วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลาหางไหม้

ปลาหางไหม้เป็นปลาน้ำจืดพบตามแม่น้ำ ลำคลองเฉพาะที่ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในต่างประเทศ ชาวบ้านจับปลาหางไหม้ได้ด้วย ยอยก หรือ ลี่ แต่การพบปะปนกับปลาอื่นๆ เคยพบชุกชุมในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ตามแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำน่าน ปัจจุบันในประเทศไทยหายาก เข้าใจกันว่าคงจะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ยังพบในต่างประเทศ เช่น บอร์เนียว สุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มลายู และแม่น้ำโขงในแคว้นเขมราช สาธารณรัฐกัมพูชา ปลาหางไหม้เป็นปลาเผ่าพันธุ์เดียวกับปลาตะเพียนขาว ปลาหางไหม้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Balantiocheilos melanopterus ( บา-แลน-ทิ-โอ-ไซ-โลส เม-ลา-นอพ-เทอ-รัส ) ชาวต่างประเทศรู้จักดีในชื่อ Silver shark ( ซิล-เวอร์ ชาร์ค ) คนไทยอาจรู้จักปลาตัวนี้ในชื่อ ปลาหางเหยี่ยว ปลาหนามหลังหางดำรูปร่างลักษณะ ปลาหางไหม้มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ลำตัวเพรียวยาว ส่วนหัวแหลมเล็ก สันท้องเป็นเหลี่ยมกว้าง ส่วนครีบต่างๆสีสีเหลืองอ่อนและมีสีดำขลิบที่ริมโคนครีบ ทุกครีบยกเว้นครีบหู เกล็ดบนเส้นข้างตัวมี 34-35 เกล็ด ครีบหลังและครีบท้องตั้งต้นตรงแนวเดียวกัน ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 3 ก้านและก้านครีบอ่อน 8 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 ก้าน และก้านครีบอ่อน 9 ก้าน ครีบหูมีแต่ก้านครีบอ่อน 18 ก้าน ปากปลาหางไหม้ยืดหดได้ ไม่มีฟัน ริมฝีปากบนยื่นยาวกว่าริมฝีปากล่าง ในต่างประเทศอาจยาวถึง 35 เซนติเมตร ในประเทศไทยยาวประมาณ 20เซนติเมตร ปลาหางไหม้สังกัดอยู่ในครอบครัว Cyprinidaeการเลี้ยงปลาหางไหม้ ปลาหางไหม้เลี้ยงปนกับปลากะมังในตู้กระจก หาอาหารกินตามพื้นก้นตู้โดยใช้ปากซึ่งยืดหดได้คอยดูดอาหารตามซอกหิน ปลาหางไหม้มีนิสัยตกใจง่ายเลี้ยงให้เชื่องต้องใช้เวลานาน ถ้าตกใจสามารถกระโดดให้สูงถึง 2 เมตร ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ตัวโตหาอาหารกินโดยการใช้ปากไล่ชนปลาตัวเล็ก ตามธรรมชาติสามารถเลี้ยงได้ในบ่อดินเช่นเดียวกับปลาตะเพียน ให้อาหารเม็ดเช่นเดียวกับปลาตะเพียนขาวการขยายพันธุ์ปลาหางไหม้ ปลาหางไหม้ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติเช่นเดียวกับปลาตะเพียนขาว คือตอนต้นฤดูฝนราวเดือนพฤษภาคม ปลาเพศเมียท้องเริ่มอูมตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ปลาเพศเมียเวลาตั้งท้องมีไข่จะมีนิสัยดุร้าย ว่ายน้ำเข้าชนปลาที่เข้าใกล้ ต่อเมื่อไข่แก่เต็มที่ปลาเพศผู้จึงสามารถว่ายเคล้าเคลียจับเป็นคู่ๆได้ ปลาที่ว่ายเคล้าเคลียกันจะกระตุ้นเร่งเร้าการวางไข่โดยการใช้ปากชนบริเวณท้องและบริเวณช่องออกไข่ซึ่งกันและกัน ในเดือนพฤษภาคมปลาเพศเมียท้องอูมเป่งเห็นได้ชัด รูก้นสีแดงเรื่อๆ ช่องออกไข่มีสีเข้มเป็นติ่งกลมใหญ่ ขนาดแม่พันธุ์หนักประมาณ 155 กรัมจะให้ไข่ 6,000-7,000 ฟอง ปลาเพศผู้ที่เคล้าเคลียจะมีขนาดหนักประมาณ 126 กรัม การเพาะพันธุ์โดยวิธีการกระตุ้นต่อมใต้สมองของปลาไน ฉีดให้แก่แม่ปลาครั้งแรก ปริมาณ 0.5 โดส ผสมฮอร์โมนซีจี 50 ไอ.ยู.ทิ้งระยะ 6 ชั่วโมงครึ่งโดยปล่อยรวมไว้กับพ่อปลาแล้วฉีดแม่ปลาครั้งที่สองด้วยต่อมใต้สมองปลาไนอีก 1.5 โดสผสมฮอร์โมนซีจี 50 ไอ.ยู.แล้วปล่อยให้อยู่ด้วยกัน 12 ชั่วโมง จึงนำมาทำให้สลบด้วย ควินอลดิน รีดไข่และน้ำเชื้อคนด้วยขนไก่นาน 30 นาที ล้างไข่ด้วยน้ำ 2 ครั้ง นำไข่ไปโรยในกระชังผ้า ไข่ที่รีดออกมามีสีน้ำตาลปนแดง หลังจากไข่ผสมน้ำเชื้อแล้วประมาณ 5-6 นาทีไข่จะเริ่มพองน้ำจนมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาลใสมองเห็นถุงอาหารมีช่องระหว่างเปลือกไข่กับถุงอาหาร ไข่ปลาหางไหม้จะจมลงสู่ก้นกระชัง ฟักตัวในอุณหภูมิน้ำเฉลี่ย 2 7.5 องศาเซลเซียสในเวลา 13 ชั่วโมงหลังจากการผสม ถุงอาหารยุบในเวลา 3 วัน ลูกปลาเริ่มกินอาหารในวันที่ 4 อาหารเป็นพวกแพลงค์ตอนสัตว์และพืช ไรแดง และให้อาหารเม็ด ลูกปลาอายุ 50 วัน จะมีลักษณะเหมือนพ่อแม่ปลา แต่ขลิบต่างบนครีบยังไม่เด่นชัด ปลาหางไหม้ในปัจจุบันนี้มีเลี้ยงเพื่อเป็นปลาสวยงาม ขายภายในและส่งออกจำหน่ายต่างประเทศเท่านั้น ไม่นิยมนำมาปรุงเป็นอาหารเนื่องจากหาไม่ได้

การเลี้ยงปลาจีน

ปลาจีนเป็นปลาที่มีต้นกำเนิดมาจากลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ประเทศจีน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิดคือ ปลาไน ปลาเฉา ปลาลิ่น ปลาซ่ง และปลาเฉาดำ แต่มีเพียง 3 ชนิดที่นิยมเลี้ยงรวมกันคือ ปลาเฉา ปลาลิ่น และปลาซ่ง ส่วนปลาไนนั้นเลี้ยงกันจนเป็นปกติวิสัยฟและบางท่านไม่นับเป็นปลาจีน ปลาจีนทั้งสามชนิดดังกล่าว ในปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ได้ในประเทศไทยปี พ.ศ.2509 หลังจากที่ได้ประสพผลสำเร็จแล้วในอินเดีย ( ค.ศ. 1962) ในไต้หวัน ( ค.ศ. 1963) และในสาธารณรัฐสหภาพโซเวียตรัสเซีย ( ค.ศ. 1966 ) ปลาจีนเติบโตได้รวดเร็ว เนื้อมีรสดี แต่ตลาดจำหน่ายค่อนข้างจำกัดปลาเฉา หรือ เฉาฮื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ctenopharyngodon idellus ( ซี-โน-ฟา-ริ้ง-โก-ดอน-เดล-ลัส) ปลาลิ่น ปลาเล่ง ลิ่นฮื้อหรือเล่งฮื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypophthalmichthys molitrix ( ไฮ-โพพ-ทาล-มิค-ทีส์-โม-ลิ-ทริกส์ ) ส่วนปลาซ่งหรือซ่งฮื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aristichthys nobilis ( อะ-ริส-ทีส์-โน-บิ-ลีส ) รูปร่างลักษณะ ปลาจีนทั้งสามชนิดเป็นปลาจำพวกเดียวกับปลาไน รูปร่างและลักษณะคล้ายกัน มีลักษณะต่างกันมองเห็นได้ง่ายๆคือ ปลาเฉา เป็นปลาที่มีเกล็ดใหญ่เช่นเดียวกับปลาไน ลำตัวกลมยาวคล้ายกระบอกไม้ไผ่ สีตามลำตัวค่อนข้างเขียว ที่สำคัญคือชอบหากินอยู่ตามผิวน้ำ หรือว่ายน้ำยู่ตามผิวหน้าน้ำ ส่วนปลาลิ่นและปลาซ่งนั้นมีเกล็ดละเอียด ปลาลิ่นตัวแบนข้าง สีเงิน ท้องเป็นสันที่บริเวณตั้งแต่กระพุ้งแก้มเรื่อยไปจนถึงครีบก้น หากินอยู่ตามบริเวณกลางน้ำในระดับ 1-1.5 เมตร ส่วนปลาซ่งนั้น หัวค่อนข้างใหญ่ หลังสีดำ ตัวสีคล้ำ ท้องเป็นสันตั้งแต่ครีบท้องถึงครีบก้น หากินตามพื้นดินก้นบ่อ ปลาจีนทั้งสามชนิดอยู่ในครอบครัวเดียวกัน คือ Cyprinidae (ไซ-บริ-นิ-ตี้ )การเพาะพันธุ์ปลาจีน ปลาจีนทั้งสามชนิดไม่วางไข่กับเองตามธรรมชาติ แต่สามารถใช้วิธีผสมเทียมฉีดฮอร์โมนเร่งให้ปลาวางไข่ได้ พ่อแม่พันธุ์ต้องเลือกเอาที่มีน้ำเชื้อสมบูรณ์และมีไข่แก่เต็มที่ อายุประมาณ 2-4 ปี น้ำหนักประมาณ 1.5-5 กิโลกรัม แม่พันธุ์ฉีดต่อมใต้สมองของปลาไนหรือปลาชนิดเดียวกันในอัตรา 0.5 -2 โดส 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 5-8 ชั่งโมง ครั้งแรกอาจฉีดในอัตราน้อยกว่าครั้งที่สอง พ่อพันธุ์ฉีดต่อมใต้สมองของปลาไน หรือปลาชนิดเดียวกันอัตรา 0.5-1.5 โดส เพียงครั้งเดียว 8 ชั่วโมงก่อนการผสมไข่กับน้ำเชื้อในเวลาเช้ามืด 04:30-6:00 น. ปลาเฉานั้น ไข่ที่รีดออกมาใหม่ๆมีสีเหลืองปนน้ำตาลเล็กน้อย มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.0 มิลลิเมตร เมื่อผสมน้ำเชื้อแล้ว ไข่จะดูดน้ำเส้นผ่าศูนย์กลางเป็น 4.0-5.0 มิลลิเมตร จะฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 13-14 ชั่วโมง อุณหภูมิน้ำ 27-33 องศาเซลเซียส แม่ปลาตัวหนึ่งๆจะให้ลูกปลา 5,000-10,000 ตัว ปลาลิ่นนั้น ไข่ปลาจะมีสีเทา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0-1.4 มิลลิเมตร เมื่อผสมน้ำและพองน้ำแล้วจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-5.0 มิลลิเมตร ฟักออกเป็นตัวภายใน 14-16 ชั่วโมง อุณหภูมิน้ำ 27-33 องศาเซลเซียส แม่ปลาตัวหนึ่งๆจะให้ลูกปลา 5,000-10,000 ตัว ปลาซ่งนั้น ไข่ปลาจะมีสีเหลืองทองปนน้ำตาลเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.0 มิลลิเมตร เมื่อผสมน้ำเชื้อและพองน้ำแล้วจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.0-5.0 มิลลิเมตร ฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 15-19 ชั่วโมง แม่ปลาตัวหนึ่งๆจะให้ลูกปลา 10,000-20,000 ตัว ไข่ปลาทั้งสามชนิดฟักออกเป็นตัวโดยใช้ระบบน้ำหมุนเวียนขึ้นสู่ผิวน้ำ การเตรียมต่อมใต้สมอง นำต่อมใต้สมองมาบดในในแก้วสำหรับบด หรือ โกร่งแก้ว ให้ละเอียด ผสมด้วยน้ำกลั่น บริสุทธ์และน้ำเกลือ ( น้ำเกลือมีความเข้มข้น 0.7 เปอร์เซ็นต์ หรือน้ำเกลือที่ใช้ฉีดยาโดยทั่วไป ) นำน้ำยาที่ผสมไปปั่นให้ตกตะกอนแล้วใช้หลอดแก้วพร้อมเข็มฉีดยาดูดแต่น้ำใสๆนำไปฉีด ถ้าต่อมสะอาดก็ไม่จำเป็นต้องนำไปปั่นให้ตกตะกอน น้ำกลั่นหรือน้ำเกลือที่ใช้ผสมนั้นไม่ควรเกิน 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ( ลบ.ซม. หรือ ซีซี )การให้อาหารลูกปลา ประมาณ 2-3 วันหลังจากลูกปลาฟักออกจากไข่ ถุงอาหารหน้าท้องจะยุบ เริ่มให้อาหารแก่ลูกปลาได้ ในระยะ 3-7 วันแรก ให้ไข่แดงต้มสุกบดละเอียด ในระยะ 8-15 วัน ให้ไข่แดงต้มสุกปนกับข้าวสาลีร่อนด้วยแล่งร่อนแป้งเป็นอาหาร ต่อจากนั้นให้อาหารแป้งสาลีปนกับรำละเอียดร่อนด้วยแล่งร่อนแป้งเป็นอาหารบ่อเลี้ยงลูกปลา ในขณะที่ถุงไข่ยังไม่ยุบ ให้ฟักลูกปลาในถุงฟักไข่ เมื่อลูกปลาอายุได้ 2-7 วัน จึงนำลงอนุบาลในบ่อ 1.5 ด 2.5 ด 1 เมตร ต่อจากนั้นนำลงเลี้ยงในบ่อขนาด 400 ตารางเมตรการเตรียมบ่อเลี้ยง บ่อเลี้ยงลูกปลาจีนควรเป็นบ่อดิน มีความลึกประมาณ 1 เมตร ขนาดของบ่อไม่ควรเกิน 400 ตารางเมตร เลี้ยงลูกปลาจีนให้ได้ขนาด 12-15 เซนติเมตร จึงย้ายไปเลี้ยงในบ่อดินใหญ่ความลึกไม่เกิน 2.5 เมตร ขนาดประมาณ 400 ตารางเมตรขึ้นไป อัตราการเลี้ยงลูกปลาใช้ 5-10 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนบ่อดินใหญ่ใช้อัตรา 40 ตัวต่อตารางเมตร ปลาจีนนั้นนิยมเลี้ยงรวมกันทั้งสามชนิด โดยใช้อัตราส่วน ปลาเฉา 7 ตัว ปลาลิ่น 2 ตัว และปลาซ่ง 1 ตัว ลูกปลาสามารถคัดได้ง่ายๆโดยการรวบรวมปลาไว้ในถังไม้ลึกประมาณ 1 เมตร ลูกปลาที่ว่ายลอยอยู่ผิวหน้าน้ำคือลูกปลาเฉา ลูกปลาที่ว่ายเป็นกลุ่มอยู่ในระดับกลางๆถัง คือ ลูกปลาลิ่น และลูกปลาที่ว่ายอยู่ก้นถังคือลูกปลาซ่ง การเตรียมบ่อเลี้ยง ควรใช้ปุ๋ยคอกเพาะจุลินทรีย์ ในน้ำในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อ 10 ตารางเมตร และควรกองหญ้าหมักไว้ตามมุมบ่อด้วย เมื่ออาหารบริบูรณ์ ปลาจะได้ขนาดไม่ต่ำกว่า 20 เซฯติเมตร และหนักไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม ในระยะเวลา 6 เดือน ตลาดนิยมปลาขนาดไม่เกินตัวละ 1 กิโลกรัมการให้อาหารเสริม เกี่ยวหญ้าขนเลี้ยงปลาเฉาทุกวัน โดยจัดให้กินตามบ่อเป็นแหล่งๆไป อาหารเสริมถ้าจะให้ก็มี กากถั่ว ผักบุ้ง ผักชนิดต่างๆ ลูกปลาอาจให้รำละเอียดเป็นอาหาร ส่วนปลาลิ่นนั้นอาศัย จุลินทรีย์ที่เกิดจากมูลปลาเฉาเป็นอาหารเช่นเดียวกับปลาซ่ง ถ้าปลาอดอาหาร ปลาซ่งจะหาหอยตามพื้นดินก้นบ่อกินเป็นอาหารการจำหน่ายปลาจีน ปลาจีนมีตลาดจำกัด ยังไม่มีวางขายโดยทั่วไป การขายปลาต้องติดต่อกับผู้ซื้อซึ่งจะมีเป็นบางท้องที่ เช่น ตลาดเก่าเยาวราช และตามร้านขายอาหารจีน ปลาจีนจำหน่ายในขณะที่ปลายังมีชีวิตอยู่ ก่อนนำมาจำหน่ายต้องจับปลาให้อยู่ในน้ำสะอาดอย่างน้อย 2 วัน ขนาดที่จำหน่ายนั้น ตั้งแต่ 0.5-1.0 กิโลกรัม หรือขนาดใส่จานเปลพอดี เมื่อปลาติดตลาด ผู้ซื้อจะคัดปลาเองที่บ่อเลี้ยง ส่วนมากการซื้อขายจะผูกพันกันเป็นลูกโซ่ เช่น ถ้าผู้เลี้ยงซื้อลูกปลาของผู้ขาย ผู้ขายคัดจำหน่ายปลาโตให้ ดังนี้เป็นต้น ราคาจำหน่ายอยู่ระหว่าง 15-20 บาทต่อกิโลกรัม ผู้ขายปลีกตามตลาดสดมักจะแบ่งปลาขายตัวหนึ่ง 2 ท่อนเท่านั้น คือท่อนหัวและท่อนหางการแปรรูปปลาจีน ปลาจีน ทำเป็นอาหารได้เช่นเดียวกับปลาน้ำจืดอื่นๆทั่วๆไป นอกจากการขอดเกล็ด ควักไส้ ทำความสะอาดบริเวณท้องแล้ว สิ่งที่สำคัญคือ เยื่อบุช่องท้องที่เป็นสีดำต้องดึงออกทิ้งให้หมด มิฉะนั้นอาจทำให้ปลามีรสขมไม่น่ารับประทานได้ ปลาจีนมีก้างมากคล้ายปลาตะเพียน

ปลากะรัง

ปลากะรังหรือบางคนเรียกว่าปลาตุ๊กแก,อ้ายเก๋า,ราปู หรือชาวจีนเรียกว่า เก๋าฮื้อ ในมาเลเซียเรียก kerapu ในภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกทั่วไปว่า grouper ถูกจัดอยู่ในครอบครัว serranidae เป็นปลาทะเลจำพวกหนึ่งซึ่งมีอยู่มากมายหลายชนิดตั้งแต่ ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่อาศัยอยู่ตามแถบชายฝั่งหน้าดิน ที่ก้นทะเลและบริเวณที่มีเกาะแก่งหินกองใต้น้ำและหินปะการัง โดยทั่วไปบางครั้งเข้ามาอาศัยปากแม่น้ำเพื่อหาอาหาร อาศัยในแถบโซนร้อนและอบอุ่น มีนิสัยไม่ชอบอยู่ร่วมกับฝูง กินปลาเล็กๆตลอดจนสัตว์น้ำอื่นๆเป็นอาหารเลี้ยงง่าย อดทน แข็งแรง และเจริญเติบโตเร็ว สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและในกระชังเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื้อมีรสดี มีผู้นิยมบริโภคมากโดยเฉพาะในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในตลาดการค้าของสิงคโปร์ นิยมปลาที่มีขนาดน้ำหนัก 600-900 กรัม ราคาของปลาเป็นอยู่ระหว่าง 300-500 บาท ปลากะรังหรือปลาเก๋าที่นิยมเลี้ยงกันส่วนมากคือ ปลากะรังจุดสีน้ำตาล หรือปลาเก๋าดอกแดงหรือปลากะรังปากแม่น้ำการเพาะพันธุ์ปลากะรังการเพาะพันธุ์ปลากะรังได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จครั้งแรกที่สถานีประมงน้ำกร่อย จ.สตูล ในวันที่ 7 ธันวาคม 2534 ในครั้งนั้นได้ใช้แม่พันธุ์ที่เลี้ยงในกระชัง แล้วนำมาเลี้ยงต่อในบ่อซีเมนต์ขนาด 50 ตัน ประมาณ 3 เดือน ส่วนพ่อพันธุ์ได้นำปลาขนาด 3-5 กิโลกรัม มาเลี้ยงโดยใช้เนื้อปลาผสมกับ Methyl testostorone ในอัตรา 1 mg./น้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 2 เดือน เสร็จแล้วก็ดำเนินการคัดพ่อแม่พันธุ์ ปลากะรังมาฉีดฮอร์โมนผสมเทียมแล้วรีดไข่ออกมาผสมกับน้ำเชื้อได้เป็นผลสำเร็จในช่วงปี 2526-2527 และได้ทำการผสมพันธุ์แบบธรรมชาติในบ่อซีเมนต์กลางแจ้งขนาด 80 ตัน ซึ่งปรากฏว่า ได้รับผลสำเร็จเป็นครั้งแรกในวันที่ 23 ตุลาคม 2527 และปลาสามารถวางไข่ติดต่อกันเป็นเวลา 8 วัน และครั้งหลังก็วางไข่ติดต่อกันอีก 6 วัน สามารถรวบรวมไข่ได้ครั้งละประมาณ 500,000 - 1,000,000 ฟอง โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์จำนวน 30 ตัว (เพศผู้-เพศเมีย) อย่างละ 15 ตัว แล้วนำไข่ที่ได้ไปฟักในบ่อฟักการศึกษาเพาะพันธุ์ลูกปลากะรังที่ได้ดำเนินการไปแล้วในประเทศไทยแบ่งได้ 3 วิธีคือ การเพาะพันธุ์ปลากะรังโดยวิธีการผสมเทียม ประสบผลสำเร็จครั้งแรกที่สถานีประมงน้ำกร่อยจังหวัดสตูล พ่อแม่พันธุ์ปลาที่นำมาทดลองเป็นปลาที่รวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติ นำมาเลี้ยงในกระชังจนถึงวัยเจริญพันธุ์ เนื่องจากปลากะรังเป็นปลาที่มีการเปลี่ยนเพศ ดังนั้นการเตรียมปลาเพศผู้จึงใช้วิธีให้ฮอร์โมนเพศชายคือ เมททิลเทสโตสเตอโรน 1 มิลลิกรัม/ปลา 1 กิโลกรัมผสมในเนื้อปลาที่ใช้เลี้ยงพ่อพันธุ์ปลาโดยใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ปลาจะมีน้ำเชื้อเมื่อจะผสมเทียมใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ HCG และต่อมใต้สมองของปลาจีนฉีดปลาที่มีสภาพพร้อมจะผสมเทียมคือเพศเมียมีไข่พัฒนาถึงระดับฉีดฮอร์โมนได้(ไม่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 400 ไมครอน) โดยฉีดปลาเพศเมีย 2 เข็มคือ เข็มที่ 1 ฉีดต่อมใต้สมองปลาจีน 2 มิลลิกรัมกับฮอร์โมนสังเคราะห์ HCG 400-500 IU/กิโลกรัม หลังจากนั้นอีก 24 ชั่วโมง ถ้าการพัฒนาไข่ปลายังไม่ถึงขั้นพร้อมผสม (Fertilization) จะฉีดเข็มที่ 2 ด้วยต่อมใต้สมองปลาจีน 4 มิลลิกรัมร่วมกับ HCG 800-1000 IU/กิโลกรัม ส่วนปลาเพศผู้จะฉีดครั้งเดียวพร้อมกับการฉีดปลาเพศเมียเข็มที่ 2 โดยฉีดต่อมใต้สมอง 2 มิลลิกรัมร่วมกับ HCG 500 IU/กิโลกรัม หลังจากนั้น 12 ชั่วโมง จะทำการรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อ การเพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นให้ปลาผสมพันธุ์วางไข่ในบ่อ เพราะในบางพื้นที่ปลาจะไม่วางไข่แบบธรรมชาติ จากการทดลองพบว่า ระยะเวลาที่เหมาะสมในการฉีดฮอร์โมนอยู่ในช่วงระยะข้างขึ้นและข้างแรม 11-14 ค่ำ ฮอร์โมนที่ใช้ฉีดกระตุ้นได้แก่ ต่อมใต้สมองปลาจีน 2-3 มิลลิกรัม ร่วมกับฮอร์โมนสังเคราะห์ HCG หรือ Pregny 300-500 IU/กิโลกรัม หรือฉีดด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์แต่เพียงอย่างเดียว เช่นใช้ Puleerogen ฉีดปลาเพศผู้ 25-30 IU/กิโลกรัม เพศเมีย 60-80 IU/กิโลกรัม หรือเพศผู้ฉีด 50 IU/กิโลกรัม เพศเมียฉีด 100 IU/กิโลกรัม การเพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีวางไข่แบบธรรมชาติ ในธรรมชาติแล้วปลากะรังวางไข่ในฤดูมรสุมประมาณเดือนตุลาคม-กุมภาพันธุ์ ก่อนถึงฤดูวางไข่ประมาณ 2 เดือน พ่อแม่พันธุ์จะถูกนำมาเลี้ยงรวมกันในบ่อซีเมนต์โดยการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการผสมพันธุ์ปล่อยลงบ่อและจัดการควบคุมสิ่งแวดล้อมในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลา เช่น กระตุ้นให้ปลาผสมพันธุ์วางไข่โดยการเปลี่ยนน้ำ เพิ่มน้ำ และใช้ระบบน้ำไหลในช่วงระยะเวลาวางไข่ตั้งแต่ขึ้นหรือแรม 10 ค่ำเป็นต้นไป การเพิ่มและลดระดับน้ำยังทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นปัจจัยในการกระตุ้นให้ปลาผสมพันธุ์วางไข่ดีขึ้น การให้อาหารจะให้เพียง 1-2 % ของน้ำหนักรวมทั้งการเสริมอาหารเช่น วิตามินอี เกลือแร่ เพื่อให้พ่อแม่พันธุ์ปลามีความสมบูรณ์ในการพัฒนาไข่และน้ำเชื้อการอนุบาลลูกปลากะรังการดูดตะกอนการย้ายลูกปลาควรทำเฉพาะในวันแรกที่ลูกปลาฟักเป็นตัว ลูกปลาที่มีอายุ 1-10 วันแรก จะกระจายอยู่ทุกระดับความลึกของน้ำในถังหรือบ่ออนุบาล การให้ฟองอากาศต้องเพียงพอที่จะให้มวลน้ำเคลื่อนเบาๆ อย่างทั่วถึงเพื่อมิให้ลูกปลาได้รับการกระทบกระแทกหรือสัมผัสอากาศเฉพาะในช่วงอายุ 1-4 วัน เพราะถ้าลูกปลาหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของลูกปลาอยู่เหนือน้ำเพียง 12 วินาที ลูกปลาจะตายภายใน 1 วัน(ลูกปลาโดยทั่วไปหลังจากฟักเป็นตัวลูกปลาจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 5 วัน โดยการใช้ไข่แดงและหยดน้ำมันที่ติดมากับตัวโดยไม่ต้องกินอาหาร)การเพาะพันธุ์ปลาเก๋าหรือปลากะรังไม่ค่อยมีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่ช่วงอนุบาลเป็นสำคัญ การอนุบาลลูกปลาให้เจริญเติบโตเป็นปลา 1-3 นิ้ว เพื่อให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงในกระชังหรือบ่อยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ลูกปลาจะตายมากใน 3 สัปดาห์แรกถึง 1 เดือน เพราะลูกปลาขาดสารอาหารโดยเฉพาะกรดไขมันซึ่งลูกปลาต้องการมาก ปกติแล้วการอนุบาลลูกปลาจะใช้ไรน้ำเค็มหรืออาร์ทีเมียซึ่งทั้งสองชนิดนี้กรดไขมันมีน้อยมาก ลูกปลาจะขาดสารอาหาร อ่อนแอ และตายในที่สุดสำหรับวิธีการหรือขั้นตอนการเสริมกรดไขมันจะใช้ไข่แดงเป็นตัว (emulsifier) เพราะโดยปกติกรดไขมันคือ น้ำมันซึ่งไข่ละลายน้ำสูตรผสม จะใช้ไข่แดง 2 ฟอง/น้ำมันซึ่งสกัดจากตัวปลาทะเล 50 ซีซี นำไปปั่นรวมกันประมาณ 2-3 นาที ให้เข้ากัน จากนั้นเติมน้ำอีกประมาณ 100-200 ซีซี ปั่นอีกครั้งเพื่อให้ไข่แดงเป็นตัวจับแยกน้ำมันผสมเคล้ากันและนำไปให้อาร์ทีเมียกินกรดไขมันถ้าให้ลูกปลากินจะให้อาร์ทีเมียกินกรดไขมัน 12 ชั่วโมงก่อน แล้วจึงนำไปให้ลูกปลากินแต่ถ้าอาร์ทีเมียตัวใหญ่จะให้อาร์ทีเมียกินกรดไขมันแค่ 6 ชั่วโมงช่วงอนุบาลลูกปลาจะต้องให้อาหารกระจายให้ลูกปลากินเป็นระยะประมาณ 3-5 ครั้งต่อวัน โดยปกติแล้วลูกปลาอายุ 3 วัน ถุงอาหารจะยุบ ดังนั้นการอนุบาลลูกปลา 3-5 วันแรกควรเริ่มด้วยโรติเฟอร์ขนาดเล็กก่อน หลังจาก 5 วันผ่านไปแล้วลูกปลาสามารถกินโรติเฟอร์ได้ทุกขนาด เลี้ยงด้วยโรติเฟอร์ประมาณ 30 วัน แต่การเลี้ยงจะคาบเกี่ยวกับอาร์ทีเมียด้วย เนื่องจากปลาโตได้ขนาดไม่เท่ากันทุกตัว ดังนั้นเมื่อลูกปลาอายุประมาณ 15 วันก็เริ่มให้อาร์ทีเมียด้วยโดยสังเกตุว่าลูกปลากินได้หรือไม่ ถ้ากินได้ก็เพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆเมื่ออายุได้ 30-35 วันจึงเริ่มให้ไรน้ำขนาดใหญ่ (คืออาร์ทีเมียขนาดใหญ่ที่เลี้ยงในนาเกลือ)** ข้อควรระวัง ในช่วงอายุ 35-40 วัน ลูกปลาจะกินกันเองมาก เพราะเป็นสัตว์กินเนื้อ ควรให้อาร์ทีเมียอย่างไม่ขาดระยะเพิ่มลดอัตราการกินกันเองของลูกปลา- เมื่อลูกปลามีอายุย่างเข้าปลารุ่น เราจึงเปลี่ยนอาหารอีกครั้งโดยฝึกให้กินเนื้อปลาหรืออาหารผสมอย่างไรก็ตามจากผลการวิจัยต่างๆ ในขณะนี้ทำให้ทราบสาเหตุการตายของลูกปลา และสามารถแก้ไขเพื่อเพิ่มอัตรารอดของลูกปลาได้ในระดับหนึ่ง ทั้งในด้านการเพาะพันธุ์และอนุบาล ซึ่งความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยในปัจจุบันพอที่จะเผยแพร่ให้ผู้สนใจนำไปใช้ประโยชน์ในการอนุบาลลูกปลาได้ตามความเหมาะสม

การเลี้ยงปลาไหลนา

ปลาไหลนา เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูล Flutidae ชอบอาศัยอยู่ในคู คลอง หนอง บึงต่างๆในธรรมชาติชอบอาศัยตามพื้นดินโคลนที่มีซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อยสะสมอยู่ หรือบริเวณที่ปกคลุมด้วยวัชพืช เช่นพวกหญ้าน้ำหรือบัวชนิดต่างๆซึ่งเราสามารถพบปลาไหลนาได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย และปลาไหลนาที่พบในประเทศไทยมี 2 ชนิดด้วยกันคือ สีดำกับสีเหลือง ทั้งสองชนิดมีรูปร่างลักษณะลำตัวกลมยาวคล้ายงู สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งไม่มีน้ำได้นาน ในฤดูร้อนปลาไหลจะขุดรูอาศัยลึกประมาณ 1.0-1.5 เมตรและออกหาอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ในช่วงต้นฤดูฝนถัดไป การที่ปลาไหลนามีลักษณะลำตัวกลมยาวและลื่นมากทำให้มีการอพยพย้ายถิ่นอยู่เสมอในช่วงเวลากลางคืน โดยจะเคลื่อนตัวไปตามร่องน้ำที่ชื้นแฉะหรือลำน้ำที่ไหลเพื่อไปสู่แหล่งอาหารหรือที่อยู่ใหม่ ปลาไหลนาที่จำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบันเกือบทั้งหมดจับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งปัจจุบันมีปริมาณลดน้อยลงทุกที บางช่วงฤดูขาดแคลนทำให้ปลาไหลนามีราคาค่อนข้างสูง ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดปัตตานีได้เล็งเห็นความสำคัญของปลาตัวนี้จึงได้ทำการทดลองเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลนาจนประสบความสำเร็จชีววิทยาของปลาไหลนา รูปร่างลักษณะทั่วไปของปลาไหลนามีลำตัวยาวมากเมื่อเปรียบเทียบกับปลาน้ำจืดชนิดอื่นความยาวของส่วนหัวจะเป็นเศษหนึ่งส่วน 13-14 เท่าของความยาวเหยียดลำตัว ความลึกของลำตัวจะเป็นเศษหนึ่งส่วน 17.5-23.5 ของความยาวเหยียดลำตัว สีของลำตัวจะเข้มกว่าสีของด้านท้อง มีสีดำประปรายอยู่ตลอดลำตัวบนช่องเปิดของร่างกาย รูก้นจะอยู่ห่างจากส่วนหัวมากคือ ระยะจากหัวถึงรูก้นเป็นเศษหนึ่งส่วน 1.4-1.45 ของความยาวลำตัว ที่รูก้นมีช่องสืบพันธุ์เปิดออกร่วมด้วย ไม่มีอวัยวะเพศภายนอกที่บริเวณรูก้น ปลาไหลนาจะเป็นพวกที่มีครีบเสื่อม ถึงแม้ว่าปลาไหลนาจะไม่มีครีบช่วยในการว่ายน้ำ แต่ก็สามารถเคลื่อนไหวได้รวดเร็วเมื่อตกใจ ส่วนอวัยวะสืบพันธุ์ของปลาไหลนาประกอบด้วยอวัยวะเพศภายในซึ่งมีเพียงหนึ่งอันแนบติดกับด้านบนของลำไส้โดยเริ่มต้นจากส่วนปลายของตับแนบไปข้างถึงถุงน้ำดีผ่านด้านข้างของม้ามไปเปิดออกที่ช่องเปิดรูก้น จึงเห็นว่าอวัยวะเพศภายในของปลาไหลนามีความยาวมากและปรากฎเพียงด้านขวาของลำตัวอันเดียวเท่านั้น ส่วนบริเวณใกล้อวัยวะเพศภายในมีอวัยวะอีกส่วนหนึ่งอยู่ทางซ้ายลำตัว และทอดขนานมากับส่วนอวัยวะเพศภายใน แต่อยู่ชิดกับผนังด้านบนช่องท้องมากกว่าคืออวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์ ( Sexual accessory orgen ) มีลักษณะเป็นถุงผนังบางมีความยาวพอกับอวัยวะเพศภายในมีน้ำใส บรรจุอยู่ส่วนปลายของถุงนี้จะไปเปิดออกร่วมกับช่องเปิดของอวัยวะเพศภายใน ซึ่งเปิดออกสู่ Ganital pore แล้วจึงเปิดออกภายนอกร่างกายร่วมกับรูก้น ลูกปลาไหลนาจะเจริญเติบโตมีความสมบูรณ์เพศเมื่ออายุครบ 1 ปีและมีขนาดความยาวประมาณ 17 เซนติเมตรซึ่งเมื่อนำปลาขนาดนี้มาตรวจอวัยวะภายในพบว่าปลาขนาดนี้จะเป็นปลาเพศเมียส่วนอวัยวะภายในเหมือนกันทุกตัวและลักษณะของผนังช่วงลำตัวด้านบนซึ่งอยู่ใกล้กับกระดูกสันหลังจะก่อตัวเป็น Genital Crest ซึ่งภายในจะมี genital epithelium มาหุ้มและยึดติดผนังลำตัวด้วยเยื่อ mesenchyme ต่อมาgenital crest จะให้เซลล์ซึ่งเรียกว่า archeogonocyst จะแบ่งตัวให้ deutogonia หรือ bipotential gonocy และพร้อมๆกันนี้ขนาดของอวัยวะเพศภายในก็จะเจริญเพิ่มขึ้นด้วยปลาขนาดความยาวตัว 3-5 ซม. Gonocyst จะมีขนาดถึง 75-95 ไมครอน แสดงว่าปลาไหลนาจะไม่แสดงความแตกต่างของอวัยวะเพศภายในจนกว่าจะมีขนาด 3-5 ซม.การผสมพันธุ์และการเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ในการผสมพันธุ์ปลาไหลนาจะใช้วิธีการเลียนแบบธรรมชาติเพราะการใช้วิธีฉีดฮอร์โมนผสมเทียมไม่สามารถทำให้ปลาวางไข่ได้ และในการเพาะพันธุ์เลียนแบบธรรมชาติ ก่อนที่จะนำพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลนามาปล่อยเพื่อผสมพันธุ์จะต้องมีการเตรียมบ่อเพาะพันธุ์โดยใช้เทคนิดเตรียม บ่อเพาะให้คล้ายคลึงกับธรรมชาติมากที่สุดซึ่งสามารถเพาะได้ทั้งในถังไฟเบอร์ บ่อดิน บ่อซีเมนต์และท่อซีเมนต์กลม และต้องเตรียมความพร้อมดังนี้ ถังไฟเบอร์ โดยใส่ดินเหนียวลงในถังไฟเบอร์ขนาด 2 ตันบ่อสูง 1 เมตรโดยให้ดินอยู่ในลักษณะแนวลาดเอียงสูง 40 ซม.หลังจากนั้นเติมน้ำลงไปประมาณ 30 ซม. ให้ดินเหนียวโผล่ออกมาเหนือน้ำเป็นแนวลาดเอียงประมาณ 10 ซม. แล้วทำการปลูกพันธุ์ไม้น้ำให้เหมือนกันธรรมชาติ เช่น กอบัว จอกแหน และผักตบชวาบ่อดิน ต้องอัดพื้นแน่น ขนาด 200-400 ตารางเมตร ด้านบนปลูกพืชน้ำสำหรับเป็นที่วางไข่ของแม่ปลาไหลนาปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในสัดส่วนเพศผู้:เมียเท่ากับ1:3ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตรปลาไหลนาจะวางไข่ได้ภายใน 2-4 เดือนโดยจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนเมื่อปลาไหลฟักออกมาเป็นตัวจะมีความยาวประมาณ 2-3 ซม.โดยจะหลบซ่อนอยู่ตามรากหญ้าแล้วจึงรวบรวมนำไปเลี้ยงต่อไป บ่อซีเมนต์ ขนาด 5.0ด10.0ด1.0 เมตรใส่ดินในบ่อสูง 30 ซม.ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในสัดส่วน เพศผู้:เพศเมีย เท่ากับ 1:3 ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เติมน้ำให้มีระดับสูงกว่าผิวดินประมาณ 10 ซม.ใส่พืชน้ำต่างๆเพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนและวางไข่ โดยปลาไหลนาจะก่อหวอดคล้ายปลากัด สามารถรวบรวมปลาไหลนาได้หลังจากปลาไหลก่อหวอดประมาณ 5 วันแล้วจึงนำลูกปลาไหลไปอนุบาลต่อในตู้กระจกหรือในท่อซีเมนต์กลม ท่อซีเมนต์กลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0 เมตร ปล่อยพ่อพันธุ์ 1 ตัวและแม่พันธุ์ 3ตัวต่อ 1 ท่อใส่ดินสูงประมาณ 30 ซม.โดยแม่พันธุ์ 1 ตัวจะสามารถวางไข่ตั้งแต่ 300-910 ฟองขึ้นอยู่กับขนาดของแม่พันธุ์การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลในช่วงแรกจะแยกเพศได้ยากมากเพราะเป็นปลาที่มีสองเพศในตัวเดียวกัน การแยกเพศของปลาไหลนาถ้าดูจากลักษณะภายนอกจะไม่สามารถแยกเพศได้เด่นชัด โดยเฉพาะในช่วงฤดูที่ปลาไม่มีการวางไข่ แต่ถ้าในช่วงฤดูวางไข่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนกรกฎาคม จะสังเกตเพศปลาไหลได้เด่นชัดขึ้นกล่าวคือ เพศเมียช่องเพศจะมีสีแดงเรื่อๆบวม ลำตัวมีสีเหลืองเปล่งปลั่งส่วนตัวผู้จะมีสีขาวซีดไม่บวม ลำตัวสีเหลืองคล้ำ ถ้าผ่าท้องปลาไหลในช่วงผสมพันธุ์วางไข่จะพบว่าถ้าปลาไหลมีความยาว 29-50 ซม.และมีน้ำหนัก 70-200 กรัมจะเป็นปลาเพศเมีย ส่วนปลาไหลเพศผู้จะมีความยาวตั้งแต่ 60 ซม.ขึ้นไป และถ้าหากน้ำหนักมากกว่า 300 กรัมขึ้นไปปลาไหลจะยิ่งมีน้ำเชื้อดี เมื่อคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลได้แล้วก็นำมาปล่อยในบ่อเพาะพันธุ์ที่เตรียมไว้โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์บ่อละ 10 คู่การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ เมื่อปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลลงบ่อเพาะแล้วก็ทำการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลโดยให้อาหารและดูแลทำความสะอาดเปลี่ยนถ่ายน้ำ อาหารที่นำมาให้พ่อแม่พันธุ์ปลาไหลจะให้อาหารพวกปลาเป็ดสับเป็นชิ้นพอเหมาะกับปากของปลาโยนให้พ่อแม่พันธุ์ปลาวันละ 1 ครั้งในปริมาณร้อยละ2 ต่อน้ำหนักตัวโดยให้ในช่วงเย็นเเนื่องจากปลาไหลนามีอุปนิสัยชอบออกหากินในที่มืดและสภาพแวดล้อมเเงียบสงบ ใน 1 อาทิตย์มีการถ่ายน้ำในบ่อเพาะแม่พันธุ์ 1 ครั้ง จากการสังเกตพบว่าน้ำฝนจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้แม่พันธุ์ปลาไหลวางไข่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งปลาไหลนามักจะวางไข่ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ใกล้จะเข้าหน้าฝน แต่ช่วงที่ปลาไหลไข่ชุกที่สุดคือเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนและจะพบไข่ปลาไหลทุกครั้งหลังจากฝนตกและเมื่อแม่ปลาไหลมีไข่แก่พร้อมที่จะวางไข่แล้วแม่ปลาไหลจะก่อหวอดและะวางไข่โดยไข่ปลาจะติดใต้หวอดและกองอยู่ตามพื้น ไข่ปลาไหลที่ออกใหม่ๆจะมีขนาดใหญ่ประมาณ 3 มิลลิเมตร ไข่มีสีเหลืองทอง เปลือกไข่จะมีลักษณะแข็งและกลม แม่พันธุ์ปลาไหล 1 ตัวสามารถให้ไข่ได้ไม่เกิน 2,000 ฟอง ไข่ปลาไหลจะใช้ระยะเวลาในการฟักประมาณ 70-78 ชม.ลูกปลาที่ฟักออกมาใหม่ๆมีความยาวประมาณ 2 ซม.ไข่ปลาไหลบางฟองอาจจะฟักออกเป็นตัวห่างกันนานถึง 6 ชม.เนื่องจากแม่ปลาไหลอาจจะวางไข่ไม่พร้อมกัน ในช่วงที่แม่ปลาไหลวางไข่จะมีนิสัยดุร้ายมากการอนุบาลลูกปลาไหลนา ใช้วิธีอนุบาลในท่อซีเมนต์กลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.0 เมตรหรือในถังพลาสติกหรือในตู้กระจกก็ได้ แต่ต้องให้มีน้ำหมุนเวียนและถ่ายเทได้ตลอดเวลา และมีพืชน้ำมัดให้ลอยเป็นกำพร้อมทั้งใส่ดินในบ่อนุบาลด้วยโดยปล่อยลูกปลาไหลนาในอัตรา 150-200 ตัวต่อตารางเมตร สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงอนุบาลลูกปลาไหลนาในช่วงแรกใช้ไรแดงหรือปลาสดบดละเอียด หรือฝึกให้กินอาหารเม็ดปลาดุกเล็กพิเศษก็ได้ โดยให้อาหารวันละ 2 มื้อเช้าและเย็นในอัตรา ร้อยละ10 ต่อน้ำหนักตัวต่อวัน และเมื่ออายุครบ 1 เดือนก็จะได้ความยาวของลูกปลาไหลประมาณ 1.0-2.0 นิ้ว ช่วงนี้ลูกปลาไหลจะเริ่มลงสู่พื้นดิน การเลี้ยงปลาไหลนาสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อซีเมนต์ขนาด 2.0ด3.0 เมตร และขนาด 5.0 ด10.0 เมตรหรือในท่อซีเมนต์กลมเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป โดยวางซ้อนกัน 2 ท่อพื้นบ่อเทคอนกรีตหนาประมาณ 1 นิ้วพร้อมติดตั้งท่อระบายน้ำออก ผนังบ่อด้านในควรฉาบให้ลื่น รองพื้นด้วยซังข้าวสลับกับโคลนและหยวกกล้วยสับละเอียดหนาชั้นละ 10 ซม.ทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์จึงนำลูกปลาไหลนาไปปล่อยลงเลี้ยง โดยปล่อยลูกปลาไหลนาที่มีขนาด 5 นิ้วในอัตรา 100 ตัว/บ่อหรือปล่อยลูกปลาจำนวน 3 กิโลกรัมต่อบ่อ เสริมด้วยการให้อาหารเม็ด ปลาสดสับละเอียดหรือตัวอ่อนแมลงน้ำ และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ 2 สัปดาห์ ระยะเวลาที่ใช้ในการเลี้ยงประมาณ6-8 เดือนจะได้ปลาไหลนาที่มีขนาด 3-5 ตัวต่อกิโลกรัม และใน 1 บ่อจะได้ผลผลิตประมาณ 20-30 กิโลกรัม ข้อควรระวังในการเลี้ยงปลาไหลนา- เนื่องจากปลาไหลนาเป็นปลาที่ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่ที่เงียบสงบ การมีสิ่งเร้าจะทำให้ปลาตกใจและหยุดกินอาหารได้- ในการปล่อยลูกปลาไหลนาลงเลี้ยง ถ้าเป็นลูกพันธุ์ปลาที่ได้จากการรวบรวมจากธรรมชาติ ก่อนนำมาเลี้ยงควรแช่ยาฆ่าเชื้อหรือกำจัดพยาธิเสียก่อน รวมทั้งต้องคัดขนาดปลาที่ปล่อยเลี้ยงให้มีขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุดในแต่ละบ่อ- ลูกปลาไหลนาที่มีขนาดความยาวประมาณ 10 ซม.จะเริ่มตายดังนั้นในระหว่างการเลี้ยงควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ- ปลาไหลนาที่มีขนาดความยาวประมาณ 10 ซม.จะพบว่ากล้ามเนื้อบริเวณโคนหางตาย ควรจับออกและมีการใส่ยากันเชื้อราบ้าง- อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาไหลควรผสมวิตามินรวม และนอกจากการผสมวิตามินในอาหารแล้วอย่างน้อยเดือนละครั้งควรมีการผสมยาถ่ายพยาธิด้วย- ทุกๆ 2 สัปดาห์ควรมีการคัดขนาดลูกปลาไหลนา โดยในบ่อเลี้ยงแต่ละบ่อควรมีขนาดของปลาไหลนาที่ใกล้เคียงกันเพื่อลดปัญหาการกินกันเองและบ่อเลี้ยงไม่ควรอยู่กลางแจ้ง

การเลี้ยงปลาหมอไทย

ปลาหมอไทย (Climbing perch) ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus (Bloch) เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือเรียกว่า ปลาแข็ง ภาคใต้ตอนล่างเรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกบูยู ชาวบ้านทั่วๆไปเรียกว่า รูปร่างลักษณะภายนอกปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำหรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน ลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยักแหลมคมใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ การเตรียมบ่อ1. สูบน้ำออกจากบ่อให้แห้งการสูบบ่อให้แห้งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อ หลังจากสูบบ่อแห้งแล้วหว่านปูนขาวในขณะที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน2. กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อจะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทย เช่น ปลาช่อน กบ งู ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา การที่มีพืชน้ำอยู่ในบ่อมากจะเป็นอุปสรรคต่อการให้อาหารและการวิดบ่อจับปลา3. การตากบ่อทำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความร้อนและแสงแดดเป็นการฆ่าเชื้อโรคและศัตรูปลาที่ฝังตัวอยู่ในดินใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์4. สูบน้ำเข้าบ่อสูบน้ำใส่บ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วันก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องใช้อวนไนล่อนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อเนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่ายโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตก5. การปล่อยปลาลงเลี้ยงและอัตราปล่อย5.1 การปล่อยปลานิ้วปล่อยปลาขนาด 2-3 เซนติเมตรในอัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร ควรปล่อยลูกปลาลงบ่อในช่วงเช้าหรือเย็น ระดับน้ำในบ่อไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตร ควรปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อ เพื่อป้องกันปลาตายปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงประมาณ 1 เดือน จึงเพิ่มน้ำในบ่อให้ได้ระดับ 1-1.5 เมตร5.2 การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อโดยการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้วจะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราความเข้มข้น ฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อปลา 1 กิโลกรัม จำนวน 1 ครั้ง แล้วจึงปล่อยให้ผสมพันธุ์วางไข่ในกระชังตาห่าง ซึ่งแขวนอยู่ในบ่อที่มีระดับน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร อัตราปลาเพศเมียต่อปลาเพศผู้เท่ากับ 1 ต่อ 1 ปริมาณน้ำหนักพ่อแม่ปลา 8-10 กิโลกรัม/ไร่ หรือประมาณ 40-75 คู่/ไร่ วันรุ่งขึ้นเมื่อปลาวางไข่หมดแล้ว จึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้นปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัวหลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง หรือให้อาหารพวกรำละเอียดผสมปลาบ่ออัตรา 1 ต่อ 1 เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกเล็กพิเศษหรือปลาสดจับละเอียดและเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น จนได้ขนาดตลาด อาหารและการให้อาหารปลาหมอไทยกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ การเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกในอัตรา 3-5% ของน้ำหนักตัววันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยช่วงแรกให้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปลาสดสับละเอียดเป็นเวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ การเปลี่ยนถ่ายน้ำจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพราะการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ทำให้ปลามีการกินอาหารดีขึ้นส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตดี ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน การจับปลาหมอไทยใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยจากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้นใช้สวิงจับปลาใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาดจนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด และจับปลาที่เหลืออยู่ตามพื้นบ่อขึ้นมาคัดขนาดหลังจากนั้นจึงตากบ่อให้แห้งและเตรียมบ่อเพื่อเริ่มต้นเลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป การจำหน่ายปลาหมอไทย1. ปลาขนาดใหญ่ ขนาด 6-10 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 55-60 บาท2. ปลาขนาดกลาง ขนาด 7-20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท3. ปลาขนาดเล็ก ขนาดมากกว่า 20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท การป้องกันและกำจัดโรค โรคจุดขาวอาการ ปลาจะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ตามลำตัวและครีบสาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดที่กินเซลผิวหนังเป็นอาหารการป้องกันและรักษา เนื่องจากปรสิตชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง การกำจัดได้ผลไม่เต็มที่วิธีที่ดีที่สุดคือ การทำลายตัวอ่อนในน้ำหรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ ใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง ปลาขนาดใหญ่หรือ 25-50 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมงและแยกปลาที่เป็นโรคออกจากบ่อ โรคจากเห็บระฆังอาการ ปลาจะเป็นแผลตามผิวหนังและเหงือกสาเหตุ เกิดจากเห็บระฆังเข้าไปเกาะตามลำตัวและเหงือกการป้องกันและรักษา ปลาตายในระยะเวลาอันสั้นและมีการติดต่อระหว่างบ่อที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน การกำจัดใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง โรคตกเลือดตามซอกเกล็ดอาการ ปลามีแผลสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัว โดยเฉพาะที่ครีบและซอกเกล็ดถ้าเป็นแผลเรื้อรังอาจมีอาการเกล็ดหลุดบริเวณรอบๆและด้านบนของแผลจะมีส่วนคล้ายสำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่สาเหตุ เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุกการป้องกันและรักษา1. ใช้เกลือเม็ด 5-10 กิโลกรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตรแช่ 48 ชั่วโมง2. ใช้ฟอร์มาลีน 25-40 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร หลังจากแช่ยาแล้วถ้าปลามีอาการไม่ดีขึ้นควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วัน จากนั้นใส่ยาซ้ำอีก 1-2 ครั้ง

การเลี้ยงปลากะโห้

การเลี้ยงปลากะโห้
ปลากะโห้ ( Catlocarpio siamensis ) มีชื่อสามัญว่า Giant carp เป็นปลาน้ำจืดตระกูลคาร์พที่ใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง มีเกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีเทาปนดำ หรือชมพูปนขาว ครีบมีสีแดง เป็นปลาที่อาศัยในแม่น้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ำในภาคกลางของประเทศไทย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำก่ำ แม่น้ำน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าหลวง แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง แต่แหล่งน้ำที่สามารถรวบรวมปลาชนิดนี้ได้มากนั้นได้แก่ ในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ขึ้นไป จนถึงเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท โดยเฉพาะในแหล่งน้ำลึกที่เรียกว่า" วัง " ได้แก่บริเวณตำบลบ้านแป้ง อ.พรหมบุรี ,ต.บ้านไร่ อ.เมือง, ต.วัดเสือข้าม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี, อ.สรรพยา จ.ชัยนาท นอกจากนี้ยังพบปลากะโห้ อาศัยอยู่ในหนอง บึงต่างๆที่มีน้ำท่วมถึง เช่น บึงบอระเพ็ด เป็นต้น การรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ พ่อแม่พันธุ์ปลากะโห้ สามารถรวบรวมได้จากธรรมชาติ ด้วยเครื่องมือข่ายปลากะโห้ เป็นข่ายที่มีช่องข่ายใหญ่มาก มีขนาดตา 35-45 ซม. ลึก 4-6 ม. ยาว 100-200 ม. โดยจะทำการรวบรวมในช่วงฤดูที่ปลากะโห้ผสมพันธุ์วางไข่ โดยวางขวางกับแม่น้ำ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม บริเวณที่จับพ่อแม่พันธุ์ได้มาก ได้แก่ บริเวณตั้งแต่ใต้เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ลงไปประมาณ 3-5 กม. ซึ่งเป็นแหล่งที่ปลากะโห้ว่ายน้ำขึ้นมาเพื่อผสมพันธุ์วางไข่การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ลักษณะเพศและลักษณะอื่นๆ ที่เด่นชัดในฤดูวางไข่ของพ่อแม่พันธุ์ปลากะโห้ คือ ปลาเพศผู้มีลำตัวขนาดเล็กและเรียวกว่าปลาเพศเมีย ส่วนท้องแบนเรียบ สีดำคล้ำกว่าตัวเมียและบริเวณรอบๆช่องเพศมีตุ่มขรุขระยื่นออกมา เมื่อบีบท้องเบาๆจะมีน้ำเชื้อไหลออกมาทางช่องเปิด ซึ่งมีรูปร่างกลมและเล็ก ส่วนปลาเพศเมียนั้น ขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ ลำตัวสั้น ป้อม ปลาเพศเมียที่ไข่แก่ ส่วนท้องจะเป่งและนิ่ม ช่องเปิดมีลักษณะเป็นรูปไข่ บวมนูน เปิดกว้าง และมีสีชมพูหรือแดงการเพาะพันธุ์ปลากะโห้โดยการผสมเทียมอุปกรณ์1. บ่อซีเมนต์ขนาด 50 ต.ร.ม. เพื่อพักพ่อแม่ปลาหลังจากฉีดฮอร์โมนครั้งที่ 1 และ 22. อุปกรณ์ในการผสมเทียม3. ถุงฟักไข่ เป็นรูปทรงกรวย ทำด้วยผ้ามุ้งไนลอนชนิดตาถี่ ปากถุงมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ซม. ลึกประมาณ 50 ซม.ที่ก้นถุงมีกรวยติดอยู่ เพื่อใช้สายยางต่อน้ำเข้าถุงฟักไข่ซึ่งแขวนเรียงในบ่อซีเมนต์4. กระชังมุ้งในล่อน ใช้ผ้าไนลอนตาถี่เย็บเป็นกระชังสี่เหลี่ยมขนาด 1.5-2.0 ม. ลึก 90 ซม. วางในบ่อซีเมนต์ เพื่อเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อน หลังจากที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆซึ่งย้ายมาจากถุงฟักไข่ฮอร์โมนและปริมาณฮอร์โมนที่ใช้ ในการเพาะปลากะโห้ด้วยวิธีฉีดฮอร์โมน ใช้ฮอร์โมน 2 ประเภทคือ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองปลากะโห้ และฮอร์โมนสังเคราะห์คอริโอนิค ( Chorionic Gonadotropin ) หรือเรียกสั้นๆว่า ซี.จี. สำหรับต่อมใต้สมองปลากะโห้จะเล็กมากปลาที่มีไข่และน้ำเชื้อที่สมบูรณ์ โดยทั่วไปต่อมมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. ซึ่งโตกว่าปลาชนิดอื่น ส่วน ซี.จี. เป็นส่วนผสมที่สกัดจากปัสสาวะหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ และต่อมใต้สมองส่วนหน้าของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีจำหน่ายในท้องตลาดสำหรับปริมาณฮอร์โมนที่ใช้ในการฉีด 2 ครั้ง อยู่ในระดับดังนี้ครั้งที่ 1 0.5-0.75 โดส ผสม ซี.จี. 50-100 หน่วยสากลครั้งที่ 2 1.5-2.0 โดส ผสมซี.จี. 150-250 หน่วยสากลการฉีดฮอร์โมน การเตรียมต่อมใต้สมองก่อนทำการฉีด นำต่อมใต้สมองมาบดในโกร่งบดต่อมผสมน้ำ กลั่นบริสุทธ์ 1 ซีซี. และผสมด้วยซี.จี. ใช้เข็มฉีดยาดูดสารละลายเข้าสู่หลอดตามปริมาณที่ต้องการเพื่อนำไปฉีดให้แม่ปลา สำหรับปลาเพศผู้ส่วนมากมีน้ำเชื้อดีแล้วก็ไม่ต้องฉีด ตำแหน่งที่ฉีด คือ บริเวณกล้ามเนื้อโคนครีบหู ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่มีเกล็ด เนื่องจากปลากะโห้มีเกล็ดขนาดใหญ่และหนายากต่อการที่จะฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อเหนือเส้นข้างตัวใต้ฐานครีบหลังเหมือนกับปลาทั่วไป ดังนั้นบริเวณโคนครีบหูจึงเหมาะที่สุดสำหรับการฉีด โดยการปักเข็มลงไปให้เกือบสุดเข็ม แล้วจึงปล่อยน้ำยา แล้วนำปลาไปพักไว้ในบ่อซีเมนต์ ซึ่งมีน้ำฉีดพ่นหรือให้อากาศอยู่ตลอดเวลา และช่วงเวลาในการฉีด ควรจะทำการฉีดในตอนเย็น เพื่อให้ปลาวางไข่ในตอนเช้าตรู่ โดยฉีด 2 ครั้ง ระยะห่างของครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ประมาณ 6-8 ชม. หลังจากฉีดครั้งที่ 2 แล้วประมาณ 6 ชม. จึงทำการตรวจสอบเพื่อทำการรีดไข่การรีดไข่ผสมน้ำเชื้อ หลังจากฉีดฮอร์โมนให้ปลาเพศเมียครั้งที่ 2 แล้วประมาณ 6 ชม. ทำการตรวจสอบแม่ปลา โดยจับบีบที่ท้องเบาๆตรงบริเวณส่วนต้นๆ ถ้าไข่สุกเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้แล้ว ไข่จะไหลพุ่งออกมาทางช่องเปิดอวัยวะเพศ นำแม่ปลามาเช็ดลำตัวให้แห้ง แล้วรีดไข่ลงในกะละมังที่เช็ดแห้งและสะอาด แล้วรีดน้ำเชื้อจากตัวผู้ผสมลงไป การผสมไข่กับน้ำเชื้อใช้วิธีแบบแห้ง แล้วเติมน้ำ โดยใช้ขนไก่คนไปมาเบาๆ ให้ไข่และน้ำเชื้อคลุกเคล้าผสมกันดี แล้วจึงเติมน้ำสะอาดพอท่วมไข่ ใช้ขนไก่คนอีกครู่แล้วเทน้ำทิ้ง ทำแบบนี้อีก 2-3 ครั้ง จนไข่สะอาด จึงนำไปฟักในถุงฟักไข่ที่เตรียมไว้ประมาณ 10,000-15,000 ฟองต่อถุงฟักไข่ 1 ถุง ไข่ปลากะโห้ จะมีลักษณะสีน้ำตาลเข้ม ขนาดของไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 มม.การฟักไข่ ไข่ปลากะโห้เป็นไข่ครึ่งจมครึ่งลอย เช่นเดียวกับไข่ปลาตะเพียน และไข่ปลาจีน ขณะยังไม่ถูกน้ำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 มม. หลังจากถูกน้ำแล้วไข่จะดูดน้ำเปลือกไข่จะขยายพองโต ภายในมีลักษณะคล้ายวุ้นอยู่โดยรอบไข่แดง ไข่จะโตขึ้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็น 3-4 เท่า ดังนั้นในการฟักไข่เพื่อให้ไข่ได้มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา จึงต้องใช้กรวยฟักไข่ที่มีน้ำผ่านเข้าในถุงฟักไข่ทางกรวยใต้ถุงโดยใช้สายยางต่อเข้าไป ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 11-13 ซม. ที่อุณหภูมิ 29-35 องศาเซลเซียส หลังจากที่ไข่ฟักตัวในถุงฟักไข่หมดแล้ว ต้องรีบย้ายลูกปลาไปอนุบาลในกระชังผ้ามุ้งไนล่อนหรือในตู้กระจกต่อไปการอนุบาลลูกปลากะโห้ ลูกปลากะโห้ที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆมีความยาวประมาณ 5-6 มม. มีถุงไข่แดงติดอยู่ ซึ่งจะยุบหมดภายใน 3 วัน หลังจากไข่แดงยุบแล้ว ลำตัวใส ยาว อวัยวะเพศยังไม่ครบทุกส่วน จนกว่า 13-15 วัน จึงจะมีอวัยวะครบทุกส่วน หลังจากนั้น 1 เดือน สีแดงตามครีบจะเห็นได้ชัด สำหรับอาหารลูกปลากะโห้ ในระยะที่ลูกปลาอายุได้ 3 วัน คือ หลังจากที่ถุงไข่แดงยุบควรให้อาหาร ไข่แดงต้มบดละเอียด ระยะนี้ลูกปลายังไม่กินไรน้ำ จนลูกปลาอายุได้ 7 วัน จึงเริ่มให้ไรน้ำ ซึ่งลูกปลาสามารถกินไรน้ำได้แล้ว และหลังจากลูกปลาอายุได้ 20 วัน จึงให้ตะไคร่น้ำด้วยในบางมื้อ เมื่อลูกปลาอายุได้ 1 เดือน ก็ย้ายลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้ สำหรับอาหารนั้นนิยมปรับปริมาณตามน้ำหนักปลา เช่น 5 วันแรก ให้อาหารน้ำหนักเท่ากับน้ำหนักปลา เมื่อปล่อย 5 วันที่ 2 และ 5 วันที่ 3 ให้อาหาร 2 เท่าและ 3 เท่าของน้ำหนักปลาที่ปล่อยตามลำดับ เป็นต้นประโยชน์ เป็นปลาที่เนื้อมีรสดี กล่าวกันว่าก้อนเนื้อที่เพดานปากเป็นส่วนที่มีรสดีที่สุด จนเป็นที่เลื่องลือกันว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาทรางโปรดเสวยเป็นที่สุด