วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลาดุก

ปลาดุกอุย ( Clarias macrocephalus ) เป็นปลาพื้นบ้านของไทยชนิดไม่มี เกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด 4 เส้น ที่ริมฝีปาก ผิวหนังมีสีน้ำตาล เนื้อมีสีเหลือง รสชาติอร่อยนุ่มนวลสามารถนำมาปรุงแต่งเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ ได้มากมาย ในประเทศ ไทยมีพันธุ์ปลาดุกอยู่จำนวน 5 ชนิด แต่ที่เป็นที่รู้จักทั่ว ๆไปคือ ปลาดุกอุยและปลาดุกด้าน ( Clarias batrachus ) ซึ่งในอดีตทั้งปลาดุกอุยและปลาดุกด้านได้มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
เมื่อไม่นานมานี้เองเกษตรกรได้นำพันธุ์ปลาดุกชนิดหนึ่งเข้ามาเลี้ยงใน ประเทศไทย ซึ่งอธิบดีกรมประมงได้มีคำสั่งให้กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ดำเนินการศึกษาพบว่าเป็นปลาในตระกูล แคทฟิช เช่นเดียวกับปลาดุกอุย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มีชื่อว่า ( Clarias gariepinus African sharptooth catfish ) เป็นปลาที่มีการเจริญเติบใจรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรคและสภาพแวดล้อมสูงเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ แต่ปลาดุกชนิดนี้มีเนื้อเหลว และมีสีซีดขาว ไม่น่ารับประทาน ซึ่งกรมประมงได้ให้ชื่อว่าปลาดุกเทศ
จากการศึกษาทางลักษณะรูปร่างและชีววิทยาของปลาดุกเทศทางกลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้ทำการเพาะขยายพันธุ์ปลาโดยนำมาผสมพันธุ์กับปลาดุกอุยและปลาดุกเทศ ผลปรากฏว่าการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมียผสมกับปลาดุกเทศเพศผู้สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ดี ลูกที่ได้มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคสูง มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุย จึงทำให้เกษตรกรนำวิธีการผสมข้ามพันธุ์ไปปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งลูกหลานที่เกิดจากคู่ผสมนี้ทางกรมประมงให้ชื่อว่า ปลาดุกอุย-เทศ แต่โดยทั่ว ๆไปชาวบ้านเรียกกันว่า บิ๊กอุย หรือ อุยบ่อ ส่วนการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศผู้กับปลาดุกเทศเพศเมีย ลูกที่ได้ไม่แข็งแรงและเหลือรอดน้อย เมื่อเทียบกับการเพาะพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาบิ๊กอุย ส่วน การผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกด้านกับปลาดุกเทศ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
ในปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่าปลาดุกลูกผสมอุย-เทศหรือบิ๊กอุยนั้นเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร เนื่องจากเลี้ยงง่าย มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว อีกทั้งทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเป็นที่นิคมบริโภคของประชาชน เนื่องจากมีรสชาติดีและราคาถูก

ขั้นตอนการเลี้ยง
1. อัตราปล่อยปลาดุกลูกผสม (บิ๊กอุย) ลูกปลาขนาด 2-3 ซม. ควรปล่อยในอัตประมาณ 40 - 100 ตัว/ตรม. ซึ่งขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการเลี้ยง คือ ชนิดของอาการขนาดของบ่อและระบบการเปลียนถ่ายน้ำซึ่งปกติทั่วๆไป อัตราปล่อยเลี้ยงประมาณ 50 ตัว/ตรม. และเพื่อป้องกันโรคซื่งอาจจะติดมากับลูกปลา ใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยง อัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน (3 ลิตร/น้ำ 100 ตัน ่ในวันที่ปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหารควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น
2. การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาดุกผสมลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกมีขนาดเล็ก (2-3 ซม.) ควรให้อาหารผสมคลุกน้ำปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลากิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง หว่านให้กินทั่วบ่อโดยเฉพาะในบริเวณขอบบ่อ เมื่อลูกปลามีขนาดโตขึ้นความยาวประมาณ 5-7 ซม. สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้ หลังจากนั้นเมื่อปลาโตขึ้นจนมีความยาว 15 ซม.ขึ้นไป จะให้อาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวหรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น ปลาเป็ดผสมรำละเอียดอัตรา 9 : 1 หรือให้อาหารที่ลดต้นทุน เช่น อาหารผสมบดจากส่วนผสมต่างๆเช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนมปัง เศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือดไก่ เศษเกี้ยว หรือเศษอาหารว่างๆเท่าที่สามารถหาได้นำมาบดรวมกินแล้วผสมให้ปลากินแต่การให้อาหารประเภทนี้จะต้องระวัง เรื่องคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงให้ดี เมื่อเลี้ยงปลาได้ประมาณ 3-4 เดือนปลาจะมีขนาดประมาณ 200-400 กรัม/ตัว ซึ่งผลผลิตที่ได้จะประมาณ 10 - 14 ตัน/ไร่ อัตรารอดตายประมาณ 40- 70 %
3. การถ่ายเท น้ำเมื่อตอนเริ่มเลี้ยงใหม่ๆระดับความลึกของน้ำในบ่อควรมีค่าประมาณ 30 - 40 ซม. เมื่อลูกปลาเจริญเติบโตขึ้นในเดือนแรกจึงเพิ่มระดับน้ำสูงเป็นประมาณ 50 -60 ซม. หลังจากย่างเข้าเดือนที่สองควรเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น 10 ชม./อาทิตย์ จนระดับน้ำในบ่อมีความลึก 1.20 - 1.50 เมตร การถ่ายเทน้ำควรเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงผ่านไปประมาณ 1 เดือน โดยถ่ายน้ำประมาณ 20 % ของน้ำในบ่อ 3 วัน/ครั้ง หรือถ้าน้ำในบ่อเริ่มเสียจะต้องถ่ายน้ำมากกว่าปกติ
4. การป้องกันโรค การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ชึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมือปลาหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมมีนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่ โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีกก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารให้ใหม่อีกซึ่งปริมาณอาหาร ที่ให้ไม่ควรเกิน 4 - 5 % ของน้ำหนักตัวปลา

การอนุบาล
ลูกปลาดุกที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัวเมื่อถุงไข่แดงที่ติดมากับลูกปลายุบ ให้ไข่ไก่ต้มสุกเอาเฉพาะไข่แดงบดผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากิน 1-2 ครั้ง หลังจากนั้นจึงให้ลูกไรแดงเป็นอาหาร
การขนส่งลูกปลา เมื่อลูกปลาอายุครบ 2 วัน สามารถขนย้ายได้ด้วยความระมัดระวังโดยใช้สายยางดูด แล้วบรรจุในถุงพลาสติกขนาด 18 นิ้ว ไม่ควรเกิน 10,000 ตัวต่อถุง หากขนส่งเกิน 8 ชั่วโมง ให้ลดจำนวนลูกปลาลง
การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อซีเมนต์ สามารถดูแลรักษาได้ง่ายขนาดของบ่อซีเมนต์ควรมีขนาดประมาณ 2-5 ตารางเมตร ระดับความลึกของน้ำทีใช้อนุบาลลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตร การอนุบาลลูกปลาดุกที่มีขนาดเล็ก(อายุ 3 วัน) ระยะแรกควรใส่น้ำในบ่ออนุบาลลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร เมื่อลูกปลามีขนาดใหญ่ขึ้นจึงค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น การอนุบาลให้ลูกปลาดุกมีขนาด 2-3 เซนติเมตรจะใช้เวลาประมาณ 10-14 วัน น้ำที่ใช้ใน การอนุบาลจะต้องเปลี่ยนถ่ายทุกวัน เพื่อเร่งให้ลูกปลาดุกกินอาหารและมีการเจริญเติบโตดี อีกทั้งเป็นการป้องกันการเน่าเสียของน้ำด้วย การอนุบาลลูกปลาดุกจะปล่อยในอัตรา 3,000-5,000 ตัว/ตรม. อาหารที่ใช้คือ ไรแดงเป็นหลัก ในบางครั้งอาจให้อาหารเสริมบ้าง เข่น ไข่ตุ๋นบดละเอียด เต้าหู้อ่อนบดละเอียด หรืออาจให้อาหารเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งหากให้อาหารเสริมจะต้องระวังเกี่ยวกับการย่อยของลุกปลาและการเน่าเสียของน้ำในบ่ออนุบาลให้ดีด้วย
การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดิน บ่อดินที่ใช้อนุบาลลุกปลาดุกควรมีขนาด 200-800 ตรม. บ่อดินที่จะใช้อนุบาลจะต้องมีการกำจัดศัตรูของลูกปลาก่อน และพื้นก้นบ่อควรเรียบ สะอาดปราศจากพืชพรรณไม้น้ำต่าง ๆ ควรมีร่องขนาดกว้างประมาณ 0.5 -1 เมตร ยาวจากหัวบ่อจรดท้ายบ่อ และลึกจากระดับ พื้นก้นบ่อประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการรวบรวมลูกปลา และ ตรงปลายร่องควรมีแอ่งลึก มีพื้นที่ประมาณ 2-4 ตรม. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม ลูกปลาการอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อจะต้องเตรียมอาหารสำหรับลูกปลา โดยการเพาะไรแดงไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นอาหารให้แก่ลูกปลาก่อนที่จะปล่อง 1 ลูกปลาดุก ลงอนุบาลในบ่อ การอนุบาลในบ่อดินจะปล่อยในอัตรา 300-500 ตัว/ตรม. การอนุบาลลูกปลาให้เติบโตได้ขนาด 3-4 เซนติเมตร ใช้เวลาประมาณ 14 วัน แต่การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดินนั้น สามารถควบคุมอัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดได้ยากกว่าการอนุบาลในบ่อซีเมนต์
ปัญหาในการอนุบาลลูกปลา น้ำเสียเกิดขึ้นจากการให้อาหารลูกปลามากเกินไป หากลูกปลาป่วยให้ลดปริมาณอาหารลง 30-500 % ดูดตะกอนถ่ายน้ำแล้ว ค่อย ๆ เติมน้ำใหม่หลังจากนั้นใช้ยาปฏิชีวนะออกซีเตตร้าซัยคลิน แช่ลูกปลาในอัตรา 10-20 กรัมต่อนำ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือในไตรฟุราโชน 5-10 กรัม ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร วันต่อ ๆมาใช้ยา 3/4 เท่า ปลาจะลดจำนวนการตายภายใน 2 3 วัน ถ้าปลาตายเพิ่มขึ้น ควรกำจัดลูกปลาทิ้งไป เพื่อป้องกินการติดเชื้อไปยังบ่ออื่น ๆ

โรค
ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดยแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือด มีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิก กกหูบวม ท้องบวมมีน้ำในช่องท้องกินอาหารน้อยลงหรือไม่กินอาหาร ลอยตัว
2. อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลา จะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติเหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง
3. อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินบีกระโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกรงและชักกระตุก
4. อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็กกว่าปกติลอยหัวครีบกร่อนเปื่อย หนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัว

วิธ๊รักษา
1. ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา
2. ชื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4. หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงแล้ว 3-4 วันควรสาดน้ำยาฟอร์มาลิน 2-3 ลิตร/ปริมาตร น้ำ 100 ตัน และหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 - 5 ลิตร/ปริมาตรน้ำ 100 ตัน
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ
6. อย่าให้อาหารจนเหลือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น