และมวนกรรเชียง ตัวอย่างปลากลุ่มนี้ได้แก่ ปลาเทวดา ปลาปอมปาดัวร์ ปลาเสือพ่นน้ำ และปลากัด ปลาพวกนี้ปกติหัดให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ยาก แต่เนื่องจากมีการเลี้ยงมาหลายชั่วอายุของปลา ทำให้ปลากินอาหารสำเร็จรูปได้ดีขึ้น เช่น ปลาเทวดา และปลากัด ส่วนปลาปอมปาดัวร์ และปลาเสือพ่นน้ำ ถ้าเลี้ยงไว้จำนวนหลายตัวก็จะสามารถหัดให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ เนื่องจากจะมีปลาตัวใดตัวหนึ่งขึ้นกิน แล้วตัวอื่นที่เห็นจะขึ้นกินตามกัน แต่เมื่อซื้อมาเลี้ยงเพียงไม่กี่ตัวจะไม่ค่อยยอมกินอาหารสำเร็จรูป อาจต้องให้อาหารพิเศษ เช่น หนอนแดงอบแห้ง หรืออาหารสำเร็จรูปชนิดพิเศษ
ปลากินแพลงตอนสัตว์(Zooplankton Feeder) เป็นปลาที่ชอบกินพวกสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ได้แก่ ไรน้ำชนิดต่างๆ ตัวอย่างปลากลุ่มนี้ได้แก่ พวกปลาสวยงามที่มีขนาดเล็ก เช่นปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลาม้าลาย ปลานีออน และปลาซิวอื่นๆ ปลาพวกนี้ให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งในปัจจุบันมีอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดเล็กพิเศษเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารปลาพวกนี้
(3) ปลากินทั้งเนื้อและพืช(Omnivorous Fishes) หมายถึงปลาที่ไม่เจาะจงชนิดของอาหารสามารถกินอาหารได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพรรณไม้น้ำ ตัวอ่อนแมลง ลูกกุ้ง และลูกปลาขนาดเล็ก ตัวอย่างปลาพวกนี้ได้แก่ ปลาทอง ปลาคาร์พ และปลาหมอชนิดต่างๆ ปลาพวกนี้ค่อนข้างตะกละหากินอาหารตลอดเวลา จึงให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ดีมาก
1.2.2 การอยู่ร่วมกัน ผู้เลี้ยงปลาสวยงามส่วนใหญ่มักนิยมเลี้ยงปลาหลายชนิดภายในตู้เดียวกัน เพื่อจะได้เห็นปลาหลายลักษณะและหลายสีสัน ถึงแม้ปลาที่เลือกเลี้ยงจะไม่ถูกระบุว่าเป็นปลาที่ล่าเหยื่อหรือทำอันตรายปลาอื่น แต่หากพิจารณาให้ดีจะพบว่ามีปลาบางชนิดมีการทำอันตรายกันเสมอ ทำให้ปลากลุ่มหนึ่งถูกทำลายหรือเกิดการติดเชื้อจนตายได้ ตัวอย่างเช่นการเลี้ยงปลาทองร่วมกับปลาหางนกยูงและปลานีออน ถ้าปลาทองมีขนาดเล็กก็จะไม่ทำอันตรายปลาทั้งสองชนิด แต่เมื่อปลาทองมีขนาดใหญ่ขึ้น จากนิสัยที่กินอาหารเก่งและมักว่ายน้ำหาอาหารตลอดเวลา ก็มักจะทำอันตรายปลาหางนกยูงและปลานีออนจนตาย โดยเฉพาะเวลากลางคืนเมื่อปิดไฟปลาทั้งสองชนิดจะเชื่องช้า ทำให้ถูกทำอันตรายได้ง่าย ยิ่งถ้าเป็นลูกปลาก็มักจะถูกปลาทองไล่จับกินอย่างง่ายดาย แต่ถ้านำปลาทองไปเลี้ยงร่วมกับปลาสอดชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปลาหางดาบ ปลาสอดแดง ปลาสอดดำ หรือปลาเซลฟิน ซึ่งปลาเหล่านี้มีขนาดใหญ่กว่าปลาหางนกยูง และค่อนข้างมีความว่องไว พวกปลาสอดจะกลายเป็นตัวทำอันตรายปลาทอง ถึงแม้ว่าปลาสอดจะมีขนาดเล็กกว่าปลาทองมาก แต่จากการที่มีความว่องไวและมักเข้าไปกัดแทะหรือตอดตามตัวและครีบของปลาทอง จะค่อยๆทำให้ปลาเกิดบาดแผล หรือปลาที่มีบาดแผลอยู่แล้วก็ยิ่งชอบเข้าไปกัดแทะบริเวณแผลเพื่อกินเนื้อเยื่อ ทำให้ปลาบอบช้ำเนื่องจากแผลไม่หายและมักขยายลุกลามติดเชื้ออื่นๆมากขึ้น ดังนั้นการเลี้ยงปลาทองร่วมกับปลาสอด ผู้เลี้ยงจึงมักพบว่าปลาทองเกิดแผลเป็นโรครักษายากและมักตายไป หรือการเลี้ยงปลาเสือสุมาตราร่วมกับปลานีออน ปลาเสือสุมาตราจะค่อนข้างมีความดุร้ายในฤดูกาลผสมพันธุ์ ก็มักจะทำอันตรายปลานีออนจนตายได้ จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงร่วมกัน จำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาพิจารณาให้รอบคอบ
1.3 ความอดทนของปลา ปลาแต่ละชนิดจะมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้ต่างกัน จากการที่ปลาสวยงามถูกนำมาเลี้ยงไว้ในพื้นที่แคบๆ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างกระทันหันย่อมเกิดได้ตลอดเวลา เช่น การให้อาหารมากเกินไปจนเศษอาหารไปหมักหมมบูดเน่าอยู่ในวัสดุกรอง หรือการเปลี่ยนน้ำใหม่โดยขาดประสบการณ์ เติมน้ำที่มีคลอรีนสูงมากเกินไป หรือปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องทำให้เครื่องให้อากาศและระบบกรองน้ำไม่ทำงาน ซึ่งหากเกิดเป็นเวลานานเกินกว่า 1 ชั่วโมงขึ้นไป ปริมาณออกซิเจนจะลดต่ำลง ปลาจะได้รับอันตรายมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นกับขนาดและจำนวนปลาที่เลี้ยง ดังนั้นการเลือกชนิดปลาก็ยังอาจต้องพิจารณาถึงความอดทนของปลาประกอบด้วย เช่น ปลาหางไหม้ และปลานีออน ถูกกระทบจากปริมาณคลอรีนจนมีผลทำให้ปลาตายได้อย่างง่ายดาย ปลาปอมปาดัวร์ และปลานีออน ไม่อดทนต่อสภาพอุณหภูมิต่ำ กลุ่มปลาตะเพียน ปลากาแดง ปลาทรงเครื่อง ปลาทอง ปลาคาร์พ และปลาสร้อยชนิดต่างๆ ไม่อดทนต่อสภาพการขาดออกซิเจน สำหรับปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี จัดว่าเป็นปลาที่มีความอดทนไม่ตายง่ายๆก็มีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ปลาหางนกยูง ปลาสอดชนิดต่างๆ ปลากระดี่ชนิดต่างๆ ปลาชะโด และปลาแรด นอกจากนั้นยังอาจใช้วิธีการป้องกันร่วมด้วย เช่น ใช้เครื่องให้ความร้อน (Heater) ควบคุมอุณหภูมิในฤดูหนาว หรือเตรียมเครื่องให้อากาศที่ใช้ไฟจากถ่านไฟฉายสำรองไว้ ก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ปลาได้
1.4 การขยายพันธุ์ การแพร่พันธุ์ของปลาค่อนข้างแตกต่างจากการแพร่พันธุ์ของสัตว์บกโดยทั่วไป คือปลาส่วนใหญ่จะออกลูกเป็นไข่ และเป็นการผสมพันธุ์ภายนอกตัวแม่ โดยพ่อแม่พันธุ์ปลาจะปล่อยน้ำเชื้อและไข่ออกมาผสมกันในน้ำ นอกจากนั้นลักษณะของไข่ปลายังมีรูปแบบแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ซึ่งประเภทของไข่ปลาและวิธีการเพาะพันธุ์ปลาจะได้กล่าวโดยละเอียดในหัวข้อการเพาะพันธุ์ปลา สำหรับผู้ที่ต้องการเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อเป็นการค้า จำเป็นต้องศึกษาวิธีการเพาะและอนุบาลลูกปลาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จได้ดีขึ้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงปลาสวยงามเป็นงานอดิเรก หากต้องการเห็นลูกปลาที่เกิดจากปลาที่เลี้ยงไว้เอง ก็อาจจะต้องเลือกปลาที่มีการแพร่พันธุ์อย่างง่ายๆ และลูกปลามีอัตราการรอดดีเนื่องจากกินอาหารได้ง่าย ซึ่งจะได้แก่กลุ่มปลาที่ออกลูกเป็นตัว ปลาพวกนี้มีจำนวนชนิดอยู่ไม่มากนัก และส่วนใหญ่ถูกนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่มีจำนวนไข่หรือลูกไม่มาก เมื่อเทียบกับปลาที่ออกลูกเป็นไข่ แต่ปลาพวกนี้มักจะออกลูกได้เกือบตลอดปี โดยจะออกลูกครั้งละ 30 - 100 ตัว ลูกปลาที่คลอดออกมาจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เมื่อเทียบกับลูกปลาของปลาที่ออกลูกเป็นไข่ และค่อนข้างมีความแข็งแรง ว่ายน้ำหลบหนีศัตรู(ซึ่งรวมทั้งพ่อแม่ของตัวเอง)ได้ทันทีที่คลอดออกจากท้องแม่ปลา ตัวอย่างของปลาที่ออกลูกเป็นตัวได้แก่ ปลาหางนกยูง ปลาสอดชนิดต่างๆ และปลาเข็ม

2 วิธีการเลือกซื้อปลาสวยงาม
เมื่อตัดสินใจว่าจะเลี้ยงปลาสวยงามและได้ตัดสินใจเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงแล้ว ขั้นตอนสำคัญอันดับต่อไปคือการไปร้านขายปลาสวยงาม เพื่อเลือกซื้อปลาที่ต้องการมาเลี้ยง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญเช่นกัน เพราะหากได้ปลาที่ไม่แข็งแรง ไม่สมบูรณ์ หรือมีเชื้อโรคติดมา ปลาที่ซื้อมาเลี้ยงอาจตายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน หรืออาจต้องทนเลี้ยงปลาที่ไม่สมสัดส่วนหรือไม่สมประกอบไปอีกนาน วิธีการเลือกซื้อปลาควรจะพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
2.1 ควรเลือกซื้อปลาในเวลากลางวัน เนื่องจากจะสังเกตสีสันที่แท้จริงของปลาได้ดี แต่ในปัจจุบันการจัดตู้ปลามีความทันสมัยมากขึ้น โดยร้านขายปลาสวยงามมักจะติดหลอดไฟพวกแสงสะท้อน แล้วเปิดไว้ตลอดเวลาเพื่อทำให้เห็นปลามีสีสดใสมากกว่าที่เป็นจริง
2.2 สังเกตสภาพของตัวปลา คือเลือกปลาที่ไม่มีร่องรอยความบอบช้ำ เช่นเกล็ดหลุด ครีบแหว่ง หรือมีแผลตามลำตัว เพราะอาจเป็นปลาที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากการลำเลียง หรือมีการระบาดของโรคพยาธิเกิดขึ้น ถ้าเลือกซื้อปลาที่บอบช้ำมาเลี้ยงอาจเกิดการติดเชื้อต่างๆได้ ยิ่งถ้ามีการระบาดของโรคพยาธิอยู่แล้ว ปลาที่เลือกซื้อมาก็มักจะตายหมด
2.3 สังเกตลักษณะการว่ายน้ำหรือการทรงตัวของปลา ควรสังเกตว่าชนิดปลาที่จะซื้อมีลักษณะการว่ายน้ำอย่างไร เช่น พวกปลานีออน ปลาเสือสุมาตรา ปลาสอด และปลาซิวชนิดอื่นๆ มักชอบว่ายน้ำวนเวียนไปมาตลอดเวลาบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำ ต้องไม่เซื่องซึมลงไปพักอยู่ก้นตู้หรือลอยตัวอยู่แต่ผิวน้ำ พวกปลาเทวดา และปลาปอมปาดัวร์ ชอบว่ายน้ำช้าๆลักษณะเป็นสง่า ต้องไม่ไปซุกตามหินหรือมุมตู้
2.4 สังเกตลักษณะการกางของครีบต่างๆ คือปลาปกติที่ไม่มีปัญหาเรื่องการติดเชื้อหรือการเกิดโรค จะกางครีบออกเกือบตลอดเวลา แต่ปลาที่มีอาการผิดปกติมักจะหุบครีบลู่ติดตัวไม่ค่อยกางออก
2.5 สังเกตสีสันของปลา ควรสังเกตเปรียบเทียบปลาในกลุ่มเดียวกัน ปลาที่มีสีสันสดเข้มกว่า ลวดลายเด่นชัด ย่อมมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแกร่งกว่า
2.6 สังเกตความสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆ ควรเป็นปลาที่มีอวัยวะครบถ้วนตรงตามชนิด ลำตัวโดยเฉพาะคอดหางไม่คดงอ ครีบไม่โค้งพับหรือขาดหายไป
2.7 สังเกตว่าไม่มีปลาตายปะปนอยู่ในตู้ปลาที่จะเลือกซื้อ หรือไม่มีปลาที่แสดงอาการติดเชื้อปะปนอยู่
นอกจากนั้นเมื่อนำปลามาปล่อยเลี้ยงในตู้ที่เตรียมไว้แล้ว หากพบว่าปลาตัวใดมีอาการผิดปกติ ควรรีบแยกปลาดังกล่าวออกไปเลี้ยงต่างหาก จนแน่ใจว่าอาการดีเป็นปกติจึงค่อยนำกลับมาปล่อยเลี้ยงในตู้ต่อไป

3 วิธีการเลี้ยงปลาสวยงาม
ปลาสวยงามแต่ละชนิดมีความต้องการปัจจัยในการเลี้ยงต่างกัน ดังนั้นหากต้องการให้ปลาที่เลี้ยงมีความสวยงาม แข็งแรง และเจริญเติบโตดีตามต้องการ ควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
3.1 ภาชนะสำหรับเลี้ยงปลา ปลาสวยงามแต่ละชนิดจะมีความสวยงามมากขึ้น หากเลือกภาชนะในการเลี้ยงได้ถูกต้องเหมาะสม เช่น ปลาคาร์พ และปลาอะราไพม่า เหมาะที่จะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ภายนอกอาคาร ปลาแรด และปลามังกร เหมาะที่จะเลี้ยงในตู้กระจกขนาดใหญ่และเลี้ยงเพียงตัวเดียวโดดๆ ปลานีออน ปลาก้างพระร่วง ปลาตะเพียนทอง ปลาเสือสุมาตรา ปลาม้าลาย ปลาซิวข้างขวาน ปลาหางนกยูง และปลาสอด เหมาะที่จะเลี้ยงในตู้กระจกขนาดเล็กถึงขนาดกลาง โดยเลี้ยงเป็นฝูงจะยิ่งทำให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น ส่วนปลากัด เหมาะสำหรับเลี้ยงในภาชนะขนาดเล็กเช่นขวดเหลี่ยม หรือขวดโหลรูปทรงต่างๆ
3.2 สถานที่ คือการเลือกที่สร้างบ่อหรือที่จัดวางตู้ปลา พร้อมอุปกรณ์ประกอบอื่นๆให้เหมาะสมสอดคล้องกับอาคาร หรือลักษณะของห้อง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณใด มุมใด หรือห้องใด เพราะเมื่อสร้างบ่อหรือจัดวางตู้เรียบร้อยแล้ว หากเกิดเปลี่ยนใจอยากเปลี่ยนสถานที่ใหม่ จะมีความยุ่งยากในการเคลื่อนย้าย เพราะต้องมีการถ่ายน้ำออกและเคลื่อนย้ายปลา มักมีผลทำให้ปลาบอบช้ำหรือตู้เลี้ยงปลาชำรุดแตกร้าวได้ง่าย โดยเฉพาะหากทำให้ตู้ปลาเกิดการรั่วซึม ก็จะทำให้เกิดปัญหากับบริเวณข้างเคียง หรือการซ่อมแซมตู้อาจทำให้ความสวยงามลดลงได้
3.3 ความหนาแน่นของปลา คือจำนวนปลาที่จะเลี้ยงในแต่ละตู้ไม่ควรให้มีจำนวนมากเกินไป สำหรับปลาบางชนิดอาจต้องเลี้ยงเพียงตัวเดียว เช่นปลามังกร ปลาแรด ปลาเค้า ปลากราย ปลาตองลาย ปลาบู่ ปลาชะโด และปลากัด ไม่เช่นนั้นปลาจะไล่กัดทำอันตรายกันเอง ปลาบางชนิดอาจเลี้ยงเป็นคู่หรือจำนวนไม่มากมายนัก เช่น ปลาออสการ์ ปลาปอมปาดัวร์ ปลาเทวดา และปลาหมอชนิดต่างๆ หรือปลาบางชนิดควรเลี้ยงหลายตัวให้เป็นฝูงหรือเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นๆ แต่ก็ไม่ควรให้มีจำนวนมากมายจนเกินไป เพราะหากมีจำนวนมากเกินไป ปลาจะไม่ค่อยเจริญเติบโต แต่กลับอ่อนแอป่วยเป็นโรคได้ง่าย สำหรับจำนวนปลาที่เหมาะสมนั้นจะขึ้นกับชนิดและขนาดของปลาด้วย ซึ่งผู้เลี้ยงควรจะได้ศึกษาให้ละเอียดรอบคอบ
3.4 การรักษาความสะอาดในภาชนะเลี้ยงปลาหรือตู้ปลา ผู้เลี้ยงควรจะทำความเข้าใจวิธีการทำความสะอาดเพื่อกำจัดสิ่งหมักหมม และตะกอนที่ตกค้างอยู่ในระบบกรองน้ำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเท่ากับเป็นการกำจัดเศษอาหารและมูลที่ปลาขับถ่ายออกมาออกจากตู้ปลา โดยทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จะทำให้ปลาที่เลี้ยงมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว และยังเป็นการช่วยป้องกันการเกิดโรคระบาดปลา ที่อาจเกิดจากเศษอาหารที่บูดเน่าได้
3.5 การถ่ายน้ำในภาชนะเลี้ยงปลาหรือตู้ปลา ถึงแม้ผู้เลี้ยงจะได้หมั่นทำความสะอาดล้างสิ่งหมักหมมในระบบกรองน้ำ โดยเฉพาะระบบกรองน้ำนอกตู้ปลาจะไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำในตู้ปลาเลย หรือถึงแม้จะเป็นระบบกรองน้ำในตู้ปลา ก็อาจจะไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือมีบ้างเพียงเล็กน้อย หรือนานๆจะกระทำครั้งหนึ่ง ปลาอาจเติบโตได้ดีในระยะแรกๆ แต่เมื่อเลี้ยงไปนานๆปลาจะหยุดการเจริญเติบโต สาเหตุเพราะมีสิ่งหมักหมมที่ละลายอยู่ในน้ำซึ่งไม่ได้ถูกกำจัดออกไปพร้อมกับการทำความสะอาด สิ่งหมักหมมดังกล่าวเกิดจากการขับถ่ายของปลาในรูปของสารละลายหรือก๊าซต่างๆ รวมทั้งสารอาหารบางประเภทที่ละลายจากอาหารที่ใช้เลี้ยงปลา สารละลายทั้งหลายนับวันจะมีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ และค่อนข้างรวดเร็วกว่าการเลี้ยงปลาในบ่อดิน เพราะในบ่อดินจะมีขบวนการต่างๆที่ช่วยลดสารอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยเฉพาะขบวนการสังเคราะห์แสงของพรรณไม้น้ำและแพลงตอนพืชทั้งหลาย แต่ในระบบการเลี้ยงปลาสวยงามเป็นการเลี้ยงปลาในสภาพพื้นที่แคบๆและน้ำใส ปราศจากแพลงตอนพืชและมักไม่ค่อยมีพรรณไม้น้ำ จึงทำให้ไม่มีตัวช่วยลดสิ่งหมักหมมที่ละลายอยู่ในน้ำ ถึงแม้จะมองดูเหมือนน้ำมีการไหลเวียน แต่ก็เป็นน้ำเก่าที่ไหลวนเวียนอยู่ภายในตู้ปลา โดยเกิดจากระบบกรองน้ำและการให้อากาศ ฉนั้นน้ำจึงมีการสะสมสิ่งหมักหมมละลายเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆจนมีผลทำให้ปลาชะงักการเจริญเติบโต
ดังนั้นหากต้องการให้ปลามีสุขภาพดี แข็งแรง สีสดใส และมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ก็ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหมดทั้งตู้ แต่ถ่ายออกเพียง 1 ใน 4 ของน้ำที่มีอยู่ด้วยวิธีกาลักน้ำ โดยคะเนจากระดับความลึกของน้ำเป็นหลัก เช่น ตู้เลี้ยงปลาที่ใส่น้ำสูงประมาณ 40 เซ็นติเมตร จะถ่ายน้ำออกให้ระดับน้ำลดลง 10 เซ็นติเมตรก็พอ แล้วเติมน้ำใหม่ให้ได้ระดับเดิม กระทำเช่นนี้สัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง จะทำให้น้ำมีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการดำรงชีพของปลาอยู่เสมอ นอกจากนั้นหากต้องการเร่งให้ปลามีการเจริญเติบโตเร็วขึ้นเป็นพิเศษ อาจทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน เช่นการเลี้ยงปลาทอง หากปล่อยปลาค่อนข้างน้อยแล้วเปลี่ยนถ่ายน้ำและทำความสะอาดทุกวัน จะทำให้ปลาทองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีขนาดตัวโตอย่างเด่นชัด
3.6 การให้อาหารปลาสวยงาม การเลี้ยงปลาสวยงามก็เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์บกโดยทั่วไป คือต้องให้อาหารทุกวัน เพราะปลาสวยงามที่เลี้ยงในตู้ไม่สามารถหาอาหารธรรมชาติกินได้ และยังมีความเคยชินกับการได้รับอาหารทุกวัน ดังนั้นหากปลาถูกปล่อยให้อดอาหารเป็นเวลา 2 - 3 วัน ก็จะทำให้ปลามีสุขภาพเสื่อมโทรมและมักทำอันตรายกันเอง นอกจากนั้นการให้อาหารปลาสวยงามยังมีข้อปลีกย่อยที่ควรพิจารณาดังนี้
3.6.1 การให้อาหารเป็นเวลา เพื่อให้ปลาเกิดความเคยชิน อย่าให้แบบพร่ำเพรื่อ คือ อยากให้เมื่อไหร่ก็ให้ หรือเข้าไปดูปลาครั้งใดเห็นปลาว่ายเข้ามาเหมือนต้องการอาหาร ก็ให้อาหารปลาทุกครั้ง การให้อาหารปลาแบบพร่ำเพรื่อจะทำให้มีเศษอาหารเหลือตกค้างในระบบกรองน้ำค่อนข้างมาก แล้วเกิดการบูดเน่าเป็นตัวการทำให้ปลาเกิดโรคระบาดได้ง่าย การให้อาหารปลาสวยงามในแต่ละวันควรให้เพียง 2 ครั้ง ในตอนเช้าและเย็นก็เป็นการเพียงพอสำหรับปลา
3.6.2 พิจารณาถึงชนิดของปลา แล้วเลือกชนิดของอาหารให้เหมาะสม โดยเฉพาะขนาดของเม็ดอาหารควรให้เหมาะสมที่ปลาจะฮุบกินได้ง่าย
3.6.3 พิจารณาถึงวัยของปลา ถ้าเป็นปลาวัยอ่อนก็จะต้องให้บ่อยครั้งมากขึ้น อาจเป็นวันละ 3 - 4 ครั้ง
3.7 อุณหภูมิของน้ำในตู้ปลา ผู้เลี้ยงปลาสวยงามจะต้องรำลึกอยู่เสมอว่าปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น กิจกรรมต่างๆของร่างกายจะปรับไปตามอุณหภูมิน้ำ ดังนั้นในฤดูหนาวการเผาผลาญอาหารภายในร่างกายก็จะลดลงตามอุณหภูมิน้ำ นั่นหมายถึงปลามีความต้องการอาหารลดลง ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องลดปริมาณอาหารที่ให้ลง และควรให้อาหารเพียงวันละครั้งในตอนบ่ายหรือเย็น แต่ถ้าหากต้องการให้ปลากินอาหารตามปกติ ก็อาจกระทำโดยใช้เครื่องให้ความร้อนที่ควบคุมอุณหภูมิได้ ก็จะทำให้ปลาที่เลี้ยงมีความสดชื่น แข็งแรง และกินอาหารได้ตามปกติ
3.8 แสงสว่าง การเลี้ยงปลาสวยงามในตู้กระจกมักตั้งตู้ปลาอยู่ภายในห้องหรือในอาคาร และมักตั้งในบริเวณที่ไม่ได้รับแสงแดด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดตะไคร่น้ำหรือเกิดน้ำเขียวในตู้เลี้ยงปลา ดังนั้นการเพิ่มแสงสว่างในตู้เลี้ยงปลาจึงมีความจำเป็น เพื่อเพิ่มความสวยงามและเป็นการช่วยให้ปลาแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยให้พรรณไม้น้ำมีการสังเคราะห์แสงเจริญเติบโตได้ ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตหลอดนีออนที่เป็นแสงแดดเทียม สำหรับใช้กับการเลี้ยงปลาสวยงามติดที่ฝาตู้ ผู้เลี้ยงควรเลือกใช้หลอดชนิดดังกล่าว โดยเปิดให้ปลาในเวลากลางวันและตอนหัวค่ำ เมื่อเลิกใช้ห้องหรือก่อนเข้านอนก็ควรจะปิดไฟ เพื่อให้ปลาได้มีการพักผ่อน เพราะเมื่อไม่มีแสงสว่างปลาส่วนใหญ่จะลดกิจกรรมลง เช่น ว่ายน้ำช้าลง
3.9 การจับปลาหรือการเคลื่อนย้ายปลา หากไม่มีความจำเป็นไม่ควรมีการจับปลาหรือเคลื่อนย้ายปลาออกจากตู้ปลาอย่างเด็ดขาด เพราะการจับหรือการเคลื่อนย้ายปลาไม่ถูกวิธีหรือไม่ชำนาญ มักทำให้ปลาบอบช้ำ เกล็ดหลุด เกิดบาดแผล พิการ หรือตายได้ หากจำเป็นต้องจับปลาหรือเคลื่อนย้ายปลา เช่น ในกรณีล้างตู้ปลาหรือเปลี่ยนตู้ปลา ก็ต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยไม่ควรช้อนปลาพ้นจากน้ำ โดยเฉพาะการใช้กระชอนช้อนปลาพ้นน้ำขึ้นมา เพราะเมื่อปลาพ้นน้ำขึ้นมาปลาจะกระโดดพลิกไปมาในกระชอน อาจเกิดการทับครีบของตัวปลาเอง หรือหากช้อนปลาหลายตัวพร้อมกัน ปลาจะกระโดดทับกระแทกกันไปมา ผลก็คือการจับปลามักทำให้ปลาเกล็ดหลุด เกิดบาดแผล หรือครีบหักพับกลายเป็นปลาพิการไปได้ วิธีการที่เหมาะสม คือ ควรใช้ภาชนะที่ใหญ่กว่าตัวปลา เช่น ขัน หรือถังพลาสติก ใส่ลงในตู้ปลาแล้วค่อยๆไล่ปลาโดยอาจใช้กระชอนช่วย ค่อยๆไล่ปลาเข้าภาชนะ แล้วยกขึ้นทั้งปลาและน้ำ อาจใช้กระชอนช่วยปิดปากภาชนะกันปลากระโดดสำหรับปลาบางชนิดด้วย แล้วย้ายปลาไปลงในภาชนะที่เตรียมไว้ จะลดความบอบช้ำของปลาได้ นอกจากนั้นหากภายในตู้ปลามีหินประดับหรือเครื่องประดับต่างๆ ก็ควรนำออกจากตู้ปลาก่อน และไล่ปลาช้าๆอย่าให้ปลาตื่นตกใจมากนัก เพราะปลาอาจวิ่งชนขอบตู้หรือซุกไปตามปะการัง ทำให้เกิดบาดแผลได้
3.10 น้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาสวยงาม จะต้องเป็นน้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการดำรงชีพของปลา และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะต้องใส เพราะสิ่งสำคัญสำหรับการเลี้ยงปลาสวยงามคือต้องการมองเห็นปลาสวยงามอย่างชัดเจน มองดูน้ำใสสะอาด สำหรับประเภทของน้ำและคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม
3.11 โรคพยาธิและการป้องกันรักษา การเลี้ยงปลาสวยงามเป็นการเลี้ยงในพื้นที่แคบๆ ที่ขาดความสมดุลย์ของระบบนิเวศน์ จึงมักทำให้ปลาเกิดอาการผิดปกติได้ง่าย โดยเฉพาะการเกิดโรคระบาดต่างๆ ผู้เลี้ยงจำเป็นจะต้องหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของปลาที่เลี้ยงอยู่เสมอ เช่น ลักษณะอาการว่ายน้ำ การกินอาหารน้อยลง หรือการเกิดผิดปกติของร่างกาย ได้แก่ สีซีดลง เมือกมากขึ้น หรือตกเลือด จะต้องรีบดำเนินการแก้ไข